วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2562

ประวัติความเป็นมาของออแพร์ในอเมริกา

          สำหรับโครงการออแพร์ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น เป็นหนึ่งในโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม (T้he Exchange Visitor Program) ที่มีมานาน 33 ปีแล้ว โดยออแพร์จะถือวีซ่าประเภท J-1 ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกับ Work&Travel ออแพร์จะอาศัยอยู่กับครอบครัวอุปถัมภ์ (Host family) ทำงานเป็นพี่เลี้ยงเด็ก ดูแลกิจกรรมต่างๆ และช่วยเหลืองานบ้านเล็กน้อยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเด็ก เรียนรู้ภาษา และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม เป็นเวลา 1 ปี สูงสุด 2 ปี
👉 ออแพร์คืออะไร
👉 ขั้นตอนการเป็นออแพร์ 
ประวัติความเป็นมาของโครงการออแพร์ในอเมริกา


หนังสือพิมพ์ The New York Times ฉบับวันพุธที่ 11 มิถุนายน ค.ศ.1986 
ลงตีพิมพ์เนื้อหาเกี่ยวกับการมาถึงอเมริกาของออแพร์กลุ่มแรก
(https://www.aupairinamerica.com/images/NY-Times_6_86.gif)

ปีค.ศ. 1986 โครงการออแพร์ในอเมริกาเริ่มต้นโดยเอเจนซี่ 2 บริษัท (หนึ่งในนั้นคือ Au Pair in America) ลงทะเบียนกับ the United States Information Agency (USIA) เพื่อจัดหาออแพร์จากทั่วโลกมายังสหรัฐอเมริกา ในเดือนมิถุนายนของปีนั้น ออแพร์กลุ่มแรกซึ่งประกอบด้วยหญิงสาว 35 คน และชายหนุ่ม 1 คนจาก Belgium, Britain, Denmark, France, Ireland, Norway, Sweden และ West Germany ได้เดินทางมาถึงอเมริกา  

ออแพร์กลุ่มแรกได้ปฐมนิเทศที่ Roosevelt Hotel ใน Manhattan เป็นเวลา  4 วัน ก่อนจะเดินทางไปยังบ้านโฮสต์แฟมิลี่ใน New York, New Jersey, Connecticut, Maryland, Pennsylvania, Massachusetts, Virginia, Chicago และ San Francisco.

Roosevelt Hotel เปรียบเสมือน Au Pair's training school แห่งแรกในอเมริกา
(https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/2/20/Roosevelt_Hotel.jpg/1024px-Roosevelt_Hotel.jpg)

ปีค.ศ.1986-1988 โครงการออแพร์ยังอยู่ในช่วงทดลองเป็นเวลา 2 ปี  โดยยึดต้นแบบตามยุโรป มีจำนวนออแพร์ในระยะนี้จำนวน 200 คน

ปีค.ศ.1988 สภาคองเกรสได้อนุมัติให้มีโครงการนี้ต่อไป โครงการออแพร์ในอเมริกาจึงถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการ (แต่ยังต้องได้รับการอนุมัติจากสภาคองเกรสทุก 1- 2 ปี) และจำนวนออแพร์ที่เดินทางมาอเมริกามีเพิ่มมากขึ้นถึง 1,600 คน

ปีค.ศ. 1989 เอเจนซี่ใหม่อีก 6 บริษัทได้เข้าร่วมโครงการออแพร์ ได้แก่ AuPair Care, Culturalcare Au Pair, Go Au Pair เป็นต้น

ปีค.ศ.1994  The U.S. Department of Labor (DoL) ได้กำหนดค่าแรงขั้นต่ำของออแพร์ขึ้น โดยคำนวณจากค่าแรงขั้นต่ำของแรงงานในประเทศหักลบค่าอาหารและค่าที่พักออก

ปีค.ศ. 1995  The Department of State (DoS) ได้ประกาศกฏระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการคัดเลือกและตรวจสอบคุณสมบัติของออแพร์ขึ้นอย่างเป็นทางการ 

ปีค.ศ.1996  ค่าจ้างออแพร์คือ $128.25 ต่อสัปดาห์

ปีค.ศ.1997 - มีข่าวเด็กในความดูแลของออแพร์เสียชีวิต จึงมีการเพิ่มระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณสมบัติของออแพร์มากขึ้น และให้มีการปฐมนิเทศออแพร์  
- สมาชิกวุฒิสภามีมติให้โครงการออแพร์ในอเมริกาเป็นโครงการถาวร
- ค่าจ้างออแพร์เพิ่มเป็น $139.05 ต่อสัปดาห์

ปีค.ศ.1999 เปลี่ยนหน่วยงานที่ดูแลโครงการออแพร์ไปขึ้นกับสำนักงานการศึกษาและวัฒนธรรม (Department of State, Educational & Cultural Affairs Bureau (ECA))

ปีค.ศ.2001 เกิดโครงการ The EduCare program ขึ้น สำหรับโฮสต์แฟมิลี่ที่มีเด็กวัยเรียนและต้องการชั่วโมงการดูแลน้อยกว่าออแพร์ปกติ

ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างAu PairและEduCare
(https://cdmigrante.org/wp-content/uploads/2018/08/Shortchanged.pdf)

ปีค.ศ.2002  เกิดระบบติดตามและบันทึกข้อมูลของนักเรียนในอเมริกา (วีซ่า F, M, และ J) เรียกว่า Student and Exchange Visitor Information System (SEVIS)

ปีค.ศ.2004  กำหนดให้ออแพร์สามารถต่อปีสองได้ 6, 9, หรือ 12 เดือน

ปีค.ศ.2007  ค่าจ้างออแพร์เพิ่มเป็น $157.95 ต่อสัปดาห์

ปีค.ศ.2008  ค่าจ้างออแพร์เพิ่มเป็น $176.85 ต่อสัปดาห์

ปีค.ศ.2009  ค่าจ้างออแพร์เพิ่มเป็น $195.75 ต่อสัปดาห์
👉 ทำไมออแพร์ในอเมริกาได้เงินแค่ $195.75 ต่อสัปดาห
ปีค.ศ.2014 มีการฟ้องร้องคดีโดยออแพร์ 11 คนจากประเทศ Colombia, Australia, Germany, South Africa และ Mexico ต่อศาลเกี่ยวกับการจ่ายค่าแรงที่ไม่เป็นธรรม การฟ้องร้องนี้ใช้เวลาหลายปีจนในที่สุด ศาลมีคำสั่งให้เอเจนซี่ที่เกี่ยวข้อง 15 บริษัทจ่ายเงินชดใช้จำนวน $65,500,000 ให้ออแพร์กว่า 10,000 คนที่ทำงานอยู่ระหว่าง1 มกราคม 2009 ถึง 28 ตุลาคม 2018 (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่)


ปีค.ศ.2015 - มีจำนวนเอเจนซี่เพิ่มขึ้นเป็น15บริษัท 
- ออแพร์ที่เดินทางเข้ามาในประเทศสหรัฐอเมริกามีจำนวน 17,588 คน โดยอันดับหนึ่งมาจากประเทศเยอรมัน รองลงมาคือบราซิล และโคลัมเบีย ตามลำดับ

*Data was provided by the US Department of State

- การขอวีซ่าออแพร์จากประเทศอินเดียและฟิลิปปินส์ถูกจำกัด 
- The Matahari Women Workers’ Center ในเมือง Boston รัฐMassachusetts เรียกร้องให้กฏหมายคุ้มครองแรงงานในรัฐแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Domestic Workers Bill of Rights) คุ้มครองออแพร์ทุกคนในรัฐผ่านการเห็นชอบจากศาล (อ่านข่าวเพิ่มเติมที่นี่)


ปีค.ศ.2017 - จำนวนออแพร์ที่เดินทางเข้ามาในประเทศสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นมากถึง 20,000 กว่าคน 
- เดือนสิงหาคม  ปีค.ศ.2017 มีข่าวว่านายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีในขณะนั้นที่มีนโยบาย “Buy American, Hire American” ต้องการยกเลิกโครงการแลกเปลี่ยนภายใต้วีซ่า J-1 รวมทั้งโครงการออแพร์ด้วย แต่ละเอเจนซี่พยายามทุกวิถีทางให้โครงการออแพร์ในอเมริกายังมีต่อไป (อ่านข่าวเพิ่มเติมที่นี่)

ปีค.ศ.2018 - ผลจากนโยบายของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ มีการเปลี่ยนกฏหมายการเสียภาษีของออแพร์ โดยยกเลิกค่าลดหย่อนส่วนบุคคล $4050 ทำให้ออแพร์ต้องจ่ายภาษีรายได้บุคคลเพิ่มขึ้นจากปี2017อย่างมาก จาก$613 ในปี 2017 เป็น $1031ในปี 2018 (คำนวณจากออแพร์ที่มีรายได้ทั้งปี $195.75x52 weeks)
👉 2018 Paying Tax for Au Pair (Step by step)
- การขอวีซ่าจากประเทศไทย เม็กซิโก และโคลัมเบียมีอัตราถูกปฏิเสธสูงมาก

ประวัติออแพร์ในอเมริกาในประเทศไทย

(http://www.thaiaupairclub.com)

          สำหรับโครงการออแพร์ในอเมริกาเริ่มต้นอย่างไรไม่มีหลักฐานแน่ชัด คาดว่ามีมานานกว่า 27 ปี แต่เพิ่งเป็นที่รู้จักมากขึ้นในไทยเมื่อประมาณ 10 กว่าปีก่อน หลังจากที่พี่ธัญญา อดีตออแพร์ในอเมริกา (ปี2003-2005)ได้เขียนกระทู้ I am Au Pair ขึ้นมาบนเว็บไซต์การศึกษาต่อต่างประเทศแห่งหนึ่ง (ปัจจุบันเว็บไซต์นี้ถูกปิดไปแล้ว) กระทู้นี้ได้รับความสนใจอย่างมาก จนพี่ธัญญ่าได้ตัดสินใจทำเว็บไซต์ Thai Au Pair Club และเขียนหนังสือเกี่ยวกับออแพร์ในอเมริกาขึ้นมา 2 เล่ม ได้แก่ เที่ยวฟรีมีตังค์ใช้ สไตล์ออแพร์ และ โกอินเตอร์แบบง่ายๆ สไตล์ออแพร์

เว็บไซต์ไทยออแพร์คลับ เป็นชุมชนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของชาวออแพร์ และเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่โครงการออแพร์ให้เป็นที่รู้จักในประเทศไทย
(http://www.thaiaupairclub.com)

(https://www.bloggang.com/data/b/blackcat024/picture/1242529004.jpg)
(https://storage.naiin.com/system/application/bookstore/resource/product/2011/2006/9984803_250.jpg)

และหลังจากนั้นจำนวนออแพร์ไทยที่เข้าร่วมโครงการก็มากขึ้นๆ จนกระทุ่งยุคโซเชียลมีเดียที่ทำให้การประชาสัมพันธ์โครงการง่ายและเข้าถึงผู้คนมากขึ้น มีเว็บบอร์ด กระทู้ บล็อก Facebook Line และYoutube สำหรับแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิดเห็น และถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตออแพร์ในอเมริกามากมาย ทำให้คนไทยสนใจมาเป็นออแพร์ในอเมริกาจำนวนมากจนติดอันดับ 1 ใน 10 ชาติที่มาเป็นออแพร์ในอเมริกา ขณะเดียวกัน จำนวนเอเจนซี่ในไทยก็เพิ่มมากขึ้นด้วย


สถิติจำนวนคนไทยที่เข้าร่วมโครงการออแพร์ในอเมริกาในแต่ละปี

สถิติจำนวนออแพร์ใหม่ที่เข้าร่วมโครงการ ปี 2017
(https://j1visa.state.gov/wp-content/uploads/2018/04/Au-Pair-Flyer-2017.pdf?fbclid=IwAR2fLiPDBVbJZYdrrdJquMXBevMIFBl-mbX1HD3pYmobJ_LjKXJbkWh5jO0)

สถิติจำนวนออแพร์ใหม่ที่เข้าร่วมโครงการ ปี 2018
https://j1visa.state.gov/wp-content/uploads/2019/03/Au-Pair-Flyer-2018-web.pdf

👉 อยากเป็นออแพร์ ไปเอเจนซี่ไหนดี?
👉 รีวิวชีวิตออแพร์ในอเมริกากับปาย TheFoo
          จนกระทั่งปี 2018 เริ่มมีข่าวการปฏิเสธวีซ่าของออแพร์ไทยจำนวนมาก ทำให้จำนวนออแพร์ไทยที่สามารถเข้าร่วมโครงการได้น้อยลง บางคนตัดสินใจไปร่วมโครงการออแพร์ทางฝั่งประเทศยุโรปแทน ผู้ที่เป็นออแพร์ในอเมริกาอยู่ในขณะนั้นมีความเสี่ยงในการถูกปฏิเสธการต่อวีซ่าปีสอง หลายๆ เอเจนซี่แนะนำให้โฮสต์แฟมิลี่ที่ต้องการออแพร์ไทยเลือกเฉพาะคนที่อยู่ในประเทศแล้วเท่านั้น เอเจนซี่เล็กๆในไทยยกเลิกการส่งออแพร์ไทยมาอเมริกา ปัจจุบันมีเอเจนซี่ในไทย 8 บริษัท
👉 อยากเป็นออแพร์ในอเมริกา ไปเอเจนซี่ไหนดี? (อัพเดทMarch 2019)


ที่มา
https://www.nytimes.com/1986/06/11/garden/au-pair-in-america-first-group-arrives.html
https://goaupairglendale.wordpress.com/2011/04/13/the-au-pair-program-program-history/


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น