วันเสาร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2560

แหล่ง Shopping ในอเมริกา

          พยายามจัดกลุ่มประเภทแหล่งช้อปปิ้งต่างๆ จากแพงสุด ไปจนถึงถูกสุด ร้านขายของมือสอง และร้านค้าออนไลน์ ไม่เน้นแหล่งช้อปปิ้งสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาแล้วแบบห้ามพลาด ต้องไปให้ได้อะไรแบบนั้น แต่จะเขียนเป็นข้อมูลสำหรับคนที่จะมาใช้ชีวิตอยู่ที่อเมริกา ไว้เป็นข้อมูลเบื้องต้น ยกตัวอย่างเปรียบเทียบกับร้านค้าบ้านเราเพื่อให้เข้าใจอเมริกามากขึ้น และสามารถปรับตัวอยู่ได้ค่ะ


1. ห้างสรรพสินค้า (Shopping mall หรือเรียกสั้นๆ ว่า Mall)
(รูปจาก https://static1.squarespace.com/static/529fc0c0e4b088b079c3fb6d/t/552602cbe4b04bc773da7ced/1428554449247/ และ http://theunn.com/wp-content/uploads/2015/09/saks-678x381.jpg)

          มีตั้งแต่ระดับหรูหราแบบสยามพารากอน หรือดิเอ็มควอเทียร์ เช่น Sak Fifth Avenue, Neiman Marcus, Barner's New York ห้างพวกนี้ตัวอาคารจะไม่ใหญ่โตมาก แต่ขายสินค้าแบรนด์เนมระดับท้อปๆ เจาะกลุ่มสำหรับลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูง(มาก) การบริการดีเยี่ยม มีบริการValet parking (บริการเอารถไปจอดให้) สินค้าที่ขายจะเป็นพวกแรนด์ Chanel, Celine, Lanvin, Dior, Christain Luobutin,  Oscar De larenta, Zac pozen, Judith Lieber, Gevenchy, Fendi, Prada, Alexander Mc Queen เป็นต้น เหมือนที่เราเห็นกันในทีวีที่นางแบบถ่ายแบบเดินพรมแดง เสื้อผ้าที่นี่ถูกสุดก็ตัวละสองหมื่นบาทขึ้นไป บางครั้งมาที่ห้างก็จะมีนางแบบใส่ชุดสวยๆ เดินโชว์รอบห้างด้วย 
          ส่วนตัวยังไม่เคยไปห้างพวกนี้เลย เพราะเมืองที่อยู่ไม่มี ในฟลอริด้าจะเจอห้างพวกนี้ได้ตามเมืองท่องเที่ยวใหญ่ๆ เช่น Tampa, Orlando, Miami เป็นต้น


 
(รูปจาก https://thenypost.files.wordpress.com/2017/02/nordstrom.jpg?quality=90&strip=all และhttps://fortunedotcom.files.wordpress.com/2017/05/f500-2017-e28094-dillards-417.jpg)

          รองลงมา ได้แก่ Nodstrom, Dillard, Wallington mall พวกนี้เทียบได้กับห้างเซ็นทรัลบ้านเรา ขายสินค้ามีเกรดหน่อย แบรนด์เนมก็มี เช่น Chole' Burberry Valentino, Dior บางรุ่น, Gucci, Jimmy, Choco เครื่องสำอาง La Mer, La Prairie เป็นต้น 

          ถึงแม้อยู่เมืองไทยเราจะช้อปปิ้งห้างเซ็นทรัลบ่อยๆ แต่มาอยู่อเมริกาเราเคยไปห้างพวกนี้แค่ที่ละหน เพราะด้วยรายได้ออแพร์ที่น้อยนิดทำให้ซื้อไม่ลง อีกอย่างเป็นคนที่ไม่รู้จักสินค้าแบรนด์เนมอะไรเลย มีคนพาไปเราก็ไปด้วย แต่คุยกับเขาไม่รู้เรื่องค่า เลือกก็ไม่เป็น แต่คิดว่าก่อนกลับไทยจะแวะมาซื้อเป็นของฝากให้คนที่บ้าน เพราะว่าวันดีคืนดีห้างเหล่านี้จะลดราคาค่ะ ลดแบบ "ลดซ้อนลด" ลดแล้วลดอีก ตัวอย่างเช่น นาฬิกาข้อมือราคาเต็ม $200 ลด 50% เหลือ $100 และลดอีก 30% จากราคาที่ลดแล้วอีกทีเหลือเพียง $70 ถือว่าถูกมากๆ และที่ชอบอีกอย่างนึงในการมาเดินห้างพวกนี้คือ ได้ของแจกฟรี ! เป็นตัวอย่างทดลองใช้พวกครีมบำรุงผิว และเครื่องสำอาง เป็นต้น
(รูปจาก http://i2.cdn.turner.com/money/dam/assets/141224123845-stats-on-sears-thumb-1024x576.png, https://upload.wikimedia.org/wikipedia/en/1/15/Kmart_Eastland_Melbourne.jpg และ http://tenpointnews.com/wp-content/uploads/2017/01/macys.jpg)

          ห้างสรรพสินค้าทั่วไป เทียบได้กับ The Mall หรือ Robinson บ้านเรา เช่น Sears, Kmart, Macy's พวกนี้ก็ราคาถูกลงมาหน่อย มีขายเสื้อผ้า ของใช้ และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน สำหรับ Sears มีขายอะไหล่รถยนต์ด้วย (Sears auto center) แต่ร้านพวกนี้ก็ทยอยปิดตัวลงหลายสาขาแล้ว เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจ

💥ดู shopping mall 10 แห่งที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกา

2. Outlet mall
          วันปกติไปห้างหรูสู้ราคาไม่ไหว ก็มาห้างพวกนี้ได้ค่ะ เขาว่ามันถูกกว่า เพราะเป็นร้านขายของจากผู้ผลิตโดยตรง พวกแบรนด์เนมต่างๆ ที่เคยขายใน Mall และหมดฤดูกาล ตกรุ่น ของที่ลูกค้านำมาคืน ของ Overstock หรือของมีตำหนิเล็กๆน้อยๆ แต่ยังอยู่ในสภาพดี เขาก็จะเอามาขายที่นี่ ราคาก็จะถูกกว่าในห้างประมาณ 30-80% และตั้งชื่อห้างจึงคล้ายๆ กับห้างหลักหรือห้างแม่ เช่น Nodstrom Rack, Dillard Clearance, Wallington green mall ซึ่งห้างเหล่านี้จะตั้งอยู่ไกลจากตัวเมืองอย่างน้อย 20 ไมล์ แต่จะอยู่ริมทางหลวงหลักเพื่อให้ผู้ซื้อไป-มาสะดวก ทั้งนี้ เพื่อประหยัดค่าเช่า ค่าตกแต่งร้าน และไม่ต้องแข่งกับห้างหลักของตัวเองที่อยู่ในเมือง แต่ห้างพวกนี้ก็ต้องเลือกสินค้าดูดีๆ ค่ะ เพราะบางอย่างขายแพง ตั้งราคาเหมือนของสินค้าใหม่ในห้างหลักเลย 

3. Super store/Super market และ Asian market
  • Publix เป็นห้างซุปเปอร์มาร์เก็ตที่มีสาขามากที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกาเลยก็ว่าได้ และพนักงานให้บริการดีที่สุดในบรรดาซุปเปอร์มาร์เก็ต ส่วนใหญ่จะจำหน่ายอาหาร ผักผลไม้ และมีขายดอกไม้สดด้วย เทียบได้กับ Tops market หรือ Central food mall บ้านเรา เป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตที่ถือว่ามีราคาแพงถ้าเทียบกับร้านอื่นๆ เหมาะกับพวกทำงานออฟฟิศมีรายได้ระดับหนึ่ง
  • Target และ Walmart เป็นห้างสรรพสินค้า เทียบได้กับ Tesco Lotus, Big C บ้านเรา คือขายทั้งสินค้าอุปโภค บริโภค ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องเขียน ลิ้นชัก นาฬิกา โคมไฟ เสื้อผ้า แต่ Walmart จะมีราคาถูกกว่า Target หน่อยนึง

  • Lucky's market ขายของราคาถูกกว่า Publix แต่มีสินค้าไม่ค่อยเยอะมาก มีมุมขายพวกขนมหวาน ลูกกวาด เยลลี่แบบให้ตักใส่ถุงชั่งน้ำหนักเอง และมีมุมที่ขายยากับพวกสบู่โลชั่นที่เน้นสมุนไพรออแกนิคด้วย เวลาซื้อของที่นี่เขาจะใส่ถุงกระดาษมาให้
  • Fresh market และ Whole Foods Marketเป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตที่เน้นขายวัตถุดิบ ผักผลไม้ และเครื่องปรุงทำอาหาร
  • Winn-Dixie เป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป ราคาถูกกว่า Publix
  • Trader Joe's อันนี้เป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตที่เน้นขายของออแกนิคยี่ห้อตัวเอง
  • Aldi Fresh Market ขายอาหารเหมือนซุปเปอร์มาร์เก็ต แต่ราคาถูกกว่า (ประมาณร้านโชห่วย)
  • Saveway เป็นซุปเปอ์มาร์เก็ตที่มีมากทางฝั่งตะวันตกของอเมริกา อย่าลืมขอบัตรสมาชิกจากพนักงาน(ฟรี) เพื่อใช้เป็นส่วนลดเวลาซื้อสินค้าที่ Saveway ด้วยนะ
  • ซุปเปอร์มาร์เก็ตอื่นๆ ที่มีเฉพาะบางรัฐ เช่น Dierberg's (Missouri), Starmarket, Stop & Shop (massachusetts), Market Basket, Wegmans (NewEngland), ShopRite (New Jersey), Tops, Price Chopper Supermarkets (New York), Harris Teeter (North Carolina), Weis Markets, Acme Markets, Giant Eagle (Pennsylvania), Kroger (Ohio), H-E-B (Texas), เป็นต้น
ซุปเปอร์มาร์เก็ตบางแห่งมีเคาน์เตอร์คิดเงินแบบบริการตัวเองด้วย (Self check out) เราก็แค่สแกนบาร์โค้ดติ๊ดๆ แล้วก็ใส่ถุง รูดบัตรเครดิต/เดบิตเพื่อจ่ายเงิน และรับใบเสร็จ
(https://cdn.vox-cdn.com/thumbor/HtPE36-UDBbBqkmo10tqKk29_Ek=/0x0:2048x1360/1200x800/filters:focal(861x517:1187x843)/cdn.vox-cdn.com/uploads/chorus_image/image/52683551/10648237_791550397560030_5178451302245274192_o.0.jpg)
  • H Mart คือ Asian Supermarket (เน้นของเกาหลี)
  • C Mart คือ Asian Supermarket (เน้นของจีน)

(รูปจาก https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjAcgIpnP5o74sTuKxyN7W2gdskxAjbXjJYHKzGtGR0a0fIIbzyXhaCZTS0MCMmLIrNrb7F9vpkSdyrl-P-NLl8wQhjZU-nvviVWP-1lfNiuCQRznALWWoj92bQG7QMRDZLRSKQp_MX4sAG/s1600/8097_325849074185105_1296747403_n.jpg)
  • Asian market / Asian grocery จะเป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือร้านขายของชำเล็กๆ ของคนเอเชีย เช่น คนจีน เวียดนาม กัมพูชา เกาหลีหรือญี่ปุ่น จะมีพืชผักที่เราคุ้นเคย และเครื่องปรุง เครื่องกระป๋อง ซอสต่างๆ ที่เหมาะกับการทำอาหารเอเชีย บางครั้งก็มีต้นไม้ขายด้วย ราคาก็จะถูกกว่าซื้อซุปเปอร์มาร์เก็ตที่อื่น แต่บางครั้งของก็จะไม่ได้สดมาก

(รูปจาก http://2i13fj1ly30e3ynzrf304gxn.wpengine.netdna-cdn.com/wp-content/uploads/2016/08/cvs.png และ http://www.mommysavesbig.com/printable-coupons/wp-content/uploads/2017/04/walgreens.jpg)
  • ร้านขายยาที่นี่จะลักษณะเหมือน Watson บ้านเรา คือขายยา ขายโลชั่น เครื่องสำอาง สบู่ของใช้ จิปาถะต่าง ๆ ร้านขายยาที่พบเห็นได้ทั่วไปที่นี่ ได้แก่ CVS, Walgreen, Winn Dixie Pharmacy มีบริการเปิด 24 ชม. บริการอัดรูป และ Drive-through เหมือนกับ Starbuck และร้านอาหาร Fast food บางแห่งด้วย คือ สามารถขับรถไปจอดข้างๆ ร้านและซื้อยาได้โดยไม่ต้องลงจากรถ อย่าลืมสมัครสมาชิกกับทางร้านเพื่อจะได้ซื้อของในราคาโปรโมชั่น
4. Specialty store 
          เป็นร้านขายของเฉพาะอย่าง เช่น ร้านขายจักรยาน ร้านขายเครื่องครัว จะตั้งชื่อร้านเป็นของตัวเองเลย ไม่มีสาขา ราคาส่วนใหญ่ก็จะถูกกว่าซื้อในห้างสรรพสินค้าหรือซุปเปอร์มาร์เก็ต

5. Strip mall / Plaza, Shopping center, Shopping town
(รูปจากhttp://www.summit-customcuts.com/images/800_L-mall-800-1.JPG)
(รูปจาก http://c8.alamy.com/comp/GK9A0K/bradenton-florida-braden-river-plaza-strip-mall-shopping-plaza-sign-GK9A0K.jpg)

          ชื่อ Strip Mall นี้ได้จากการจัดสรรที่ดิน กันที่หัวมุมถนนเอาไว้ทำเป็นร้านค้า แทนที่จะทำเป็นบ้านเรือน เพราะเป็นร้านค้าต่างๆจะได้กำไรใช้ประโยชน์กับพื้นที่ได้คุ้มค่ากว่าค่ะ

          Strip Mall นี้ มีลักษณะเป็นร้านค้าหลายๆร้านเรียงเข้าแถวในแนวเดียวกัน หรือเป็นรูปตัว L โดยจะมีตั้งแต่เล็กๆ เช่น เป็นปั๊มน้ำมันหรือธนาคาร หรือใหญ่หน่อยก็จะมีหลายคูหา เช่น มีร้านอาหาร, ร้านตัดผม, ร้านวีดีโอ, ร้านซักรีด อยู่รวมกัน หรือแบบใหญ่ขึ้นไปอีก ก็จะมีร้านที่กินพื้นที่ขนาดกว้างมากเป็นร้านหลัก เรียกว่า Anchors เปรียบเป็นสมอบกปักหลัก อาจเป็นร้าน Grocery เช่น Target, Safeway ร้านขายของก่อสร้าง เช่น Home Depot, Lowe’s และมีร้านค้าคูหาอื่นๆ อยู่รอบๆ

          อีกอย่างหนึ่งที่เจอ ลักษณะจะคล้ายๆ Stip mall แต่ใหญ่กว่ามากๆ เสมือนมีหลาย Strip mall มารวมกัน เรียกว่า Shopping center หรือ Shopping town จะมีร้านค้าหลากหลายมากๆ รวมถึงร้านอาหารต่าง ๆ อยู่ในบริเวณเดียวกัน อาจมีห้างสรรพสินค้าอยู่ด้วย

5. ร้านขายส่ง (Wholesale / Bulk shopping)
          Cosco wholesale เทียบได้กับ Macro บ้านเรา คือขายสินค้าราคาส่งแบบจำนวนเยอะๆ ที่ชอบมากคือ ชอบมีซุ้มอาหารให้ชิมฟรี ก็เดินวนไปจนอิ่ม 555 แล้วก็ร้านพิซซ่าใน Cosco หน้าผักอร่อยมาก ราคาไม่แพง เข้าได้เฉพาะคนที่มีบัตรสมาชิกเท่านั้น
          Bj's Wholesale Club ยังไม่เคยเข้าไปซื้อของ แต่เคยเข้าปั๊มน้ำมันของ BJ's เพราะเห็นราคาน้ำมันถูมาก แต่เติมไม่ได้เพราะต้องมีบัตรสมาชิกของร้าน ต้องซื้อของภายในร้านตามยอดขั้นต่ำ และได้เติมน้ำมันในราคาถูกกว่าปั๊มอื่นๆ


6. ร้านทุกอย่างยี่สิบบาท
  • Five Below ขายสินค้าจิปาถะ ราคาตั้งแต่ $1-$5 เหมาะแก่การซื้อเป็นของขวัญจับฉลากปีใหม่มาก
  • Dollar tree และ Family dollar ทุกอย่างราคาเดียวคือ 1$ ส่วนใหญ่ก็จะขายพวกเครื่องเขียน ของเล่น การ์ดอวยพร ส่วนใหญสินค้าผลิตจากจีนเลยมีราคาถูก มีขายเครื่องอุปโภคจำพวกสบู่ ยาสระผม ถ้วยชามพลาสติก อาหารและขนม
  • Dollar general ร้านนี้ราคาแพงกว่า Dollar tree นิดหน่อย คือไม่ได้ $1 ทุกอย่าง แต่ราคาสูงสุดก็ไม่เกิน $3 จะขายของคล้ายๆกัน
  • .95 cen ร้านนี้ทุกอย่าง 0.95 cen เท่านั้น แต่เจ๊งไปแล้ว ไม่มีอีกแล้ว เพราะเศรษฐกิจไม่ดี ถูกขนาดนี้จะอยู่ได้อย่างไร
7. ตลาดนัด, Farmer market, และ ร้านสะดวกซื้อ
(รูปจาก http://miami.happeningmag.com/wp-content/uploads/farmers-market-produce.jpg)

          ตลาดนัด ภาษาอังกฤษเรียกว่า Flea market ส่วนใหญ่จะจัดขึ้นทุกสัปดาห์ เช่น ทุกเย็นวันุธ หรือทุกเช้าวันเสาร์ เป็นต้น ลักษณะคล้ายๆ ตลาดนัดบ้านเรา จะมีพ่อค้าแม่ค้านำสินค้ามาตั้งโต๊ะวางขาย ไม่ว่าจะเป็น เบเกอรี่โฮมเมด น้ำผึ้ง ต้นไม้ดอกไม้ ข้าวสาร พืนผักสดๆ จากสวน งานศิลปะ เช่น ภาพวาด สร้อยข้อมือ งานแกะสลักไม้ และอาจมีรถขายอาหารที่เรียกว่า Food truck มาร่วมจำหน่ายอาหารด้วย ไปเดินเล่นกันชิลๆ ชิมขนมนมเนย อุดหนุนสินค้า และฟังเพลงเพราะๆ จากนักดนตรีที่มาเล่นดนตรีกันสดๆ ให้ชมด้วย เพื่อนออแพร์บางคนไปซุปเปอร์มาร์เก็ตหาใบกะเพราไม่ได้ ก็มาซื้อต้นกะเพราจากตลาดนัดไปปลูกกิน
          ส่วน Farmer market ก็จะลักษณะคล้ายๆ กับ Flea market แต่เน้นขายพืนผักจากเกษตกรมากกว่า ซึ่งเป็นเกษตรกรชาวไร่ชาวสวนจริงๆ ไม่ใช่พ่อค้าคนกลางรับมาขาย ก็จะได้บรรยากาศอีกแบบ
          ร้านสะดวกซื้อที่นี่พบได้มากตามปั๊มน้ำมัน มีหลากหลายร้าน ที่เห็นบ่อยๆ ก็คือ Kangaroo express ส่วน 7-eleven ก็มี แต่จะต่างจากบ้านเราหน่อยคือเน้นขายอาหาร เครื่องดื่ม ขนม บางแห่งอาจมีขายอาหารสด เช่น ไก่ย่าง ขายของใช้และยาเล็กน้อย เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวขับรถมาเติมน้ำมัน แวะพักเข้าห้องน้ำ และซื้อเครื่องดื่มเล็กๆ น้อยๆ

8. ร้านขายของมือสอง ตาดีได้ ตาร้ายเสีย
(รูปจาก https://www.goodwillaz.org/wordpress/wp-content/uploads/2016/01/MEK_1058.jpg)
  • Goodwill เป็นร้านขายเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เครื่องแต่งกายมือสองที่มีคนเอามาบริจาค หรือบางครั้้งอาจเจอของใหม่ที่มีร้านค้าที่เลิกกิจการแล้วเอามาบริจาคให้ก็ได้  เสื้อผ้าและสินค้าที่ขายทุกชิ้นจะมีแท็กสีติดไว้ ทุกๆวันจะมีป้ายประกาศบอกว่าวันนี้สินค้าอะไรลดราคา หมุนเวียนสีไป
  • Thrift store/market Thrift แปลว่า ความประหยัด มัธยัสถ์ ร้านนี้เป็นร้านขายสินค้ามือสอง เสื้อผ้า เครื่องครัว โต๊ะเก้าอี้ จักรยาน ของเล่น ฯลฯ มีหมดแล้วแต่ว่าเป็นสาขาเล็กหรือใหญ่ มีทั้งร้านที่ใหม่ จัดร้านเป็นระเบียบ ค่อนข้างสะอาด และร้านเก่า ที่เอาของมากองๆรวมกัน ให้เราไปเลือกค้นดู บางสาขาใหญ่มากๆ จนตั้งชื่อว่า Thrift world เลย ส่วนใหญ่จะเห็นคนแก่และพวกผิวดำมาซื้อกัน ทุกวันพุธเป็นวันผู้สูงอายุด้วยจะได้ลดราคาอีก 50%
    ร้านอื่นๆ ที่เหมือน Thrift store แต่มีชื่อต่างออกไป เช่น The salvation Army Family Store, Estate sale, Moving sale, Buffalo Exchange, Clothes Mentor, Uptown Cheapskate  เป็นต้น
     ที่บอกว่าตาดีได้ ตาร้ายเสียก็เพราะว่า สินค้าบางอย่างสภาพเก่าและดูผุพัง แต่ตั้งราคาไว้สูงกว่าซื้อทางเว็บขายของมือสองออนไลน์เสียอีก แล้วไปร้านพวกนี้กลับมาอย่าลืมล้างมือให้สะอาดด้วยนะคะ
  • อีกอย่างนึง ไม่ใช่ร้านถาวร แต่บ้านไหนมีของไม่ใช้แล้ว อยากขายต่อก็เปิดโรงรถหรือหลังบ้าน เอาสินค้ามาขายต่อมือสองในราคาถูกๆ เรียกว่า Garage sale หรือ Yard sale พวกนี้จะบอกกันปากต่อปาก ขายเป็นงานอดิเรกสนุกๆ ขายเพราะอยากจัดระเบียบบ้านใหม่ หรือกำลังย้ายบ้าน หรือบางคนขายเพื่อระดมเงินบริจาคการกุศล เป็นต้น (อ่านเพิ่มเติม)

9. Shopping online
          คนอเมริกันชอบซื้อของออนไลน์ผ่านเว็บไซต์หรือแอพลิเคชัน เพราะสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าเดินทาง เราเองก็ชอบเพราะสามารถเปรียบเทียบราคาจากหลายร้านได้ ที่สำคัญชอบมีโปรโมชั่นส่วนลดสำหรับซื้อสินค้าครั้งแรก ส่วนลดสำหรับวันสำคัญ/เทศกาลต่างๆ หรือฟรีค่าส่ง และบางครั้งยังได้ของแถมเป็นตัวอย่างสินค้าฟรี ซึ่งบางร้านรับทั้งบัตรเครดิตและเดบิต แต่สำหรับคนที่ไม่มีบัตรเครดิตก็สามารถจ่ายผ่าน Paypal ได้โดยผูกบัญชีธนาคารหรือบัตรเดบิตที่เรามีกับ Paypal สะดวกมาก (Download application Paypal ได้ที่นี่) และบางร้านมีบริการห่อของขวัญพร้อมให้พิมพ์ข้อความใส่การ์ดอวยพรได้ฟรี

ร้านค้าออนไลน์ที่นิยม ได้แก่

  • Amazon (อ่านว่า แอม-มะ-ซอน) คนอเมริกันชอบสั่งของจากแอมมะซอนมาก ราคาถูกกว่าซื้อที่ห้าง บริการดี ส่งเร็ว บรรจุภัณฑ์(พัสดุไปรษณีย์)ดีมาก ถ้ามียอดซื้อขั้นต่ำตามที่กำหนดหรือเป็นสมาชิก Prime จะมีบริการส่งฟรี
    * สำหรับคนที่เรียนคอลเลจแล้วมีอิเมล์ที่ลงท้ายด้วย .edu จะสามารถสมัครสมาชิก Prime Student ฟรี 6 เดือน ได้ Free 2 days shipping และหลังจาก 6 เดือนจะได้ส่วนลดค่าสมาชิกรายเดือน 50% จากราคาปกติ 
  • แต่เราชอบ ebay มากกว่าเพราะราคาถูกกว่า มีขายทั้งสินค้ามือหนึ่ง และมือสอง และสามารถประมูลสินค้าได้ด้วย สนุกดี แต่บรรจุภัณฑ์(พัสดุไปรษณีย์)จะไม่ค่อยดี และบางร้านใช้เวลาส่งนาน แต่หลายร้านก็ส่งฟรี
  • Boxed เว็บนี้จะขายพวกอาหาร ขนม สบู่ กระดาษทิชชู่ ของใช้ในชีวิตประจำวัน ของใช้เด็กอ่อน และอาหารสุนัขแบบยกโหล ราคาก็จะถูกกว่าไปซื้อตามซุปเปอร์มาร์เก็ต แถมได้ตัวอย่างสินค้าฟรี และได้ Cash back/rebate คืนด้วย 1% แต่แนะนำว่าถ้าอยากได้ Cash back คืนมากกว่านี้ให้ซื้อผ่านแอพ Ebate หรือ ibotta จะได้คืนเยอะกว่า
  • ebate คนที่ชอบซื้อของแบรนด์เนม แนะนำแอพนี้เลย ซื้อผ่านแอพนี้ได้ %cash back คืน 2-40% บางครั้งมี double or triple cash back และยังสามารถใช้ร่วมกับ travel agency บางแห่ง ebay walmart bestbuy boxed ฯลฯ ได้ด้วย
  • ibotta เราใช้แอพนี้อยู่ เพราะแอพนี้มีร้านที่เราชอบซื้อ ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าในซุปเปอร์มาร์เก็ต พวก walmart boxed ebay และใช้กับuberได้ด้วย (ไม่ได้มีตลอด แล้วแต่โปรโมชั่น) ได้เงินคืนจริงๆ ช่วงแรกๆ จะรู้สึกว่าได้น้อย คือได้คืนทีละ $1 หรือ 2% แต่จะมีโปรโมชั่นและโบนัสเรื่อยๆ เช่น นั่่งอูเบอปกติได้คืนครั้งละ $1 แต่บางครั้งมีโปรโมชั่นนั่งอูเบอ 3 ครั้งภายในเดือนนี้ได้คืน $5 เป็นต้น เมื่อสะสมครบอย่างน้อย $20-25 ก็จะสามารถถอนเงินออกมาได้โดยโอนมายังบัญชี Paypal หรือ Gift card ร้านต่างๆ ที่เรามี แต่ข้อเสียอย่างนึงของแอพนี้คือ บางร้านต้องโหลดแอพของร้านนั้นมาด้วย และเปิดใน ibotta ก่อนแล้วค่อยซิงค์ไปยังแอพของร้านนั้น ทำให้เสียเวลา และบางทีก็ลืมเปิดibottaก่อน ก็อด cashback ไป แต่ได้ %cashbackเยอะมากจริงๆ ถ้ามีรหัสส่วนลดเพิ่มเติมก็สามารถใส่เพิ่มได้อีก
  • แอพอื่นๆ ได้แก่ Savingstar, Checkout 51, Receipt hog เป็นต้น (ดู 10 อันดับ rebate app ยอดนิยม)แอพเหล่านี้ถ้าแนะนำให้เพื่อนๆ ใช้ก็จะได้โบนัสด้วย
  • อีกหนึ่งเว็บไซต์ที่นิยมมากๆ คือ Groupon เพราะมีดีลส่วนลดและคูปองมากมาย ทั้งสินค้า บริการ ที่พัก ตั๋วต่างๆ
  • เว็บขายของมือสอง Craigslist เว็บนี้เพื่อนแนะนำมา มีขายของมือสองทุกอย่าง ตั้งแต่ของเล็กน้อยจนถึงรถยนต์คันใหญ่ และกิจกรรมอื่นๆ หรือหางานก็มี
บทความที่เกี่ยวข้อง
👉  เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในการช้อปปิ้งที่อเมริกา
👉  เรื่องเงินๆ ทองๆ กับออแพร์




แหล่งอ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น