วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2562

ประวัติความเป็นมาของออแพร์ในอเมริกา

          สำหรับโครงการออแพร์ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น เป็นหนึ่งในโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม (T้he Exchange Visitor Program) ที่มีมานาน 33 ปีแล้ว โดยออแพร์จะถือวีซ่าประเภท J-1 ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกับ Work&Travel ออแพร์จะอาศัยอยู่กับครอบครัวอุปถัมภ์ (Host family) ทำงานเป็นพี่เลี้ยงเด็ก ดูแลกิจกรรมต่างๆ และช่วยเหลืองานบ้านเล็กน้อยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเด็ก เรียนรู้ภาษา และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม เป็นเวลา 1 ปี สูงสุด 2 ปี
👉 ออแพร์คืออะไร
👉 ขั้นตอนการเป็นออแพร์ 
ประวัติความเป็นมาของโครงการออแพร์ในอเมริกา


หนังสือพิมพ์ The New York Times ฉบับวันพุธที่ 11 มิถุนายน ค.ศ.1986 
ลงตีพิมพ์เนื้อหาเกี่ยวกับการมาถึงอเมริกาของออแพร์กลุ่มแรก
(https://www.aupairinamerica.com/images/NY-Times_6_86.gif)

ปีค.ศ. 1986 โครงการออแพร์ในอเมริกาเริ่มต้นโดยเอเจนซี่ 2 บริษัท (หนึ่งในนั้นคือ Au Pair in America) ลงทะเบียนกับ the United States Information Agency (USIA) เพื่อจัดหาออแพร์จากทั่วโลกมายังสหรัฐอเมริกา ในเดือนมิถุนายนของปีนั้น ออแพร์กลุ่มแรกซึ่งประกอบด้วยหญิงสาว 35 คน และชายหนุ่ม 1 คนจาก Belgium, Britain, Denmark, France, Ireland, Norway, Sweden และ West Germany ได้เดินทางมาถึงอเมริกา  

ออแพร์กลุ่มแรกได้ปฐมนิเทศที่ Roosevelt Hotel ใน Manhattan เป็นเวลา  4 วัน ก่อนจะเดินทางไปยังบ้านโฮสต์แฟมิลี่ใน New York, New Jersey, Connecticut, Maryland, Pennsylvania, Massachusetts, Virginia, Chicago และ San Francisco.

Roosevelt Hotel เปรียบเสมือน Au Pair's training school แห่งแรกในอเมริกา
(https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/2/20/Roosevelt_Hotel.jpg/1024px-Roosevelt_Hotel.jpg)

ปีค.ศ.1986-1988 โครงการออแพร์ยังอยู่ในช่วงทดลองเป็นเวลา 2 ปี  โดยยึดต้นแบบตามยุโรป มีจำนวนออแพร์ในระยะนี้จำนวน 200 คน

ปีค.ศ.1988 สภาคองเกรสได้อนุมัติให้มีโครงการนี้ต่อไป โครงการออแพร์ในอเมริกาจึงถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการ (แต่ยังต้องได้รับการอนุมัติจากสภาคองเกรสทุก 1- 2 ปี) และจำนวนออแพร์ที่เดินทางมาอเมริกามีเพิ่มมากขึ้นถึง 1,600 คน

ปีค.ศ. 1989 เอเจนซี่ใหม่อีก 6 บริษัทได้เข้าร่วมโครงการออแพร์ ได้แก่ AuPair Care, Culturalcare Au Pair, Go Au Pair เป็นต้น

ปีค.ศ.1994  The U.S. Department of Labor (DoL) ได้กำหนดค่าแรงขั้นต่ำของออแพร์ขึ้น โดยคำนวณจากค่าแรงขั้นต่ำของแรงงานในประเทศหักลบค่าอาหารและค่าที่พักออก

ปีค.ศ. 1995  The Department of State (DoS) ได้ประกาศกฏระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการคัดเลือกและตรวจสอบคุณสมบัติของออแพร์ขึ้นอย่างเป็นทางการ 

ปีค.ศ.1996  ค่าจ้างออแพร์คือ $128.25 ต่อสัปดาห์

ปีค.ศ.1997 - มีข่าวเด็กในความดูแลของออแพร์เสียชีวิต จึงมีการเพิ่มระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณสมบัติของออแพร์มากขึ้น และให้มีการปฐมนิเทศออแพร์  
- สมาชิกวุฒิสภามีมติให้โครงการออแพร์ในอเมริกาเป็นโครงการถาวร
- ค่าจ้างออแพร์เพิ่มเป็น $139.05 ต่อสัปดาห์

ปีค.ศ.1999 เปลี่ยนหน่วยงานที่ดูแลโครงการออแพร์ไปขึ้นกับสำนักงานการศึกษาและวัฒนธรรม (Department of State, Educational & Cultural Affairs Bureau (ECA))

ปีค.ศ.2001 เกิดโครงการ The EduCare program ขึ้น สำหรับโฮสต์แฟมิลี่ที่มีเด็กวัยเรียนและต้องการชั่วโมงการดูแลน้อยกว่าออแพร์ปกติ

ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างAu PairและEduCare
(https://cdmigrante.org/wp-content/uploads/2018/08/Shortchanged.pdf)

ปีค.ศ.2002  เกิดระบบติดตามและบันทึกข้อมูลของนักเรียนในอเมริกา (วีซ่า F, M, และ J) เรียกว่า Student and Exchange Visitor Information System (SEVIS)

ปีค.ศ.2004  กำหนดให้ออแพร์สามารถต่อปีสองได้ 6, 9, หรือ 12 เดือน

ปีค.ศ.2007  ค่าจ้างออแพร์เพิ่มเป็น $157.95 ต่อสัปดาห์

ปีค.ศ.2008  ค่าจ้างออแพร์เพิ่มเป็น $176.85 ต่อสัปดาห์

ปีค.ศ.2009  ค่าจ้างออแพร์เพิ่มเป็น $195.75 ต่อสัปดาห์
👉 ทำไมออแพร์ในอเมริกาได้เงินแค่ $195.75 ต่อสัปดาห
ปีค.ศ.2014 มีการฟ้องร้องคดีโดยออแพร์ 11 คนจากประเทศ Colombia, Australia, Germany, South Africa และ Mexico ต่อศาลเกี่ยวกับการจ่ายค่าแรงที่ไม่เป็นธรรม การฟ้องร้องนี้ใช้เวลาหลายปีจนในที่สุด ศาลมีคำสั่งให้เอเจนซี่ที่เกี่ยวข้อง 15 บริษัทจ่ายเงินชดใช้จำนวน $65,500,000 ให้ออแพร์กว่า 10,000 คนที่ทำงานอยู่ระหว่าง1 มกราคม 2009 ถึง 28 ตุลาคม 2018 (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่)


ปีค.ศ.2015 - มีจำนวนเอเจนซี่เพิ่มขึ้นเป็น15บริษัท 
- ออแพร์ที่เดินทางเข้ามาในประเทศสหรัฐอเมริกามีจำนวน 17,588 คน โดยอันดับหนึ่งมาจากประเทศเยอรมัน รองลงมาคือบราซิล และโคลัมเบีย ตามลำดับ

*Data was provided by the US Department of State

- การขอวีซ่าออแพร์จากประเทศอินเดียและฟิลิปปินส์ถูกจำกัด 
- The Matahari Women Workers’ Center ในเมือง Boston รัฐMassachusetts เรียกร้องให้กฏหมายคุ้มครองแรงงานในรัฐแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Domestic Workers Bill of Rights) คุ้มครองออแพร์ทุกคนในรัฐผ่านการเห็นชอบจากศาล (อ่านข่าวเพิ่มเติมที่นี่)


ปีค.ศ.2017 - จำนวนออแพร์ที่เดินทางเข้ามาในประเทศสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นมากถึง 20,000 กว่าคน 
- เดือนสิงหาคม  ปีค.ศ.2017 มีข่าวว่านายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีในขณะนั้นที่มีนโยบาย “Buy American, Hire American” ต้องการยกเลิกโครงการแลกเปลี่ยนภายใต้วีซ่า J-1 รวมทั้งโครงการออแพร์ด้วย แต่ละเอเจนซี่พยายามทุกวิถีทางให้โครงการออแพร์ในอเมริกายังมีต่อไป (อ่านข่าวเพิ่มเติมที่นี่)

ปีค.ศ.2018 - ผลจากนโยบายของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ มีการเปลี่ยนกฏหมายการเสียภาษีของออแพร์ โดยยกเลิกค่าลดหย่อนส่วนบุคคล $4050 ทำให้ออแพร์ต้องจ่ายภาษีรายได้บุคคลเพิ่มขึ้นจากปี2017อย่างมาก จาก$613 ในปี 2017 เป็น $1031ในปี 2018 (คำนวณจากออแพร์ที่มีรายได้ทั้งปี $195.75x52 weeks)
👉 2018 Paying Tax for Au Pair (Step by step)
- การขอวีซ่าจากประเทศไทย เม็กซิโก และโคลัมเบียมีอัตราถูกปฏิเสธสูงมาก

ประวัติออแพร์ในอเมริกาในประเทศไทย

(http://www.thaiaupairclub.com)

          สำหรับโครงการออแพร์ในอเมริกาเริ่มต้นอย่างไรไม่มีหลักฐานแน่ชัด คาดว่ามีมานานกว่า 27 ปี แต่เพิ่งเป็นที่รู้จักมากขึ้นในไทยเมื่อประมาณ 10 กว่าปีก่อน หลังจากที่พี่ธัญญา อดีตออแพร์ในอเมริกา (ปี2003-2005)ได้เขียนกระทู้ I am Au Pair ขึ้นมาบนเว็บไซต์การศึกษาต่อต่างประเทศแห่งหนึ่ง (ปัจจุบันเว็บไซต์นี้ถูกปิดไปแล้ว) กระทู้นี้ได้รับความสนใจอย่างมาก จนพี่ธัญญ่าได้ตัดสินใจทำเว็บไซต์ Thai Au Pair Club และเขียนหนังสือเกี่ยวกับออแพร์ในอเมริกาขึ้นมา 2 เล่ม ได้แก่ เที่ยวฟรีมีตังค์ใช้ สไตล์ออแพร์ และ โกอินเตอร์แบบง่ายๆ สไตล์ออแพร์

เว็บไซต์ไทยออแพร์คลับ เป็นชุมชนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของชาวออแพร์ และเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่โครงการออแพร์ให้เป็นที่รู้จักในประเทศไทย
(http://www.thaiaupairclub.com)

(https://www.bloggang.com/data/b/blackcat024/picture/1242529004.jpg)
(https://storage.naiin.com/system/application/bookstore/resource/product/2011/2006/9984803_250.jpg)

และหลังจากนั้นจำนวนออแพร์ไทยที่เข้าร่วมโครงการก็มากขึ้นๆ จนกระทุ่งยุคโซเชียลมีเดียที่ทำให้การประชาสัมพันธ์โครงการง่ายและเข้าถึงผู้คนมากขึ้น มีเว็บบอร์ด กระทู้ บล็อก Facebook Line และYoutube สำหรับแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิดเห็น และถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตออแพร์ในอเมริกามากมาย ทำให้คนไทยสนใจมาเป็นออแพร์ในอเมริกาจำนวนมากจนติดอันดับ 1 ใน 10 ชาติที่มาเป็นออแพร์ในอเมริกา ขณะเดียวกัน จำนวนเอเจนซี่ในไทยก็เพิ่มมากขึ้นด้วย


สถิติจำนวนคนไทยที่เข้าร่วมโครงการออแพร์ในอเมริกาในแต่ละปี

สถิติจำนวนออแพร์ใหม่ที่เข้าร่วมโครงการ ปี 2017
(https://j1visa.state.gov/wp-content/uploads/2018/04/Au-Pair-Flyer-2017.pdf?fbclid=IwAR2fLiPDBVbJZYdrrdJquMXBevMIFBl-mbX1HD3pYmobJ_LjKXJbkWh5jO0)

สถิติจำนวนออแพร์ใหม่ที่เข้าร่วมโครงการ ปี 2018
https://j1visa.state.gov/wp-content/uploads/2019/03/Au-Pair-Flyer-2018-web.pdf

👉 อยากเป็นออแพร์ ไปเอเจนซี่ไหนดี?
👉 รีวิวชีวิตออแพร์ในอเมริกากับปาย TheFoo
          จนกระทั่งปี 2018 เริ่มมีข่าวการปฏิเสธวีซ่าของออแพร์ไทยจำนวนมาก ทำให้จำนวนออแพร์ไทยที่สามารถเข้าร่วมโครงการได้น้อยลง บางคนตัดสินใจไปร่วมโครงการออแพร์ทางฝั่งประเทศยุโรปแทน ผู้ที่เป็นออแพร์ในอเมริกาอยู่ในขณะนั้นมีความเสี่ยงในการถูกปฏิเสธการต่อวีซ่าปีสอง หลายๆ เอเจนซี่แนะนำให้โฮสต์แฟมิลี่ที่ต้องการออแพร์ไทยเลือกเฉพาะคนที่อยู่ในประเทศแล้วเท่านั้น เอเจนซี่เล็กๆในไทยยกเลิกการส่งออแพร์ไทยมาอเมริกา ปัจจุบันมีเอเจนซี่ในไทย 8 บริษัท
👉 อยากเป็นออแพร์ในอเมริกา ไปเอเจนซี่ไหนดี? (อัพเดทMarch 2019)


ที่มา
https://www.nytimes.com/1986/06/11/garden/au-pair-in-america-first-group-arrives.html
https://goaupairglendale.wordpress.com/2011/04/13/the-au-pair-program-program-history/


วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562

USPS ไปรษณีย์อเมริกา

การส่งไปรษณีย์ที่อเมริกา
ไปรษณีย์ที่อเมริกามีชื่อเรียกว่า USPS ย่อมาจาก "United States Postal Service"
ด้านนอกที่ทำการไปรษณีย์ บางที่จะเป็นอาคารเดี่ยวๆ ถ้าในเขตชุมชนเมืองก็จะเป็นห้องแถวเล็กๆ
(https://s3-media4.fl.yelpcdn.com/bphoto/b2dT2fvQglbPiFPlStC-7w/o.jpg)

ด้านในที่ทำการไปรษณีย์จะแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมง สามารถเข้าไปหยิบซอง/กล่อง Priority ได้ฟรี, เอาพัสดุ/ซองจดหมายที่ต้องการส่งไปหย่อน, หรือไปซื้อสแตมป์จากตู้ Self-service ได้

ภาพรวมคร่าวๆ ของไปรษณีย์อเมริกาตั้งแต่เริ่มส่งจดหมายจนกระบวนการนำส่งถึงที่หมาย

ประเภทของการส่งจดหมายและพัสดุของ USPS แบบเป็น 4 ประเภท ดังนี้

1. ส่งแบบธรรมดาโดยใช้ซอง/กล่องของตัวเอง (สามารถหาซื้อได้ที่ไปรษณีย์ หรือซื้อเองจากข้างนอกซึ่งถูกกว่า) การส่งจดหมายและพัสดุแบบนี้คิดราคาโดยขึ้นอยู่กับขนาดและน้ำหนัก การส่งแบบนี้ไม่มีประกันของเสียหาย แต่สามารถซื้อประกันเพิ่มเติมได้
  • ถ้าส่งซองจดหมาย/พัสดุขนาดเล็ก เรียกว่า First class mail เช่น การส่งจดหมายธรรมดาไม่กี่แผ่น หรือโปสการ์ดวันคริสมาสต์ น้ำหนักไม่มาก ก็ติดสแตมป์forever 1ดวง ถ้าน้ำหนักมากขึ้นต้องติดสแตมป์มากขึ้น หรือจะไปส่งที่เคาน์เตอร์ไปรษณีย์ก็ได้ พนักงานจะคิดราคาสแตมป์ตามน้ำหนักจริง ใช้ระยะเวลาส่ง 2-3 วันถึง
https://buygoldwithbitcoin.com/wp-content/uploads/2014/12/20141205_192744.jpg
          สแตมป์ forever จะหน้าตาแบบนี้ มีหลายลายแต่ราคาเดียวกันหมด เป็นสติ๊กเกอร์ลอกแล้วแปะได้เลยไม่ต้องเอาน้ำลายลูบเหมือนสแตมป์บ้านเรา สามารถซื้อได้ที่ไปรษณีย์ หรือสั่งออนไลน์จากเว็บuspsก็ได้ ราคาดวงละ $0.35-0.70 ถ้าต้องการส่งไปต่างประเทศต้องใช้ international stamp ราคาดวงละ $1.15 👉 เช็คราคาสแตมป์USPS
https://i.ebayimg.com/00/s/NzI5WDEwMDA=/z/hUgAAOSws7RZ5ThD/$_57.jpg
  • ถ้าส่งพัสดุมีขนาดใหญ่หรือมีน้ำหนักมาก เรียกว่า USPS Retail Ground ระยะเวลาที่ใช้และราคาจะขึ้นอยู่กับขนาด น้ำหนักของพัสดุ และระยะทางที่ส่ง 
ตอนย้ายบ้านปีสอง ขนของไม่หมดเลยเอาไปส่งไปรณีย์แทน ใช้กล่องAmazonของโฮสมาreuse 23lbs หมดไป $40.88 แต่ถูกกว่าโหลดกระเป๋าขึ้นเครื่องใบที่สาม
สามารถคำนวณค่าส่งพัสดุได้โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ USPS > Mail&Ship > Calculate a price 

 2. ส่งแบบใช้ซอง/กล่องแบบเหมาจ่าย (Priority Flat rate) โดยสามารถหยิบซองจดหมาย/กล่องหน้าตาแบบนี้ได้ที่ไปรษณีย์ หรือสั่งทางเว็บUSPS ให้เจ้าหน้าที่มาส่งซอง/กล่องที่บ้านฟรี ราคาค่าส่งจะขึ้นอยู่กับขนาดซอง/กล่อง สามารถใส่ของกี่ชิ้นก็ได้ตามน้ำหนักที่ระบุไว้หน้าซอง/กล่อง ใช้ระยะเวลาส่งเพียง2วัน สามารถส่งไปต่างประเทศได้ มีประกันค่าของเสียหาย $50 ในตัว และมี tracking number สามารถติดตามได้ว่าของถึงไหนแล้ว
http://16sparrows.typepad.com/.a/6a00d834515a1f69e201901e8fbf55970b-600wi
หยิบซองและกล่องได้จากชั้นเลย
https://cdn.arstechnica.net/wp-content/uploads/2017/04/5115759015_bcb33ce9fd_b.jpg

3. ส่งแบบด่วนพิเศษ (Priority Express) ซอง/กล่องจะมีรูปร่างหน้าตาและขนาดเหมือนแบบที่สอง แต่มีแถบสีน้ำเงินแทน หยิบได้ฟรีที่ไปรษณีย์หรือสั่งทางเว็บUSPSให้มาส่งซอง/กล่องฟรีได้ ราคาเป็นแบบเหมาจ่ายเช่นกัน ใช้ระยะเวลาส่งเพียง1วัน (ถ้าไกลมากๆ อาจใช้เวลา 2 วัน) ราคาจะแพงมาก ($20กว่า) สามารถส่งไปต่างประเทศได้ มีค่าประกันของเสียหาย $100 ในตัว และมี tracking number ให้ติดตาม
https://vipparcel.com/img/services/usps_mail_ship_pmei.png

4. การส่งหนังสือ, CD, DVD จะมีการส่งพิเศษเฉพาะ เรียกว่า Media Mail ซึ่งจะราคาถูกกว่าการส่งถูกแบบ แต่ต้องใช้กล่องพัสดุเฉพาะของUSPS ซึ่งมีราคาสูงหน่อย ราคาค่าส่งและระยะเวลาที่ใช้ขึ้นอยู่กับขนาด น้ำหนักของพัสดุ และระยะทางที่ส่ง ปกติใช้เวลา 7-9 วัน

การจ่าหน้าซองจดหมาย / เลเบล (Label)
  • ซองจดหมายธรรมดา จ่าหน้าซองแบบปกติ โดยข้อมูลผู้ส่งอยู่มุมซ้ายบน ข้อมูลผู้รับตัวบรรจงอยู่ตรงกลางซองจดหมาย *รัฐใช้ตัวย่อเท่านั้น
http://952limos.com/wp-content/uploads/2018/04/formal-envelope-format-sending-a-letter-format-envelope-best-of-proper-letter-sending-format-fresh-formal-letter-envelope-format-of-sending-a-letter-format-envelope.jpg
  • ซอง/กล่อง priority และ express และกล่องพัสดุแบบ first class 
1) สามารถไปให้เจ้าหน้าที่เคาท์เตอร์ปริ้นท์เลเบลให้  
เลเบลจะมีตัวย่อแตกต่างกันตามประเภทของจดหมาย/พัสดุที่ส่ง 
เช่น P = Priority mail, E = Express mail, F หรือเลข 1 = First class mail
2) ปริ้นท์เลเบลเองจากที่บ้านโดยเข้าไปที่เว็บไซต์ USPS > Mail&Ship > Click-N-Ship
3) ใช้ตู้self-service ที่ไปรษณีย์ ตู้นี้เปรียบเสมือนเคาน์เตอร์ของไปรษณีย์ ทำได้ตั้งแต่ซื้อสแตมป์ forever, international stamp, และปริ้นท์เลเบล โดยไม่ต้องรอให้เจ้าหน้าที่ทำให้ เราชอบใช้เพราะแถวหน้าเคาเตอร์ยาว หรือเวลาต้องส่งพัสดุวันที่ไปรษณีย์ปิดทำการ ทำเสร็จก็หย่อนซองจดหมาย/พัสดุลงใส่ตู้
เครื่อง 24 hour self service kiosk
https://s3-media4.fl.yelpcdn.com/bphoto/jlfi4izoL4FyvwBuauPybA/o.jpg

วิดีโอสาธิตวิธีใช้เครื่อง 24 hour self service kiosk
  • การส่งจดหมาย/พัสดุไปต่างประเทศ ควรเขียนชื่อและที่อยู่ผู้รับเป็นภาษาไทยกำกับไปด้วย เพราะไปรษณีย์อเมริกาจะส่งต่อให้ไปรษณีย์ไทย แล้วบางครั้งเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ไทยอ่านภาษาอังกฤษไม่ออก
  • ถ้าต้องการส่งพัสดุไปต่างประเทศต้องกรอกใบ declaration ด้วย โดยใส่รายละเอียดของที่จะส่งว่ามีอะไร จำนวนกี่ชิ้น และมีมูลค่าเท่าไร
https://www.endicia.com/-/media/Images/Landing%20Pages/international-shipping-solutions/usps-priority-mail-international.ashx?la=en&hash=A223B2706F34DECD168D7D5A0F00A54404C1633A

สิ่งของที่ห้ามส่ง
  • ภายในประเทศ ได้แก่ Air bags, Ammunition, Explosives, Gasoline, Marijuana (medical or otherwise)
  • ต่างประเทศ ได้แก่ Aerosols, Air Bags, Alcoholic Beverages, Ammunition, Cigarettes, Dry Ice, Explosives, Fresh Fruits and Vegetables, Gasoline, Marijuana (medical or otherwise), Nail Polish, Perfumes (containing alcohol), Poison
เวลาทำการไปรษณีย์ (แตกต่างกันไปในแต่ละสาขา)
  • ปกติเปิด วันจันทร์-ศุกร์ 9:00-17:00 น.
  • วันเสาร์เปิดครึ่งวันเช้า - เที่ยง
  • วันอาทิตย์และวันหยุดฮอลิเดย์ต่างๆ ปิดทำการ
วิธีส่งจดหมาย/พัสดุ
         สามารถหย่อนที่ตู้ไปรษณีย์ของ usps ตู้ไปรษณีย์ในอพาร์ทเม้นท์ ในหมู่บ้าน ที่ทำการไปรษณีย์ หรือนัดหมายทางเว็บไซต์ usps ให้เจ้าหน้าที่มารับที่บ้านก็ได้

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgkBmC-7atCmwz2FbOliXv9aNB32aPSj-Q53X0jsaiSh0wT5BLJIOC9KwWcZeuy4aIMZQ92hZUEIRv_qKokEnNfeRMTLpQynsO6afvnAqpmpa0XLBnzRsNHZARaw3-fwRocqmLuwjxGnYw/s1600/Mailbox+Locator%253A+USPS+Mailbox+and+Post+Office+Locations+Across+America-790585.jpg

วิธีติดตามจดหมาย/พัสดุที่ส่ง สำหรับการส่งที่มี Tracking number
สามารถตรวจสอบสถานะของที่ส่งได้ที่ https://www.usps.com/manage/welcome.htm หรือพิมพ์ Tracking numer ส่งไปยังหมายเลข 28777


pixabay.com

บริการอื่นๆ ของ USPS
  • หากส่งจดหมายและพัสดุสำคัญที่ต้องการให้คนรับเซ็นต์ชื่อรับด้วย (ส่งกับมือ ไม่ทิ้งไว้ในตู้รับจดหมาย) สามารถซื้อ Certified mail receipt เพิ่มได้ ยกเว้นส่งแบบ Priority express ผู้รับต้องเซ็นต์ชื่อรับอยู่แล้ว ไม่ต้องซื้อเพิ่ม 👉คลิกดูรายละเอียด
https://ucrmail.ucr.edu/User_Guide/Exhibits/Images/Certified%20Mail.jpg
  • แจ้งย้ายที่อยู่ (Change of address)โดยลงทะเบียนที่อยู่ใหม่ในเว็บ USPS พร้อมเสียค่าบริการ $1 ทีนี้จดหมายและพัสดุต่างๆ ที่จ่าหน้าถึงที่อยู่เก่าเราก็จะไปส่งยังที่อยู่ใหม่อัตโนมัติ
  • นอกจากนี้ยังสามารถซื้อธนาณัติ (money order) ได้ที่ไปรษณีย์อีกด้วย โดยมีค่าธรรมเนียม $1.25ต่อใบ สำหรับธนาณัติที่มูลค่าไม่เกิน $500 และค่าธรรมเนียม $1.70ต่อใบสำหรับธนาณัติที่มีมูลค่าตั้งแต่ $500.01 - $1000 ธนาณัติของ USPS นี้ไม่มีวันหมดอายุ
https://www.usps.com/assets/images/ship/international/money-order.png
  • Postal Store ขายสแตมป์ โพสการ์ด และของที่ระลึกในโอกาสสำคัญต่างๆ
  • อื่นๆ คลิกดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ https://www.usps.com/

ทางเลือกอื่นๆ ในการส่งจดหมายและพัสดุ ได้แก่ UPS, FedEx, DHL, บริษัทShipping ทางเรือหรือเครื่องบิน, ฝากคนรับหิ้ว ซึ่งมีราคาและใช้ระยะเวลาส่งแตกต่างกันไป
  • UPS ย่อมาจาก United Parcel Service (คนละอย่างกับ USPS) เน้นบริการส่งพัสดุขนาดใหญ่ 
  • มีคนบอกว่าถ้าเป็นเอกสารสำคัญควรใช้บริการ FedEx, DHL แม้จะมีราคาแพงกว่า แต่มีสาขาอยู่ในประเทศไทย สามารถส่งตรงถึงผู้รับได้เลยโดยไม่ต้องผ่านไปรษณีย์ไทยอีกต่อหนึ่ง มีความปลอดภัยสูง
  • การส่ง Shipping ทางเรือ/เครื่องบิน ราคาถูกแต่ใช้เวลานาน เหมาะสำหรับการส่งสิ่งของปริมาณมากๆ ที่ไม่รีบด่วน และไม่เหมาะกับสิ่งของที่เกิดเชื้อราได้ง่าย(ทางเรือ) รวมทั้งต้องตรวจให้ดีว่าบริษัทที่รับส่งพัสดุนั้นน่าเชื่อถือแค่ไหน มีประกันของเสียหายให้หรือไม่ ติดตามของได้อย่างไร
  • สามารถสอบถามแหล่ง Shipping ที่น่าเชื่อถือได้จากวัดไทย ร้านอาหารไทย และชมรมคนไทยในอเมริกา
  • เปรียบเทียบ FedEx, UPS, USPS 👉https://fitsmallbusiness.com/fedex-vs-ups-vs-usps/



วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2562

ออแพร์สายเที่ยว(event) และดีลส่วนลดสำหรับกิจกรรมสนุกๆ

ว่างจากการเลี้ยงเด็ก อยู่บ้านก็เบื่อใช่มั้ย?
อยากออกไปหาอะไรทำ แต่ไม่รู้ว่าที่ไหนมีงานอะไร?
อยากดูคอนเสิร์ต เข้ายิม แข่งรถ ชมพิพิธภัณฑ์ แต่มีงบจำกัดต้องทำอย่างไร?
นี่คือทางออกสำหรับ Au Pair - Au Poor อย่างพวกเรา!!


วิธีค้นหางานอีเว้นต์และกิจกรรมต่างๆ 
1. Facebook คลิกตรงคำว่า Events ที่แถบด้านข้างก็จะปรากฏ Upcoming event ที่น่าสนใจใกล้บ้านมาให้ สามารถเลือกประเภทที่สนใจได้ และดูงานกิจกรรมล่วงหน้าได้เป็นเดือนเลย


2. Eventbrite เป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมกิจกรรม งานอีเว้นต์ต่างๆ ใกล้บ้านมาให้ในเว็บเดียว สามารถ subscribe เพื่อรับข่าวสารกิจกรรมที่ใกล้มาถึงทางอิเมล์ได้ เพื่อไม่ให้พลาดกิจกรรมฟรี

3. Festivals.com  เว็บไซต์รวบรวมงานเทศกาลเฉลิมฉลอง คอนเสิร์ตใกล้บ้าน กดsubscribe เพื่อรับอิเมล์ติดตามข่าวสารเฟสติวัลที่กำลังเกิดขึ้นได้
4. Visitorfun.com เว็บนี้จะรวบรวมแหล่งท่องเที่ยว สถานที่สำคัญของเมือง และกิจกรรมสนุกๆ ในแต่ละฤดูกาลให้
(https://ctmmediagroup.com/wp-content/uploads/2017/11/1500-twitterhero.png)
5. Local library ห้องสมุดแต่ละแห่งนอกจากจะให้บริการยืมหนังสือ ภาพยนตร์ การ์ตูนแล้ว ยังมีกิจกรรมต่างๆ ให้ผู้สนใจทุกเพศ ทุกวัยได้ร่วม เช่น นิทรรศการ ฉายภาพยนตร์ เล่นดนตรี เลคเชอร์ คลาสสอนภาษาอังกฤษและคอมพิวเตอร์ และชมรมต่างๆ เช่น ชมรมถักนิตติ้ง ชมรมหนังสือ เป็นต้น
ตัวอย่าง event จากห้องสมุดบอสตัน

6. Meetup.com เป็นเว็บไซต์ที่รวมผู้คนที่มีความสนใจเรื่องเดียวกันมารวมกันทำกิจกรรม เช่น วาดภาพ ถ่ายรูป ดูหนัง แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ปีนเขา เป็นต้น คล้ายๆกับชมรมเลย ทำให้ได้รู้จักเพื่อนต่างชาติเพิ่มขึ้นด้วย


วิธีหาตั๋วถูก ตั๋วฟรี ดีลคูปองส่วนลดต่างๆ 

1. Free Museum Pass จากห้องสมุด เช่น พิพิธภัณฑ์ศิลปะ, พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์, พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์, พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ (Aquarium), สวนสัตว์ เป็นต้น
         แค่มีบัตรห้องสมุดก็สามารถขอตั๋วเข้าชมพิพิธภัณฑ์ให้ฟรี หรือบางแห่งจะให้เป็นคูปองส่วนลด
          วิธีขอmuseum pass คือเข้าไปลงทะเบียนในเว็บไซต์ของpublic library ใกล้บ้าน หรือไปขอที่เคาน์เตอร์ห้องสมุดได้เลย

(ที่มารูป http://perthamboypubliclibrary.org/wp-content/uploads/2017/07/FRIENDS-1.png)

2. Groupon  เว็บยอดนิยมในการซื้อคูปองส่วนลดราคาถูกสำหรับกิจกรรมสนุกๆ ออกกำลังกาย ร้านอาหาร เสริมสวย คลาสเรียน ท่องเที่ยว ช้อปปิ้ง ฯลฯ

3. Livingsocial เหมือน Groupon

4. Stubhub ขายคูปองส่วนลดสำหรับตั๋วชมการแข่งกีฬา คอนเสิร์ต โชว์การแสดงต่างๆ

5. ใช้บัตรนักเรียนลดราคา, ซื้อ City Pass, หรือใช้คูปองส่วนลดจากแผ่นพับ/แผนที่ท่องเที่ยวที่แจกฟรี
สำหรับคนที่ต้องการไปเยี่ยมชมสถานที่ที่มีชื่อเสียงของเมืองอย่างน้อย 4 แห่งขึ้นไป การซื้อ City Pass อาจจะถูกกว่ากว่าซื้อตั๋วแต่ละแห่งแยก
(https://www.georgiaaquarium.org/wp-content/uploads/2018/10/citypass-2.jpg)

ตัวอย่างแผ่นพับแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในเมือง
หยิบได้ฟรีจาก Information center, Visitor center, Welcome center

6. สมัครสมาชิก
  • สำหรับคอหนังที่ชอบไปโรงภาพยนตร์บ่อยๆ แนะนำซื้อ MoviePass สามารถดูหนังได้วันละเรื่อง จะดูทุกวันก็ได้จ่ายแค่ $9.95/เดือน (ยกเว้นระบบ 3D จะต้องเสียเงินเพิ่มประมาณ $2-4) ซึ่งถือว่าคุ้มมาก เพราะปกติตั๋วหนังก็ราคาใบละ $11.50 แล้ว
(https://fm.cnbc.com/applications/cnbc.com/resources/img/editorial/2018/02/09/105000176-AP_180325763193090-1.1910x1000.jpg)
วิธีการสมัคร : เข้าไปดาวน์โหลดแอพ Movie Pass และลงทะเบียนตามขั้นตอน หลังจากนั้นรอบัตรส่งมาที่บ้าน พอได้รับบัตรก็เปิดใช้งานได้เลย ค่าบริการจะเริ่มคิดตั้งแต่วันที่เราได้รับบัตร
วิธีใช้ : ในแอพจะมีบอกว่าเราไปดูที่โรงภาพยนตร์ไหน และรอบไหนได้บ้าง เมื่อเลือกได้แล้วก็ให้ไปกดCheck in ในแอพหน้าเคาน์เตอร์ที่โรงภาพยนตร์นั้น แล้วเงินจากบัตรเดบิต/เครดิตที่เราผูกไว้จะเข้ามาในบัตรMovie Pass แล้วจึงไปซื้อตั๋วชมภาพยนตร์ที่ตู้ซื้อตั๋ว โดยใช้บัตร Movie Pass จ่าย
หมายเหตุ
* ถ้าเรากด Check in หนังเรื่องนึงไปแล้วละเราเปลี่ยนใจ ต้องรอ 30 นาทีถึงจะ Check in เรื่องใหม่ได้
* ถ้า Check in ไปแล้วแต่ที่นั่งเต็ม สามารถกดยกเลิกแล้ว Check in ใหม่ได้ทันที ไม่ต้องรอ
* บัตรนี้ซื้อได้เฉพาะที่นั่งของตนเอง
* ใช้คู่กับแอพ Fandango ด้วยเพื่อดูว่าหนังรอบที่เราจะไปดูเต็มหรือไม่ เนื่องจากแอพ Moviepass บอกแค่เวลาหนังแต่ไม่สามารถเช็คได้ว่าที่นั่งเต็มไหม
  • สำหรับสายรักธรรมชาติ ปีนเขาเข้าอุทยานแห่งชาติ (National Park) ถ้าหากไปเกิน 3 แห่งต่อปี ควรซื้อบัตรแบบ Annual Pass ราคา $80 จะประหยัดกว่า เพราะปกติค่าเข้า 1 แห่งราคา $35 ต่อรถ 1 คันแล้ว หารกับเพื่อนยิ่งประหยัดเลย
(https://store.usgs.gov/s3fs-public/Annual%20Front%20copy.jpg) 
  • สายรักสุขภาพ สมัครสมาชิก YMCA โดยนำหลักฐานการเข้าร่วมโครงการออแพร์ไปยื่น จะได้รับส่วนลดค่าสมาชิก 40% (ราคาแตกต่างกันไปในแต่ละเมือง) หรือสมัครสมาชิก Planet fitness จ่ายแค่ $10/เดือน (ยังไม่รวมค่าแรกเข้า) เป็นต้น





บทความที่เกี่ยวข้อง