วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2563

ประสบการณ์การเป็นออแพร์กับโฮสต์เปอร์เซีย

สวัสดีค่ะ หายหน้ากันไปนานเลย แบบว่าจบโครงการออแพร์ในอเมริกามาจะครบ 1 ปีแล้ว เดี่ยวนี้โลกก็หมุนไปเร็วมาก จนไม่รู้จะเขียนอะไรเกี่ยวกับออแพร์แล้ว เพราะข้อมูลไม่อัพเดท

ตามสัญญา วันนี้จะมาแชร์ประสบการณ์การเป็นออแพร์กับโฮสต์เปอร์เซีย 2 ปีเต็ม
โดยปีแรก โฮสต์พ่อเป็นชาวเปอร์เซียเกิดที่อิหร่าน แต่ไปเติบโตที่แคนาดา และย้ายมาอยู่อเมริกาตอนโตแล้ว ส่วนโฮสต์แม่เป็นยุโรปค่ะ

ส่วนปีที่สอง โฮสต์อีกบ้าน เป็นชาวเปอร์เซียเกิดที่อิหร่านทั้งคู่ คนแม่ย้ายไปอยู่แคนาดาตั้งแต่เด็กๆเลย และย้ายมาอเมริกาตอนโตแล้ว ส่วนคนพ่อคือเกิดและเติบโตที่อิหร่านเลย แล้วค่อยมาอยู่อเมริกาตอนได้ทุนแลกเปลี่ยนเรียนต่อแพทย์เฉพาะทาง


ก่อนอื่นมาทำความรู้จัก "ชาวเปอร์เซีย" กันก่อน

ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต ชาวเปอร์เซีย ปัจจุบันคือชาวอิหร่านเท่านั้น แต่ถ้านับเอาอาณาจักรเปอร์เซีย ยุคโบราณ นอกจากพื้นที่ตุรกี อียิปต์แล้ว ยังกินอาณาเขตเข้าไปในยุโรป อีกนิดหน่อย

พูดให้ง่ายๆ เห็นภาพชัดเจน ชาวเปอร์เซียก็คือแขกขาวนั่นเอง (ในสมัยโบราณจะใช้คำว่า แขกเทศ) ส่วนใหญ่จะมีผิวขาว หรือคล้ำเล็กน้อยคล้ายๆ ผิวคนไทย หน้าตาคมเข้ม จมูกโด่ง ที่สำคัญผมดก ขนดกมาก ขนาดโฮสต์คิดส์ที่เราเลี้ยงเกิดมาก็ผมเต็มหัว ขนคิ้วหนาเตอะ แล้วส่วนใหญ่ชาวเปอร์เซียจะมียีนผมหยัก ไม่ค่อยเจอใครผมตรง แล้วก็มีบางคนผมสีทอง หน้าตาไปทางคนยุโรป อย่างโฮสต์แม่บ้านที่สองของเรา (เพราะอย่างที่บอกไปว่า เปอร์เซียโบราณมีอาณาเขตครอบคลุมไปถึงยุโรปด้วย ก็เลยได้ยีนผมสีทองมา แต่บางคนก็จะหน้าตาออกไปแนวแขกอินเดีย


ชาวเปอร์เซีย ผู้หญิงก็สวย ผู้ชายก็หล่อ ยืมรูปมาจากละครบุพเพสันนิวาส และเว็บ https://th.phoneky.com/wallpapers/

ด้วยความเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองในอดีต จึงมีทั้งภาษา และขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นของตนเอง โดยชาวเปอร์เซียจะพูดภาษาฟาร์ซี (Farsi) ไม่ใช่ภาษาเปอร์เซียนนะ หลังจากที่อยู่บ้านโฮสต์เปอร์เซียมา 2 ปี ได้ภาษาฟาร์ซีมาไม่กี่คำ เช่นคำว่า Salaam (อ่านว่า ซาลอม ลากเสียงยาวหน่อย) แปลว่า สวัสดี เวลาทักทายกันก็จะจับมือหรือสวมกอดกัน พร้อมกับชนแก้มกันขวา-ซ้าย บางครอบครัวก็ชนแก้มกันสามรอบ ขวา-ซ้าย-ขวา

คำว่าขอบคุณ คือ Mersi (อ่านว่า เมอซี/ เมิสซี) 

ส่วนคำว่า Joon (จูน) แปลว่าที่รัก ใช้ต่อท้ายชื่อคน


และก็มีตัวอักษรเป็นของตัวเองด้วย โดยจะมีลักษณะเป็นเส้นและจุด คล้ายตัวอักษรในภาษาอาหรับ
แต่โฮสต์บอกว่าคนอิหร่านทุกคนไม่ใช่ชาวเปอร์เซียนะ เพราะมีทั้งชาวอาร์เมเนีย ชาวอาหรับ ฯลฯ หลายประเภทมาก และภาษา/ตัวอักษรก็แตกต่างกันไป อาจจะมีบางคำที่เหมือนกัน แต่จังหวะการพูด ชาวเปอร์เซียจะชอบพูดแบบลากคำ (เสียงยาน) กว่า ซอฟต์กว่า (อันนี้โฮสต์บอกมา เราเองยังแยกไม่ออก)


ส่วนทางศาสนา ชาวเปอร์เซียจะนับถือลัทธิ โซโรอัสเตอร์ หรืออิสลาม โซโรอัสเตอร์ โดยจะเน้นความเรียบง่าย และบูชาไฟ กินหมูได้จ้า

มีวันปีใหม่เป็นของตนเอง โดยในแต่ละปีจะแตกต่างกันไปไม่ตรงวัน เพราะไม่ได้ใช้ปฏิทินสุริยคติเหมือนปฏิทินสากล แต่จะอยู่ช่วงประมาณ 20 หรือ 21 มีนาคม และมีการนับศักราชของตนเอง โดยจะเรียกวันปีใหม่ว่า โนรูส (Nowruz) โดย No มีความหมายว่า ใหม่ และ rouz แปลว่า วัน เป็นงานเฉลิมฉลองวันแรก
ของเดือนแรกในปฏิทินอิหร่าน และตรงกับวันวสันตวิษุวัต (ฤดูฝน) พอดี 

โดยวันปีใหม่เปอร์เซียนี้ ถือเป็นสัญลักษณ์ของชีวิตใหม่ การเริ่มต้นใหม่ และการถือกำเนิดใหม่ของธรรมชาติ โดยในคืนก่อนวันปีใหม่จะมีการตั้งโต๊ะบูชา (คล้ายเทศกาลสารทไทย สารทจีน) โดยมีของมงคลที่มีความหมายวางบนโต๊ะ และจุดเทียนตามฤกษ์ โดยดูแลไม่ให้เทียนดับ จนเข้าสู้วันปีใหม่

https://media.npr.org/assets/img/2016/03/20/nowruz-turmericsaffron_new-79a80147865e225587877aee6ddb7f82f8b64ef1-s1600-c85.jpg
บนโต๊ะจะมีของที่มีความหมายมงคล เช่น หญ้า หมายถึงความเจริญงอกงาม ชีวิตใหม่, ไข่ หมายถึง การถือกำเนิด (เหมือนเทศกาลอีสเตอร์), ปลาทองในโหลแก้ว เปรียบเสมือน ชีวิต, กระจก สะท้อนถึงอดีต และสิ่งชั่วร้าย, ขนมหวานของชาวเปอร์เซียที่ทำจากน้ำตาลและถั่ว, แอ้ปเปิ้ล, และบางบ้านก็จะวางเหรียญและเงินไว้ด้วย เพื่อขอให้ปีใหม่ร่ำรวย เป็นต้น

ที่ตลกคือ โฮสต์เล่าว่ามีปีนึงซื้อโหลใส่ปลาทองมาเพื่อวันปีใหม่ แต่โหลเตี้ยไป หลังจากปีใหม่ไม่นานปลาทองก็กระโดดออกจากโหลมาตาย ปีนี้เลยต้องซื้อปลาทองมาใหม่ 

ไฮไลท์ของวันปีใหม่คือ มีการแจกแต๊ะเอีย โดยคนที่อาวุโสที่สุดในบ้าน นั่นคือโฮสต์พ่อนั่นเอง ชอบจังเทศกาลนี้ 5555  การเฉลิมฉลองยังไม่จบแค่นี้ เมื่อถึงวันที่ 13 ของปีใหม่เปอร์เซีย จะเป็นวันออกจากบ้าน คือทุกคนจะออกจากบ้านเพื่อไปรวมตัวกับเพื่อนๆ และครอบครัว โดยจะพบว่าในสวนสาธารณะเต็มไปด้วยชาวเปอร์เซียมาตั้งแคมป์ ปิ้งบาร์บีคิว ทานอาหารและร้องเพลง เต้นรำร่วมกัน และจะนำหญ้าที่ตั้งไว้บนโต๊ะบูชาไปโยนทิ้งในแหล่งน้ำธรรมชาติด้วย (ห้ามเก็บไว้) 


เรื่องอาหารการกิน 

ชาวเปอร์เซียรับประทานข้าวเป็นหลัก ส่วนใหญ่จะนิยมทานข้าวBasmati ของอินเดีย คือเป็นเม็ดรีๆยาวๆ บางครั้งก็มีการใส่ใบdrill ธัญพืชต่างๆ เช่น ถั่ว ลูกเกด และเครื่องเทศลงไป เช่น Saffron ทำให้ข้าวมีสีสันน่ารับประทาน โดยจะทานคู่กับKebab, แกงหรือสตูว์ (ซึ่งมีลักษณะคล้ายแกงอินเดีย คือมีส่วนผสมของถั่ว แต่ไม่มีกลิ่นฉุน และไม่เผ็ด), สลัดที่โรยเฟต้าชีส, และโยเกิร์ต (เป็นโยเกิร์ตรสเค็ม ไม่ใช่โยเกิร์ตผลไม้) และจะนิยมรับประทานเนื้อแกะ ชีวิตนี้ก็เพิ่งเคยกินโยเกิร์ตกับข้าวเป็นครั้งแรกนี่แหละ บอกเลยว่าอาหารเปอร์เซียอร่อยมากนะ แต่ไม่เผ็ดเลย

https://irandoostan.com/dostcont/uploads/2017/11/Travel-to-Iran-Iran-tours-Gheymeh-Nesar.jpg


https://www.destinationiran.com/wp-content/uploads/2011/01/Iranian-Food-Restaurants.jpg

วิธีการหุงข้าวของชาวเปอร์เซียก็จะมีวิธีเฉพาะ คล้ายการ "ย่างข้าว" โดยทาน้ำมันบางๆ ไว้ที่ก้อนหม้อและหุงจนข้าวก้นหม้อกรอบ บางครั้งก็ไหม้เกรียมไปเลย กลายเป็น Crispy rice  บางครั้งก็จะฝานมันฝรั่งบางๆ วางลงไปที่ก้อนหม้อก่อนใส่ข้าวลงไปหุงด้วย เรียกว่า Tahdig หรือบางครั้งก็ใช้ขนมปังเปอร์เซียนใส่ลงไปแทนมันฝรั่ง อร่อยดี เป็นของโปรดของเราเลย

https://blogger.googleusercontent.com/img/proxy/AVvXsEh-KEXLDDClwWUy2IBJONZGm7moQYAbgYe5aS_BsgPJsr4QtwFEvdM7T5iVQfoR2ucUH_YI6JvzfpnEQoX-ocncFwYn6v44u6JqlN1k8HvBZy8FnARtIL041BvF0Pg3HhVI4zmnuhTHA4Z8sICah6qD4lLaR6A5Xqs0i5hQONuT0A3FJrYZP4lKU0coSkJTKv4oKwQ9CSlb=


ที่เราชอบกินอีกอย่างหนึ่งคือ ขนมปังของชาวเปอร์เซีย อร่อยมาก ทำมาจากข้าวบาร์เล่ย์ มีหลายแบบ แบบโรยงา แบบบางกรอบ แบบคล้ายๆ แป้งตอร์ติญญ่า 

https://www.tappersia.com/wp-content/uploads/2020/01/nan55.jpg


เคยไปที่Persian market เห็นเค้าอบขนมปังร้อนๆ แผ่นเบอเร่อ ทุกคนจะซื้อแล้วมาตัดๆ เป็นชิ้นเท่าฝ่ามือ และแช่ตู้เย็นเก็บไว้ บางทีก็จะกินคู่กับข้าวและเคบับ หรือว่าบางทีก็กินเป็นอาหารเช้า โดยทาเฟต้าชีสและราดน้ำผึ้ง อร่อยมากๆ 

https://c8.alamy.com/comp/K6KG6A/fars-province-shiraz-iran-18-april-2017-shop-at-the-bakery-the-baker-K6KG6A.jpg


https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn%3AANd9GcT4e8_RIieh8QP_vlfGdnzLNegR-D9c8tQb-WSOUCefpksurfTi&usqp=CAU

ส่วนขนมหวานของชาวเปอร์เซีย วัตถุดิบส่วนใหญ่ทำมาจากถั่วชนิดต่างๆ โดยเฉพาะพิตาชิโอ้ ไม่ใส่แป้งเลย มีรสชาติหวานๆ ถือว่าเป็นขนมที่เฮลตี้ต่อสุขภาพ แต่เราไม่ค่อยชอบเท่าไร กินแล้วไม่ละมุน หวานปะแล่มๆ มีอันที่เราชอบอยู่ไม่กี่อย่าง แต่จำชื่อไม่ได้แล้ว และทานคู่กับน้ำชาของเปอร์เซีย ซึ่งหอมมาก และไม่หวานเลย ไม่มีคาเฟอีนด้วย กินแล้วบำรุงสุขภาพและผ่อนคลาย

https://i.pinimg.com/originals/f1/6e/bb/f16ebb0f159fbf4a3ae6a54fbf167aef.jpg


นิสัยเฮลตี้อีกอย่างของชาวเปอร์เซียคือ ชอบทานผลไม้มาก ทุกๆ บ้านจะมีตะกร้าใส่ผลไม้สด พร้อมมีดเล่มเล็กและจานวางไว้ เวลาแขกมาบ้านก็จะแจกมีดกับจานให้คนละชุด และก็ปอกผลไม้กินกันเองเลย กินทีเยอะด้วย นอกจากผลไม้ ก็จะมีแตงกวาวางไว้ในตะกร้าให้ด้วย กัดกินกันสดๆเลย


สำหรับวัฒนธรรมที่เรารู้สึกแปลกๆ ไม่เหมือนใครคือเวลาเชิญแขกชาวเปอร์เซียมารับประทานอาหารร่วมกันที่บ้าน หลังทานอาหารเสร็จผู้ชายก็จะแยกกันไปคุยเม้าท์มอยกับผู้ชาย ส่วนผู้หญิงก็จะจับกลุ่มเม้าท์มอยกับผู้หญิง 

มาถึงเรื่องที่ทุกคนอยากรู้ ลักษณะนิสัยของชาวเปอร์เซีย


** ขอบอกก่อนว่าบทความนี้ไม่ได้มีเจตนาเขียนเพื่อสร้างความแตกแยก หรือดูหมิ่น หรือracist ใครค่ะ แต่เขียนจากความรู้สึกและประสบการณ์ของเราตลอด2 ปีในอเมริกาเองเพียงฝ่ายเดียว บางเรื่องอาจจะไม่จริงสำหรับใครบางคน และชาวเปอร์เซียทุกคนไม่ได้เป็นอย่างที่เราเจอทุกคนค่ะ อาจมีการใช้คำที่ไม่สุภาพแต่เป็นไปเพียงเพื่ออรรถรสและให้เห็นภาพชัดเจนเท่านั้นค่ะ**

ลักษณะนิสัยของโฮสต์เปอร์เซียที่เราได้พบเจอ เราว่าคล้ายๆ คนเอเชีย

1. จะเป็นพวกชอบพูดคุย ช่างซักช่างถาม 

2. ชอบเต้นรำ ชอบเสียงดนตรี ทั้งผู้หญิงผู้ชาย

3. สังคมผู้ชายเป็นใหญ่ ผู้ชายเปอร์เซียไม่ค่อยทำอะไร มีหน้าที่ทำงานหาเงินดูแลครอบครัว แต่ก็แล้วแต่คนด้วย เพราะบางคนก็ทำงานบ้าน ทำอาหารได้ แต่บางคนไม่แตะงานบ้านเลย และเจ้าอารมณ์มากๆ เวลาทะเลาะกันชอบตะคอกใส่เสียงดังลั่นบ้าน ไม่ค่อยจะขอโทษก่อน ทิฏฐิสูง

4. รักครอบครัวตัวเองมาก ถึงแม้จะบอกว่าtreats au pair like part of family แต่แตกต่างจากโฮสต์ปู่ย่า ตายายมาก ที่จะเอ็นดูเรา รักเรามาก อารมณ์เหมือนเมืองไทย ที่คนแก่มักจะเอ็นดูเด็ก ยิ่งถ้ามีสัมมาคารวะ ดูแลหลานเค้าดียิ่งรักตายเลย เวลาอยู่กับโฮสต์ปู่ย่าตายายก็จะมีอาหารอร่อยๆ ให้ทานเหลือเฟือ ขนาดเคี้ยวตุ้ยๆ อยู่ในปากก็ยังจะบ่นว่าเราไม่ยอมกินเลย ตักใส่จานเราแทบกินไม่ทัน


5. ค่อนข้างขี้เหนียว ถ้าเทียบกับฝรั่งที่มีค่าเงินสูงกว่า อันนี้เราวิเคราะห์เอง เนื่องจากประเทศอิหร่านประสบปัญหาทางการเมืองและเศรษฐกิจ มีการคอรัปชั่นและสงครามกลางเมือง ครอบครัวที่มีอันจะกินก็พากันอพยพออกนอกประเทศ ส่วนใหญ่ก็อพยพไปแคนาดากัน ค่าเงินของอิหร่าน 1 rial = $0.000024 อารมณ์เหมือนเงินบาทไทยVSเงินกีบลาว ถึงแม้ว่าครอบครัวโฮสต์จะรวยและไปเติบโตที่แคนาดา แต่ช่วงที่อพยพก็มีความเป็นอยู่ที่ยากลำบากอยู่บ้าง ทั้งการปรับตัวด้านภาษา ความเป็นอยู่ และชาวเปอร์เซียชอบอยู่ด้วยกันเองเป็นสังคมคนเปอร์เซีย การเลี้ยงดูวัฒนธรรมธรรมเนียมต่างๆ ก็ได้รับการถ่ายทอดมาอย่างเข้มข้น

จบไปแล้วกับเรื่องราวประสบการณ์การเป็นออแพร์ให้โฮสต์เปอร์เซีย ซึ่งถือว่าเป็นประสบการณ์ที่มีค่ามาก ช่วยให้เราเปิดโลกมากขึ้น ได้รู้จักชาวเปอร์เซีย ได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ได้ลองทานอาหารรสชาติใหม่ๆ ที่ถ้าอยู่เมืองไทยคงไม่รู้จัก


แหล่งอ้างอิงข้อมูล http://anyflip.com/codsc/mdjg/basic/51-66