วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2562

2018 Paying Tax for Au Pair (Step by step)



ภาษีของที่อเมริกามี 2 ประเภทคือ Federal Income Tax และ State Income Tax 
1. Federal Tax คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ที่ทำงานอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาทุกคน
2. State Tax คือ ภาษีที่แต่ละรัฐเรียกเก็บ โดยแต่ละรัฐมีรายละเอียดไม่เหมือนกัน บางรัฐก็ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่าย
          👉 ดูเรื่อง State Income Tax

การจ่าย Federal Tax
วิธีนี้สำหรับออแพร์ที่เป็น Nonresident Aliens เท่านั้น ถ้าใครเคยมาอยู่อเมริกาในฐานะนักเรียน ครูอาจารย์ นักวิจัย หรือtrainee ด้วยวีซ่า F, J, M, หรือ Q nonimmigrant status มาก่อน จะถือว่าตอนนี้ออแพร์คนนั้นเป็น Resident alien จะมีรายละเอียดการคิดภาษีที่แตกต่างออกไป (โปรดศึกษาในเว็บ IRS)

👉ยื่นภาษีเมื่อไร ประมาณเดือนมกราคม - เมษายนของทุกปี ออแพร์ทุกคนต้องยื่นภาษีนะ ปีนี้ Deadline คือ April 15th, 2019
👉แบบฟอร์มที่ต้องใช้ แบบฟอร์ม 1040NR-EZ
ดาวน์โหลด แบบฟอร์ม 1040NR-EZ ปี2018 https://www.irs.gov/pub/irs-pdf/f1040nre.pdf
👉ขั้นตอนการจ่ายภาษี 
👉 วิธีกรอกแบบฟอร์ม (มี 2 หน้า) จะปริ้นท์ออกมาเขียน หรือจะพิมพ์ใส่ pdf แล้วค่อยปริ้นท์ออกมา เซ็นต์ชื่อก่อนส่งก็ได้ (คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่)

คำอธิบายแต่ละข้อ
ข้อ 4, 5, 6, 8, 9 คือ ภาษีที่ขอคืนได้ เครดิตภาษี ทุนการศึกษา รายได้ที่ได้รับการยกเว้น และสิ่งลดหย่อนภาษี เช่น การบริจาคเงินเพื่อการกุศล เป็นต้น (ซึ่งไม่เกี่ยวกับออแพร์ จึงเติม 0)
ข้อ 11 คือภาษีที่ขอคืนได้สำหรับคนที่จ่าย state tax เท่านั้น ถ้าไม่มีก็ใส่ 0 (ดูรายละเอียดเรื่อง state tax ของแต่ละรัฐเพิ่มเติม)
ข้อ 16 ออแพร์ไม่มี social security tax และ medicare tax (จึงเติม 0)
ข้อ 18-21 คือ หักภาษี ณ ที่จ่าย (ซึ่งออแพร์ไม่มี รับเงินเต็มจำนวน จึงเติม 0 ต่างจากพวก work&travel นะ)
ข้อ 22-24 สืบเนื่องมาจากการหักภาษี ณ ที่จ่าย คือถ้าหักเกินภาษีที่ต้องจ่ายจริง ก็สามารถขอคืนเงินได้ (ไม่เกี่ยวกับออแพร์ จึงเติม 0)
ข้อ 26 เกี่ยวกับค่าปรับหรือการค้างชำระ (ซึ่งเราไม่มี เพราะเราจ่ายตรงเวลา จึงเติม 0)


ข้อ G สามารถเข้าไปเช็คในเว็บ I-94 ได้ จะมีบันทึกการเข้าออกอเมริกาไว้ทั้งหมด
ข้อ H ใช้โปรแกรมคำนวณ เช่น https://www.timeanddate.com/date/duration.html ก็ได้นะว่าอยู่อเมริกามาแล้วกี่วัน จะได้ไม่ต้องนับ แต่อย่าลืมหักลบวันที่เดินทางออกนอกประเทศด้วยนะ เช่น ไปต่างประเทศกับโฮสต์ หรือเทคเวเคชั่นกลับไทย ถ้าไม่มีให้ใส่ 0

* ในเว็บ IRS บอกว่า ออแพร์ไม่จำเป็นต้องแนบแบบฟอร์ม W-2
* ทำเสร็จ Copy แบบฟอร์มเก็บไว้ด้วยนะ จะถ่ายรูปหรือเซฟเป็นไฟล์เก็บไว้ ตามแต่สะดวก
💗ข้อ 25 คือจำนวนเงินที่ต้องจ่ายจริง

👉คำนวณอย่างไร 
การคำนวณภาษี
1. นับจำนวน "สัปดาห์" ที่เราทำงานแล้วได้เงินในปีปฏิทินที่แล้ว (นับถึงธันวาคมปี 2018) คูณด้วย จำนวนเงินนั้นที่ได้รับแต่ละสัปดาห์ บางคนอาจคูณด้วย $195.75 (ตามกฏ), $200 (โฮสต์ปัดเศษขึ้นให้) หรือ $250 (Extraordinary Au Pair) ใครอยู่เต็มปีก็คูณด้วย 52 สัปดาห์
* ไม่รวมโอที เอ้กตร้า เงินจากการทำงานล่วงเวลา เพราะกฏออแพร์ห้ามทำเกิน 45 ชม./สัปดาห์ ที่เกินๆ  ก็ไม่ต้องมาคิด
* ไม่รวม เงินโบนัส เงินรางวัล เงินของขวัญต่าง ๆ
* ไม่นับสัปดาห์ที่อยู่ Training school เพราะสัปดาห์นั้นไม่ได้เงิน ถ้าใครได้เงินก็นับ* คนที่มีช่วงเวลารีแมชแล้วระหว่างนั้นไม่ได้เงิน ก็ไม่ต้องนับสัปดาห์นั้น
* แต่รวมเวเคชั่นนะ เพราะเวเคชั่นได้เงิน
* สามารถปัดเป็นตัวเลขกลมๆ ได้ โดยถ้าเศษน้อยกว่า0.5ปัดลง ถ้า0.5ขึ้นไปปัดเป็น 1
2. เมื่อคำนวณได้แล้ว ให้นำผลลัพธ์ไปเทียบกับตาราง ดาวน์โหลดตารางที่ https://www.irs.gov/pub/irs-pdf/i1040nre.pdf หน้า 22 >>>> จะได้จำนวนเงินที่ต้องจ่าย
* เนื่องจากปีนี้กฏหมายใหม่ออกมาว่า ยกเลิกค่าลดหย่อนภาษีของออแพร์ (Personal deduction) มีผลให้ออแพร์ทุกคนต้องจ่ายภาษีไม่ว่าจะมาอยู่ที่นี่นานแค่ไหน โดยจ่ายขั้นต่ำ 10% ของรายได้ในปี 2018 มากน้อยไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับว่ามาถึงอเมริกาเดือนไหน 
ตัวอย่าง สมมุติมาถึง Training school วันที่ 13 ส.ค. 2018 แต่สัปดาห์นี้ไม่ได้เงิน เริ่มทำงานได้เงินอาทิตย์ถัดไป ก็นับไปเรื่อยๆ จนถึง ธันวาคม 2018 ได้ 19 สัปดาห์


19 x 195.75 = 3719.25
เอา 3719.25 ไปหาในตาราง = ต้องจ่าย $373

* มีคนถามหลายคนว่า สมมุติคำนวณได้ $3300 จะต้องจ่ายบรรทัดไหน
ตอบ บรรทัดล่าง ($333) นะ
เพราะบรรทัดบนสำหรับ รายได้อย่างน้อย $3250 แต่ไม่ถึง $3300
บรรทัดล่างสำหรับรายได้อย่างน้อย $3300 แต่ไม่ถึง $3350 


👉จ่ายอย่างไร จริงๆ สามารถจ่ายหลายวิธี แต่จะแนะนำวิธีที่คนส่วนใหญ่ทำกัน ได้แก่
1. จ่ายออนไลน์ ทางเว็บไซต์ หรือดาวน์โหลดแอพ IRS2Go จริงๆ IRS แนะนำให้จ่ายออนไลน์ เพราะสะดวกรวดเร็ว แต่มีเพื่อนออแพร์บางคนบอกว่าจ่ายออนไลน์แล้วมีปัญหาตัดเงินช้าทำให้เลยกำหนดวันยื่นภาษี สุดท้ายต้องเสียค่าปรับ เลยคิดว่าวิธีนี้เหมาะกับออแพร์ที่จบโครงการกลับประเทศไปแล้วแต่ต้องการจ่ายย้อนหลัง

(ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=diXukJdE0To&t=79s)

2. จ่ายทางไปรษณีย์ โดยใช้ Check หรือ Money Order (ห้ามส่งเงินสด)
วิธีกรอก Check หรือ Money Order ควรใส่ข้อมูลดังต่อไปนี้ให้ครบ
  • Check : วิธีกรอกก็คล้ายๆ Money Order เราไม่เคยเขียนเพราะเราไม่มีCheck แต่คิดว่าประมาณนี้
* การจ่ายด้วย Check ควรบันทึก Statement ของเดือนที่เงินที่เราจ่ายภาษีถูกหักออกไปเก็บไว้ด้วยนะ
  • Money Order หรือธนาณัติ : ซื้อได้ที่ Walmart < Publix < USPS (ที่ทำการไปรษณีย์) < ธนาคาร โดยจะมีค่าธรรมเนียม $1-2 เรียงตามลำดับราคาถูกที่สุดให้แล้ว ธนาคารก็แพงหน่อย $5-10
วิธีซื้อ Money Order 
ไปที่ Walmart/Publix/ ตรง Customer service หรือเคาท์เตอร์ของไปรษณีย์/ธนาคาร แล้วบอกพนักงานว่าขอซื้อ Money Order เขาจะถามว่าซื้อเท่าไร (ตามจำนวนที่เราต้องจ่ายภาษี) เสร็จแล้วเค้าอาจจะอธิบายให้ฟังว่าต้องกรอกอย่างไร
* Money Order ใบนึงสูงสุดแค่ $500 หรือ $1000 ถ้าจ่ายภาษีเยอะก็ต้องซื้อหลายใบหน่อย รวมกันให้ได้เท่าจำนวนเงินที่ต้องจ่ายภาษี

การกรอก Money Order 
กรอกตามตัวอย่างนี้ เสร็จฉีก Receipt เก็บไว้เป็นหลักฐาน พร้อมใบเสร็จจ่ายเงิน เอาเฉพาะส่วน Money order ใส่ซองพร้อมฟอร์มภาษีที่กรอกเสร็จแล้ว



👉การส่งเอกสารและmoney order/check
อย่าลืมเซ็นต์ชื่อ และลงวันที่ในแบบฟอร์มก่อนส่ง (The form is not valid without your signature)
1. สำหรับคนที่จ่ายออนไลน์  ส่งเฉพาะแบบฟอร์ม 1040NR-EZ ไปที่ Department of the Treasury Internal Revenue Service Austin, TX 73301-0215 U.S.A.

2. คนที่จ่ายด้วย Check / Money Order ส่งแบบฟอร์ม 1040NR-EZ และ Check หรือ Money Order ไปที่ Internal Revenue Service P.O. Box 1303 Charlotte, NC 28201-1303 U.S.A.

การส่งจะใส่ซองธรรมดา ติดสแตมป์ forever 1 ดวง หรือจะส่งแบบPriority ก็จะราคาแพงกว่าหน่อย แต่มี Tracking Number ให้ติดตามได้ และมีประกันของหายให้ $50

👉ขอใบรับรองจ่ายภาษี (Get Transcript)
ส่งเอกสารเสร็จเรียบร้อย เขาจะไม่มีใบเสร็จหรืออะไรรับรองส่งมาให้ ถ้าเราไม่ขอ
วิธีขอ หลังส่งเอกสารไปประมาณ 1-2 เดือนแล้ว ให้เข้าไปที่ https://www.irs.gov/individuals/get-transcript สามารถเลือกได้ว่าจะขอให้เขาส่งมาทางอิเมล์ หรือทางไปรษณีย์ หรือโทรไปที่เบอร์ 800-908-9946 ทำตามขั้นตอนเสียงแล้วก็จะได้ทรานสคริปต์ส่งมาที่บ้าน
👉 วิดีโอสาธิตวิธีขอใบรับรองการจ่ายภาษี



👉ถ้าไม่จ่าย เกิดอะไรขึ้น
จะมีผลต่อการกลับมาอเมริกา การ apply for a U.S. visa ในอนาคต รวมถึงการเปลี่ยนสถานะ แล้วก็จะต้องจ่ายค่าปรับอีกด้วย (ค่าปรับคิดเป็น% คูณจำนวนเดือนที่ค้างชำระ)

👉ถ้าอยากผ่อนจ่าย ทำอย่างไร
เข้าเว็บ https://www.irs.gov/payments/online-payment-agreement-application เพื่อทำ Payment plan
ซึ่งให้เลือกแบบระยะสั้น (ไม่เกิน 120 วัน) หรือระยะยาว (เกิน 120 วัน) โดยจ่ายผ่านบัตรเครดิต/เดบิต หรือตัดบัญชีธนาคาร ซึ่งอาจมีค่าธรรมเนียม


👉มีข้อสงสัย ต้องการความช่วยเหลือ
  • ถาม LCC, โฮสต์
  • คุยกับ tax advisor or service เช่น HRBlock, CompleteTax, RTTAX, Taxback, taxact (พวกบริษัทรับทำภาษี ซึ่งมีค่าธรรมเนียมตั้งแต่ $50-150 แล้วต้องเลือกดีๆ นะ ระวังscam หลอกเอาข้อมูล)
  • โปรแกรมคำนวณ Tax ฟรี
  • ที่ห้องสมุดจะมีจัด FREE tax counseling/ tax assistance โดยมีอาสาสมัครผู้ที่ทำงานหรือเรียนด้านกฏหมายมาให้คำปรึกษาเรื่องการเสียภาษีให้ฟรี ประมาณช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ - กลางเมษายนของทุกปี ควรเตรียมเอกสารที่สำคัญไปให้พร้อม เช่น แบบฟอร์มการเสียภาษี, photo ID (driver's license, passport), Social security cards เป็นต้น
(ตัวอย่างจากห้องสมุดเคมบริดจ์)

2 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณมากๆค่ะ ข้อมูลมีประโยชน์มากๆ มีข้อสงสัยค่ะ กรณีที่เราจ่ายออนไลน์ เราสามารถจ่ายเงินก่อน แล้วค่อยส่งเอกสารพร้อมสำเนาการจ่ายตามไปใช่มั้ยคะ

    ตอบลบ
  2. ใช่ค่ะ แต่ต้องส่งเอกสารให้ทัน April 15, 2019 และส่งไปคนละที่อยู่กับคนที่จ่ายด้วย Money order นะคะ

    ตอบลบ