วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ออแพร์กับปัญหาสุขภาพ (ตอนที่ 1 ไม่สบายกาย)

Staying Happy & Healthy
         งานออแพร์ไม่ใช่งานง่ายๆ ด้วยชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน สูงสุด 10 ชั่วโมงต่อวัน รวม 45 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ บางคนเลี้ยงเด็กหลายคน บางคนตารางงานไม่แน่นอนหรือต้องทำงานตอนกลางคืน รวมถึงสภาพอากาศ ความเป็นอยู่ อาหารการกินที่อเมริกาที่แตกต่างจากไทย ทำให้บางคนไม่สบาย แต่จะให้ไปหาหมอที่โรงพยาบาลก็แพงสุดๆ ถึงแม้จะมีประกันสุขภาพแต่ก็แพงอยู่ดี และบางประกันต้องสำรองจ่ายไปก่อนแล้วค่อยไปเบิกคืนทีหลัง

https://www.youtube.com/channel/UCFJ8ue7tRlVCK6X4gcmSdJg

         สำหรับบทความนี้ ได้รวบรวมปัญหาสุขภาพเล็กๆ น้อยๆ ไม่รุนแรง ที่พบบ่อยในออแพร์ไทยมาให้ พร้อมวิธีดูแลสุขภาพเบื้องต้น (Relief/Remedy) โดยไม่ต้องไปพบแพทย์ และศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วย จะได้สามารถบอกอาการโฮสต์ หมอ หรือเภสัชที่ร้านขายยาได้

ปัญหาสุขภาพทางกายที่พบบ่อยในออแพร์ไทย ได้แก่


  1. ผิวแห้ง(Dry Skin) ผมร่วง(Hair loss) เลือดออกในจมูก(Nosebleeds) เพราะอากาศแห้ง
  2. ไข้หวัดธรรมดา (Common Cold)
  3. ปวดท้อง (Stomachache) เช่น ท้องอืด ปวดมวนท้อง (Gas pain, Bloating), ปวดท้องแบบอาหารไม่ย่อย (indigestion), ท้องเสีย (Diarrhea), ท้องผูก (Constipation), ปวดประจำเดือน (Period cramp)
  4. ปัสสาวะแสบขัด (Dysuria)
  5. ปวดเมื่อย เช่น ปวดหลัง (Back pain) ปวดขา (Leg pain)

หากมีปัญหาสุขภาพเกิดขึ้น ควรทำอย่างไร?


  1. ดูแลตามอาการเบื้องต้น บอกให้โฮสต์รับรู้ไว้ และลองขอยาสามัญประจำบ้านของโฮสต์มาทานก่อน
  2. หากที่บ้านไม่มียา สามารถไปซื้อยาได้ที่ร้านขายยา และGrocery เช่น CVS, Walgreen, Walmart, Target เป็นต้น
  3. เช็คข้อมูลประกันสุขภาพของตัวเองว่าสามารถไปพบแพทย์ได้ไหนบ้าง ต้องสำรองเงินจ่ายก่อนหรือไม่ และเตรียมเอกสารไปให้ครบถ้วน
  4. การไปพบแพทย์ ส่วนใหญ่ตามรพ.จะมีล่ามแปลภาษาให้ทางโทรศัพท์ แต่ถ้าให้ดีควรรู้คำศัพท์เบื้องต้นเพื่อให้พูดคุยกับแพทย์ได้ ดังนี้ I have a/an...........อาการที่เป็น (ลักษณะอาการ ตำแหน่ง ความรุนแรง), ระยะเวลาที่เริ่มเป็น, เวลาที่รับประทานยาครั้งสุดท้าย, เคยแพ้ยาอะไรไหม, ถ้าเป็นปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพสตรีต้องบอกวันที่ประจำเดือนเริ่มมาครั้งสุดท้าย เป็นต้น 

ปัญหาสุขภาพทางกายที่พบบ่อยในออแพร์ไทย

1. ผิวแห้ง(Dry Skin) ผมร่วง(Hair loss) เลือดออกในจมูก(Nosebleeds) เพราะอากาศแห้ง
         เมืองไทยมีสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ตัวเหนียว เหงื่อออกทั้งวัน พอมาอยู่อเมริกา ความชื้นในอากาศไม่สูงเท่าเมืองไทย แถมทุกบ้านใช้เครื่องปรับอากาศหมด หน้าหนาวอากาศหนาวมาก หรือต้องล้างมือทั้งวันจนมือแห้ง หลายๆ คนหนีไม่พ้นปัญหาผิวแห้ง
(Photo by Moose Photos from Pexels)

ามารถป้องกันและบรรเทาปัญหาผิวแห้งนี้ได้โดย
  • ไม่ต้องอาบน้ำบ่อย คนที่นี่อาบน้ำแค่วันละครั้ง ครั้งละ 5-10 นาทีพอ อย่าอาบน้ำนาน
  • ใช้สบู่อ่อนๆ เช่น Cetaphil, Oilatum-AD, Aquanil หรือสบู่ที่ผสมมอยส์เจอไรเซอร์ เช่น Dove, Olay, Basis 
  • สระผมโดยใช้แชมพูที่ช่วยลดผมร่วงและช่วยให้ผมแข็งแรง 
  • ถ้าเป็นไปได้พยายามอย่าอาบน้ำ/สระผมด้วยน้ำอุ่น อย่าเกา หรือขยี้ผมแรง (ให้ใช้ปลายนิ้วนวดเบาๆ)
  • ทาโลชั่น ครีม น้ำมันบำรุงผิว มอยส์เจอไรเซอร์ วาสลีน/ปิโตรเลียมเจลทาผิว 
  • ควรติดตั้งเครื่องพ่นละอองไอน้ำ (humudifier) ในบ้าน 
  • ใช้ไม้พันสำลีทาวาสลีน/ปิโตรเลียมเจลบางๆในรูจมูกก่อนนอน หรือพ่นsaline nasal product 
  • อย่าลืมดื่มน้ำให้เพียงพอ 
  • รับประทานอาหารที่ช่วยเพิ่มไขมันดีให้ผิวหนัง ได้แก่ ปลา salmon, mackerel, herring อะโวคาโด ถั่ววอลนัท เมล็ดทานตะวัน Sweet Potatoes Bell Peppersสีเหลืองหรือแดง บร็อคโคลี มะเขือเทศ ถั่วเหลือง Dark Chocolate ชาเขียว และไวน์แดง เป็นต้น
  • รับประทานอาหารที่ช่วยลดผมร่วงและช่วยให้ผมแข็งแรง ได้แก่ ถั่วต่างๆ หอยนางรม ผักขม Sweet potetoes เนื้อวัว ไข่ และปลาแซลมอล เป็นต้น
  • รับประทานวิตามินเสริม เช่น คอลลาเจน, Biotin, Iron, Zinc, วิตามินซี, Fish oil, น้ำมัน Evening primrose, หรือพวกวิตามินรวม Hair Skin & Nail Vitamin
  • สวมถุงมือเวลาล้างจาน ล้างขวดนม ใช้ครีมทามือ และสวมถุงมือในหน้าหนาว
  • สำหรับคนที่ผิวแห้งมากจนเป็นผื่น Eczema ให้ทาผื่นด้วยครีมสำหรับ Eczema หรือ Aquaphor
  • พยายามไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์เช็ดผิว
2. ไข้หวัดธรรมดา (Common Cold)
          โรคไข้หวัดติดต่อได้ง่าย เวลาเด็กที่เลี้ยงเป็น ออแพร์ก็ติดหวัดจากเด็ก พ่อแม่ก็ติดหวัดด้วย เป็นหวัดกันทั้งบ้าน 
(https://www.pexels.com/photo/short-red-hair-woman-blowing-her-nose-41284/)

          การดูแลเมื่อเป็นไข้หวัดธรรมดา เป็นการดูแลรักษาตามอาการ ส่วนใหญ่หายได้เองภายใน 1 สัปดาห์โดยไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ เพราะเกิดจากเชื้อไวรัสธรรมดา
  • หากมีไข้ (fever) ให้รับประทานยาลดไข้ เช่น Paracetamol, Ibuprofen, Tylenol 
  • ร่วมกับการเช็ดตัวลดไข้ หรือใช้แผ่นลดไข้แปะหน้าผาก และดื่มน้ำเยอะๆ
  • หากคัดจมูก (sniffle nose) มีน้ำมูกไหล (running nose) ให้ทานยา Afrin, Alka seltzer plus, Sinal sprayพ่นจมูก หรือใช้น้ำเกลือNSS ล้างจมูกตอนเช้าหลังตื่นนอน ก่อนนอนให้ทา Vick ที่จมูกและหน้าอกก่อนนอน และเปิดเครื่องพ่นละออง humudifier
  • ถ้ามีอาการไอ (cough) เจ็บคอ (sore throat) ให้กลั้วคอด้วยน้ำเกลือ, ดื่มน้ำอุ่น, น้ำมะนาวผสมน้ำผึ้ง, ชาผสมน้ำผึ้ง หรือนมจืดใส่น้ำผึ้งอุ่นๆ อมยาอมแก้เจ็บคอ เช่น Cepacol อมลูกอมเย็นๆ หรือใช้ sore throat spray พ่นในลำคอ
  • ยาแก้หวัด เช่น Delsym, NyQuil (ยานี้ออกฤทธิ์ดีมาก แต่อาจทำให้ง่วงนอนเพราะต้องการให้พักผ่อนนอนหลับเยอะๆ ช่วยให้หายหวัดได้เร็ว)
  • พักผ่อนมากๆ
  • หากมีอาการคลื่นไส้ ให้รับประทานอาหารอ่อน อุ่นๆ เช่น ซุปไก่ ข้าวต้ม 
  • รับประทานวิตามินซี (อย่างน้อย 500 มิลลิกรัมทุกวัน) หรือผักผลไม้ที่อุดมด้วยวิตามินซี เช่น ส้ม และผลไม้ตระกูลเบอร์รี่
  • หาก 3 วันแล้วไข้ยังไม่ลด หรือมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย เช่น น้ำมูก หรือเสมหะเป็นสีเหลือง เขียว คอแดง ต่อมน้ำเหลืองโต ควรไปพบแพทย์
         ส่วนไข้หวัดใหญ่จะมีอาการรุนแรงและอันตรายกว่าไข้หวัดธรรมดา (อาการเกิดขึ้นรวดเร็ว ฉับพลัน และอาการค่อนข้างรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา โดยลักษณะเด่นคือ ผู้ป่วยจะมีไข้สูง อ่อนเพลียมาก ปวดเมื่อยตามร่างกาย เจ็บคอ คออักเสบ ไอ จาม อาจคัดจมูกและมีน้ำมูกได้บ้าง บางรายอาจคลื่นไส้ อาเจียน และท้องร่วงร่วมด้วย ควรไปพบแพทย์)) สามารถป้องกันด้วยการฉีดวัคซีน Flu Shot ทุก 1 ปี

https://www.youtube.com/channel/UCPgbq18UvNpwmx2Y8dqWCLA

3. ปวดท้อง (Stomachache)
         เนื่องจากอาหารการกินที่นี่ต่างจากเมืองไทยมาก เพราะวันๆ กินแต่เนย นม ชีส ขนมปัง เมล็ดถั่วต่างๆ ทำให้มีอาการปวดท้อง ท้องอืดบ่อยมาก ส่วนอาการท้องเสียไม่ค่อยเป็นเพราะอาหารที่นี่สะอาด 
       
        การดูแลเมื่อมีอาการท้องอืด ปวดมวนท้อง (gas pain, bloating) อาหารไม่ย่อย (indigestion)
  • เรอ ผายลม หรือถ่ายอุจจาระออกมา
  • พยายามเคลื่อนไหวร่างกาย 
  • ดื่มชา เช่น anise, chamomile, ginger, peppermint
  • พยายามหลีกเลี่ยงการรับประทานพวก น้ำตาลเทียมเช่น aspartame, sorbitol, maltitol ผัก broccoli, cabbage, cauliflower น้ำลูกพรุน น้ำแอ้ปเปิ้ล ผลไม้แห้ง ผลิตภัณฑ์นม เนย เครื่องดื่มที่มีไฟเบอร์ น้ำตาล และโซดา อาหารทอด ไขมันสูง กระเทียม หัวหอม ถั่วต่างๆ และอาหารเผ็ด เป็นต้น
  • ทานยาขับลม (Antiflatulent) ได้แก่ Simethicone เช่นยี่ห้อ Gas-X, Mylanta Gas, Phazyme หรือ Antacid, Alka-Seltzer (คล้ายยาอีโน เป็นเม็ดผงฟู่ผสมน้ำเปล่าดื่ม)
         หากมีอาการท้องเสีย (Diarrhea)
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีเกลือแร่ผสม
  • รับประทานอาหารที่ทำให้ท้องผูก " BRAT diet." ได้แก่ Banana, Rice, Apple, Toast รวมถึง Sweet potato และ Peanut butter
  • รับประทานยาAnti-diarrhea หรือ Stomach relief เช่น Loperamide (Imodium), Bismuth subsalicylate (Kaopectate, Pepto-Bismol) 
  • หาก 2 วันแล้วอาการท้องเสียยังไม่ดีขึ้น หรือมีไข้ร่วมด้วย ถ่ายเป็นเลือดปน ปวดท้องมาก มีอาการขาดน้ำเช่น ริมฝีปากแห้ง ควรรีบไปพบแพทย์
         ถ้ามีอาการท้องผูก (Constipation)

  • การดูแลตรงข้ามกับอาการท้องเสียเลย คือให้รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผักผลไม้ และธัญพืช โดยเฉพาะ Plum, Prune, Pear
  • รับประทานอาหารที่มี Probiotic เช่น โยเกิร์ต ผักดอง กิมจิ หรือรับประทาน probiotic supplement
  • หลีกเลี่ยง" BRAT diet." ซึ่งทำให้ท้องผูก ได้แก่ Banana, Rice, Apple, Toast รวมถึง Sweet potato และ Peanut butter
  • ดื่มน้ำมากๆ 
  • พยายามเคลื่อนไหวร่างกายและออกกำลังกาย
  • รับประทานยาระบาย (Laxative) มีหลายประเภท ได้แก่
    - Bulk-forming fiber supplements ยาที่มีส่วนประกอบของไฟเบอร์ที่ช่วยให้อุจจาระรวมกันเป็นก้อนและนุ่ม เช่น Citrucel, FiberCon, และ Metamucil สามารถรับประทานได้ทุกวัน ควรดื่มน้ำมากๆ ร่วมด้วย มีผลข้างเคียงทำให้มีลมในกระเพาะอาหาร หรือผายลมบ่อย
    - Osmotic laxatives such ยาที่ช่วยให้น้ำลำเลียงไปยังระบบย่อยอาหารเพิ่มขึ้น ช่วยให้อุจจาระนิ่ม เช่น Lactulose, Miralax, Milk of Magnesia, และ Sorbitol
    - Stimulant laxatives เป็นยาถ่าย เช่น Dulcolax และ Senekot ออกฤทธิ์รวดเร็ว
    - Stool softeners เป็นยาที่ช่วยให้อุจจาระนิ่มสำหรับคนที่ท้องผูกตั้งแต่เด็ก เช่น Surfak
  • หาก 3 วันแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดท้องมาก มีเลือดในอุจจาระ (blood in stool) น้ำหนักลด (weight loss) ควรไปพบแพทย์

         อาการปวดประจำเดือน (Period cramp)

  • วางถุงน้ำร้อน หรือ (hot pack) ห่อผ้าวางบนหน้าท้อง/ท้องน้อย
  • พักผ่อน
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมัน น้ำตาล คาเฟอีน หรือแอลกอฮอล์
  • รับประทานยาแก้ปวด เช่น ibuprofen (Advil), naproxen (Aleve), or acetaminophen (Tylenol)
  • หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • สังเกตอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดท้องมากๆ มีเลือดออกทางช่องคลอดหรือประจำเดือนผิดปกติ (สี/กลิ่น/ปริมาณผิดปกติ) มีไข้ เป็นต้น ควรรีบไปพบแพทย์
4. ปัสสาวะแสบขัด (Dysuria/ Painful urination)
         เป็นปัญหาที่ได้ยินจากเพื่อนออแพร์หลายคน เพราะว่าห้องน้ำออแพร์อยู่ข้างนอกห้องนอน วันหยุดก็หมกตัวอยู่แต่ในห้องไม่ค่อยออกมาเข้าห้องน้ำ หรือว่าเลี้ยงเด็กยุ่งมากจนทำให้ต้องกลั้นปัสสาวะบ่อยๆ ต่อมาก็มีอาการปัสสาวะแสบขัด อยากปัสสาวะแต่ก็ไม่ค่อยออก และเจ็บปวดทรมานมาก บางคนมีเลือดปนออกมาด้วย
(https://draxe.com/wp-content/uploads/2018/09/Dysuria_graphic.jpg)

         วิธีการป้องกัน และดูแลอาการเบื้องต้น
  • พยายามดื่มน้ำเยอะๆ 
  • อย่ากลั้นปัสสาวะ
  • ดื่มน้ำแคนเบอรี่ และน้ำผลไม้ตระกูลเบอร์รี่
  • รับประทานอาหารที่มี Probiotic สูง เช่น โยเกิร์ต ผักดอง
  • สังเกตอาการ หากอาการไม่ดีขึ้น ปวดแสบขัดมากเวลาปัสสสาวะ ปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะมีเลือดปน ปัสสาวะสีผิดปกติ ขุ่น ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
5. ปวดเมื่อย เช่น ปวดหลัง (Back pain) ปวดขา (Leg pain)
         เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้บ่อยเนื่องจากการใช้ท่าทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น อุ้มเด็ก ถือของหนัก ก้มหยิบของ หรือการอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานานเกินไป หรือการออกกำลังกายแบบหักโหม สามารถป้องกันและบรรเทาอาการได้ง่ายๆ ดังนี้

pixabay.com

  • ใช้ท่าทางให้ถูก
  • เปลี่ยนท่าบ่อยๆ ไม่นั่งอยู่ในทางเดิมนานๆ 
  • พักการใช้งาน
  • ออกกำลังกาย ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เช่น โยคะ เต้นแอโรบิก ว่ายน้ำ
    👉 การออกกำลังกายเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยร่างกาย 
  • ไม่สะพายกระเป๋า หรือถือของหนัก ใช้รถเข็นช่วยแทน
  • ใช้ยาทาบรรเทาปวด (pain relief cream) เช่น Lidocain cream, Aspercream, Icyhot cream
  • รับประทานยาแก้ปวด เช่น Tylenol (acetaminophen), ibuprofen
  • แปะแผ่นกอเอี๊ยะ หรือแผ่นบรรเทาปวด (Pain relieving pad) เช่น Salonpas
  • ประคบอุ่นหรืออาบน้ำอุ่น นวดบรรเทาปวด
  • หากปวดขา ให้พักยกขาสูง โดยนั่งเอาขาพาดเก้าอี้ หรือหมอน หรือนอนเอาขาพาดผนัง


บทความที่เกี่ยวข้อง