แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ กำลังเป็นออแพร์ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ กำลังเป็นออแพร์ แสดงบทความทั้งหมด

วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2563

ประสบการณ์การเป็นออแพร์กับโฮสต์เปอร์เซีย

สวัสดีค่ะ หายหน้ากันไปนานเลย แบบว่าจบโครงการออแพร์ในอเมริกามาจะครบ 1 ปีแล้ว เดี่ยวนี้โลกก็หมุนไปเร็วมาก จนไม่รู้จะเขียนอะไรเกี่ยวกับออแพร์แล้ว เพราะข้อมูลไม่อัพเดท

ตามสัญญา วันนี้จะมาแชร์ประสบการณ์การเป็นออแพร์กับโฮสต์เปอร์เซีย 2 ปีเต็ม
โดยปีแรก โฮสต์พ่อเป็นชาวเปอร์เซียเกิดที่อิหร่าน แต่ไปเติบโตที่แคนาดา และย้ายมาอยู่อเมริกาตอนโตแล้ว ส่วนโฮสต์แม่เป็นยุโรปค่ะ

ส่วนปีที่สอง โฮสต์อีกบ้าน เป็นชาวเปอร์เซียเกิดที่อิหร่านทั้งคู่ คนแม่ย้ายไปอยู่แคนาดาตั้งแต่เด็กๆเลย และย้ายมาอเมริกาตอนโตแล้ว ส่วนคนพ่อคือเกิดและเติบโตที่อิหร่านเลย แล้วค่อยมาอยู่อเมริกาตอนได้ทุนแลกเปลี่ยนเรียนต่อแพทย์เฉพาะทาง


ก่อนอื่นมาทำความรู้จัก "ชาวเปอร์เซีย" กันก่อน

ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต ชาวเปอร์เซีย ปัจจุบันคือชาวอิหร่านเท่านั้น แต่ถ้านับเอาอาณาจักรเปอร์เซีย ยุคโบราณ นอกจากพื้นที่ตุรกี อียิปต์แล้ว ยังกินอาณาเขตเข้าไปในยุโรป อีกนิดหน่อย

พูดให้ง่ายๆ เห็นภาพชัดเจน ชาวเปอร์เซียก็คือแขกขาวนั่นเอง (ในสมัยโบราณจะใช้คำว่า แขกเทศ) ส่วนใหญ่จะมีผิวขาว หรือคล้ำเล็กน้อยคล้ายๆ ผิวคนไทย หน้าตาคมเข้ม จมูกโด่ง ที่สำคัญผมดก ขนดกมาก ขนาดโฮสต์คิดส์ที่เราเลี้ยงเกิดมาก็ผมเต็มหัว ขนคิ้วหนาเตอะ แล้วส่วนใหญ่ชาวเปอร์เซียจะมียีนผมหยัก ไม่ค่อยเจอใครผมตรง แล้วก็มีบางคนผมสีทอง หน้าตาไปทางคนยุโรป อย่างโฮสต์แม่บ้านที่สองของเรา (เพราะอย่างที่บอกไปว่า เปอร์เซียโบราณมีอาณาเขตครอบคลุมไปถึงยุโรปด้วย ก็เลยได้ยีนผมสีทองมา แต่บางคนก็จะหน้าตาออกไปแนวแขกอินเดีย


ชาวเปอร์เซีย ผู้หญิงก็สวย ผู้ชายก็หล่อ ยืมรูปมาจากละครบุพเพสันนิวาส และเว็บ https://th.phoneky.com/wallpapers/

ด้วยความเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองในอดีต จึงมีทั้งภาษา และขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นของตนเอง โดยชาวเปอร์เซียจะพูดภาษาฟาร์ซี (Farsi) ไม่ใช่ภาษาเปอร์เซียนนะ หลังจากที่อยู่บ้านโฮสต์เปอร์เซียมา 2 ปี ได้ภาษาฟาร์ซีมาไม่กี่คำ เช่นคำว่า Salaam (อ่านว่า ซาลอม ลากเสียงยาวหน่อย) แปลว่า สวัสดี เวลาทักทายกันก็จะจับมือหรือสวมกอดกัน พร้อมกับชนแก้มกันขวา-ซ้าย บางครอบครัวก็ชนแก้มกันสามรอบ ขวา-ซ้าย-ขวา

คำว่าขอบคุณ คือ Mersi (อ่านว่า เมอซี/ เมิสซี) 

ส่วนคำว่า Joon (จูน) แปลว่าที่รัก ใช้ต่อท้ายชื่อคน


และก็มีตัวอักษรเป็นของตัวเองด้วย โดยจะมีลักษณะเป็นเส้นและจุด คล้ายตัวอักษรในภาษาอาหรับ
แต่โฮสต์บอกว่าคนอิหร่านทุกคนไม่ใช่ชาวเปอร์เซียนะ เพราะมีทั้งชาวอาร์เมเนีย ชาวอาหรับ ฯลฯ หลายประเภทมาก และภาษา/ตัวอักษรก็แตกต่างกันไป อาจจะมีบางคำที่เหมือนกัน แต่จังหวะการพูด ชาวเปอร์เซียจะชอบพูดแบบลากคำ (เสียงยาน) กว่า ซอฟต์กว่า (อันนี้โฮสต์บอกมา เราเองยังแยกไม่ออก)


ส่วนทางศาสนา ชาวเปอร์เซียจะนับถือลัทธิ โซโรอัสเตอร์ หรืออิสลาม โซโรอัสเตอร์ โดยจะเน้นความเรียบง่าย และบูชาไฟ กินหมูได้จ้า

มีวันปีใหม่เป็นของตนเอง โดยในแต่ละปีจะแตกต่างกันไปไม่ตรงวัน เพราะไม่ได้ใช้ปฏิทินสุริยคติเหมือนปฏิทินสากล แต่จะอยู่ช่วงประมาณ 20 หรือ 21 มีนาคม และมีการนับศักราชของตนเอง โดยจะเรียกวันปีใหม่ว่า โนรูส (Nowruz) โดย No มีความหมายว่า ใหม่ และ rouz แปลว่า วัน เป็นงานเฉลิมฉลองวันแรก
ของเดือนแรกในปฏิทินอิหร่าน และตรงกับวันวสันตวิษุวัต (ฤดูฝน) พอดี 

โดยวันปีใหม่เปอร์เซียนี้ ถือเป็นสัญลักษณ์ของชีวิตใหม่ การเริ่มต้นใหม่ และการถือกำเนิดใหม่ของธรรมชาติ โดยในคืนก่อนวันปีใหม่จะมีการตั้งโต๊ะบูชา (คล้ายเทศกาลสารทไทย สารทจีน) โดยมีของมงคลที่มีความหมายวางบนโต๊ะ และจุดเทียนตามฤกษ์ โดยดูแลไม่ให้เทียนดับ จนเข้าสู้วันปีใหม่

https://media.npr.org/assets/img/2016/03/20/nowruz-turmericsaffron_new-79a80147865e225587877aee6ddb7f82f8b64ef1-s1600-c85.jpg
บนโต๊ะจะมีของที่มีความหมายมงคล เช่น หญ้า หมายถึงความเจริญงอกงาม ชีวิตใหม่, ไข่ หมายถึง การถือกำเนิด (เหมือนเทศกาลอีสเตอร์), ปลาทองในโหลแก้ว เปรียบเสมือน ชีวิต, กระจก สะท้อนถึงอดีต และสิ่งชั่วร้าย, ขนมหวานของชาวเปอร์เซียที่ทำจากน้ำตาลและถั่ว, แอ้ปเปิ้ล, และบางบ้านก็จะวางเหรียญและเงินไว้ด้วย เพื่อขอให้ปีใหม่ร่ำรวย เป็นต้น

ที่ตลกคือ โฮสต์เล่าว่ามีปีนึงซื้อโหลใส่ปลาทองมาเพื่อวันปีใหม่ แต่โหลเตี้ยไป หลังจากปีใหม่ไม่นานปลาทองก็กระโดดออกจากโหลมาตาย ปีนี้เลยต้องซื้อปลาทองมาใหม่ 

ไฮไลท์ของวันปีใหม่คือ มีการแจกแต๊ะเอีย โดยคนที่อาวุโสที่สุดในบ้าน นั่นคือโฮสต์พ่อนั่นเอง ชอบจังเทศกาลนี้ 5555  การเฉลิมฉลองยังไม่จบแค่นี้ เมื่อถึงวันที่ 13 ของปีใหม่เปอร์เซีย จะเป็นวันออกจากบ้าน คือทุกคนจะออกจากบ้านเพื่อไปรวมตัวกับเพื่อนๆ และครอบครัว โดยจะพบว่าในสวนสาธารณะเต็มไปด้วยชาวเปอร์เซียมาตั้งแคมป์ ปิ้งบาร์บีคิว ทานอาหารและร้องเพลง เต้นรำร่วมกัน และจะนำหญ้าที่ตั้งไว้บนโต๊ะบูชาไปโยนทิ้งในแหล่งน้ำธรรมชาติด้วย (ห้ามเก็บไว้) 


เรื่องอาหารการกิน 

ชาวเปอร์เซียรับประทานข้าวเป็นหลัก ส่วนใหญ่จะนิยมทานข้าวBasmati ของอินเดีย คือเป็นเม็ดรีๆยาวๆ บางครั้งก็มีการใส่ใบdrill ธัญพืชต่างๆ เช่น ถั่ว ลูกเกด และเครื่องเทศลงไป เช่น Saffron ทำให้ข้าวมีสีสันน่ารับประทาน โดยจะทานคู่กับKebab, แกงหรือสตูว์ (ซึ่งมีลักษณะคล้ายแกงอินเดีย คือมีส่วนผสมของถั่ว แต่ไม่มีกลิ่นฉุน และไม่เผ็ด), สลัดที่โรยเฟต้าชีส, และโยเกิร์ต (เป็นโยเกิร์ตรสเค็ม ไม่ใช่โยเกิร์ตผลไม้) และจะนิยมรับประทานเนื้อแกะ ชีวิตนี้ก็เพิ่งเคยกินโยเกิร์ตกับข้าวเป็นครั้งแรกนี่แหละ บอกเลยว่าอาหารเปอร์เซียอร่อยมากนะ แต่ไม่เผ็ดเลย

https://irandoostan.com/dostcont/uploads/2017/11/Travel-to-Iran-Iran-tours-Gheymeh-Nesar.jpg


https://www.destinationiran.com/wp-content/uploads/2011/01/Iranian-Food-Restaurants.jpg

วิธีการหุงข้าวของชาวเปอร์เซียก็จะมีวิธีเฉพาะ คล้ายการ "ย่างข้าว" โดยทาน้ำมันบางๆ ไว้ที่ก้อนหม้อและหุงจนข้าวก้นหม้อกรอบ บางครั้งก็ไหม้เกรียมไปเลย กลายเป็น Crispy rice  บางครั้งก็จะฝานมันฝรั่งบางๆ วางลงไปที่ก้อนหม้อก่อนใส่ข้าวลงไปหุงด้วย เรียกว่า Tahdig หรือบางครั้งก็ใช้ขนมปังเปอร์เซียนใส่ลงไปแทนมันฝรั่ง อร่อยดี เป็นของโปรดของเราเลย

https://blogger.googleusercontent.com/img/proxy/AVvXsEh-KEXLDDClwWUy2IBJONZGm7moQYAbgYe5aS_BsgPJsr4QtwFEvdM7T5iVQfoR2ucUH_YI6JvzfpnEQoX-ocncFwYn6v44u6JqlN1k8HvBZy8FnARtIL041BvF0Pg3HhVI4zmnuhTHA4Z8sICah6qD4lLaR6A5Xqs0i5hQONuT0A3FJrYZP4lKU0coSkJTKv4oKwQ9CSlb=


ที่เราชอบกินอีกอย่างหนึ่งคือ ขนมปังของชาวเปอร์เซีย อร่อยมาก ทำมาจากข้าวบาร์เล่ย์ มีหลายแบบ แบบโรยงา แบบบางกรอบ แบบคล้ายๆ แป้งตอร์ติญญ่า 

https://www.tappersia.com/wp-content/uploads/2020/01/nan55.jpg


เคยไปที่Persian market เห็นเค้าอบขนมปังร้อนๆ แผ่นเบอเร่อ ทุกคนจะซื้อแล้วมาตัดๆ เป็นชิ้นเท่าฝ่ามือ และแช่ตู้เย็นเก็บไว้ บางทีก็จะกินคู่กับข้าวและเคบับ หรือว่าบางทีก็กินเป็นอาหารเช้า โดยทาเฟต้าชีสและราดน้ำผึ้ง อร่อยมากๆ 

https://c8.alamy.com/comp/K6KG6A/fars-province-shiraz-iran-18-april-2017-shop-at-the-bakery-the-baker-K6KG6A.jpg


https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn%3AANd9GcT4e8_RIieh8QP_vlfGdnzLNegR-D9c8tQb-WSOUCefpksurfTi&usqp=CAU

ส่วนขนมหวานของชาวเปอร์เซีย วัตถุดิบส่วนใหญ่ทำมาจากถั่วชนิดต่างๆ โดยเฉพาะพิตาชิโอ้ ไม่ใส่แป้งเลย มีรสชาติหวานๆ ถือว่าเป็นขนมที่เฮลตี้ต่อสุขภาพ แต่เราไม่ค่อยชอบเท่าไร กินแล้วไม่ละมุน หวานปะแล่มๆ มีอันที่เราชอบอยู่ไม่กี่อย่าง แต่จำชื่อไม่ได้แล้ว และทานคู่กับน้ำชาของเปอร์เซีย ซึ่งหอมมาก และไม่หวานเลย ไม่มีคาเฟอีนด้วย กินแล้วบำรุงสุขภาพและผ่อนคลาย

https://i.pinimg.com/originals/f1/6e/bb/f16ebb0f159fbf4a3ae6a54fbf167aef.jpg


นิสัยเฮลตี้อีกอย่างของชาวเปอร์เซียคือ ชอบทานผลไม้มาก ทุกๆ บ้านจะมีตะกร้าใส่ผลไม้สด พร้อมมีดเล่มเล็กและจานวางไว้ เวลาแขกมาบ้านก็จะแจกมีดกับจานให้คนละชุด และก็ปอกผลไม้กินกันเองเลย กินทีเยอะด้วย นอกจากผลไม้ ก็จะมีแตงกวาวางไว้ในตะกร้าให้ด้วย กัดกินกันสดๆเลย


สำหรับวัฒนธรรมที่เรารู้สึกแปลกๆ ไม่เหมือนใครคือเวลาเชิญแขกชาวเปอร์เซียมารับประทานอาหารร่วมกันที่บ้าน หลังทานอาหารเสร็จผู้ชายก็จะแยกกันไปคุยเม้าท์มอยกับผู้ชาย ส่วนผู้หญิงก็จะจับกลุ่มเม้าท์มอยกับผู้หญิง 

มาถึงเรื่องที่ทุกคนอยากรู้ ลักษณะนิสัยของชาวเปอร์เซีย


** ขอบอกก่อนว่าบทความนี้ไม่ได้มีเจตนาเขียนเพื่อสร้างความแตกแยก หรือดูหมิ่น หรือracist ใครค่ะ แต่เขียนจากความรู้สึกและประสบการณ์ของเราตลอด2 ปีในอเมริกาเองเพียงฝ่ายเดียว บางเรื่องอาจจะไม่จริงสำหรับใครบางคน และชาวเปอร์เซียทุกคนไม่ได้เป็นอย่างที่เราเจอทุกคนค่ะ อาจมีการใช้คำที่ไม่สุภาพแต่เป็นไปเพียงเพื่ออรรถรสและให้เห็นภาพชัดเจนเท่านั้นค่ะ**

ลักษณะนิสัยของโฮสต์เปอร์เซียที่เราได้พบเจอ เราว่าคล้ายๆ คนเอเชีย

1. จะเป็นพวกชอบพูดคุย ช่างซักช่างถาม 

2. ชอบเต้นรำ ชอบเสียงดนตรี ทั้งผู้หญิงผู้ชาย

3. สังคมผู้ชายเป็นใหญ่ ผู้ชายเปอร์เซียไม่ค่อยทำอะไร มีหน้าที่ทำงานหาเงินดูแลครอบครัว แต่ก็แล้วแต่คนด้วย เพราะบางคนก็ทำงานบ้าน ทำอาหารได้ แต่บางคนไม่แตะงานบ้านเลย และเจ้าอารมณ์มากๆ เวลาทะเลาะกันชอบตะคอกใส่เสียงดังลั่นบ้าน ไม่ค่อยจะขอโทษก่อน ทิฏฐิสูง

4. รักครอบครัวตัวเองมาก ถึงแม้จะบอกว่าtreats au pair like part of family แต่แตกต่างจากโฮสต์ปู่ย่า ตายายมาก ที่จะเอ็นดูเรา รักเรามาก อารมณ์เหมือนเมืองไทย ที่คนแก่มักจะเอ็นดูเด็ก ยิ่งถ้ามีสัมมาคารวะ ดูแลหลานเค้าดียิ่งรักตายเลย เวลาอยู่กับโฮสต์ปู่ย่าตายายก็จะมีอาหารอร่อยๆ ให้ทานเหลือเฟือ ขนาดเคี้ยวตุ้ยๆ อยู่ในปากก็ยังจะบ่นว่าเราไม่ยอมกินเลย ตักใส่จานเราแทบกินไม่ทัน


5. ค่อนข้างขี้เหนียว ถ้าเทียบกับฝรั่งที่มีค่าเงินสูงกว่า อันนี้เราวิเคราะห์เอง เนื่องจากประเทศอิหร่านประสบปัญหาทางการเมืองและเศรษฐกิจ มีการคอรัปชั่นและสงครามกลางเมือง ครอบครัวที่มีอันจะกินก็พากันอพยพออกนอกประเทศ ส่วนใหญ่ก็อพยพไปแคนาดากัน ค่าเงินของอิหร่าน 1 rial = $0.000024 อารมณ์เหมือนเงินบาทไทยVSเงินกีบลาว ถึงแม้ว่าครอบครัวโฮสต์จะรวยและไปเติบโตที่แคนาดา แต่ช่วงที่อพยพก็มีความเป็นอยู่ที่ยากลำบากอยู่บ้าง ทั้งการปรับตัวด้านภาษา ความเป็นอยู่ และชาวเปอร์เซียชอบอยู่ด้วยกันเองเป็นสังคมคนเปอร์เซีย การเลี้ยงดูวัฒนธรรมธรรมเนียมต่างๆ ก็ได้รับการถ่ายทอดมาอย่างเข้มข้น

จบไปแล้วกับเรื่องราวประสบการณ์การเป็นออแพร์ให้โฮสต์เปอร์เซีย ซึ่งถือว่าเป็นประสบการณ์ที่มีค่ามาก ช่วยให้เราเปิดโลกมากขึ้น ได้รู้จักชาวเปอร์เซีย ได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ได้ลองทานอาหารรสชาติใหม่ๆ ที่ถ้าอยู่เมืองไทยคงไม่รู้จัก


แหล่งอ้างอิงข้อมูล http://anyflip.com/codsc/mdjg/basic/51-66







วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2563

Stuck at home with kids from COVID-19

สำหรับออแพร์แล้ว โรคระบาด COVID 19 อาจไม่น่ากลัวเท่า การที่โรงเรียนปิดและต้องอยู่บ้านกับเด็กๆและโฮสต์ที่ work form home 1 เดือนเต็ม !! (หรืออาจนานกว่านั้นหากยังไม่สามารถควบคุมโรคได้)


วันนี้เรามีไอเดีย กิจกรรมที่ทำกับเด็กๆ ขณะติดอยู่บ้านเนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด19 ระบาด มานำเสนอ ไปดูกันเล้ยยยย !!

1. Set a schedule

เพราะการอยู่บ้านเลี้ยงเด็กแบบนี้ ไม่ใช่การพักผ่อน มันคือวันทำงานของออแพร์ และยิ่งหากเด็กที่เลี้ยงเป็นเด็กวัยเรียน พลังงานเหลือล้น พูดเก่ง เลือกเก่ง เบื่อง่ายด้วยแล้ว ออแพร์ควรมีแผนกิจกรรมของแต่ละวัน โดยอาจวางแผนร่วมกับเด็กๆ และโฮสต์ 

สามารถset schedule กิจกรรมที่จะทำแต่ละวันโดยอิงจากเทศกาลต่างๆ ที่กำลังมาถึง เพื่อไม่ให้แต่ละวันน่าเบื่อเกินไป เช่น ทำพายในวัน Pi day แต่งกายสีเขียวในวัน St.patrick day และดูหนังกันในวัน World theatre day เป็นต้น

2. Start the day with exercise


การออกกำลังกาย ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงต่อสู้กับโรคร้าย และเป็นการเผาผลาญพลังงานที่ดี


3. Home school



เพราะเด็กๆ ต้องหยุดเรียน โฮสต์บางบ้านอาจกังวลเรื่องการเรียนที่หยุดชะงัก ออแพร์และโฮสต์สามารถเซ็ตเวลาเรียนได้ โดยเรียนจากบทเรียนในหนังสือ หรือการเรียนผ่านอินเทอร์เน็ต มีคอร์สออนไลน์ที่น่าสนใจมากมาย เช่น 


4. Teach about COVID 19


ให้ความรู้เด็กๆ เกี่ยวกับโรค COVID 19 อย่างง่ายๆ และวิธีป้องกันตนเอง วิธีการล้างมือที่ถูกต้องและนานอย่างน้อย 20 วินาที ซึ่งเท่ากับความยาวของเพลง Happy birthday พอดี

5. Cooking


ให้เด็กๆได้เป็นลูกมือทำอาหาร กับเมนูง่ายๆ เช่น แพนเค้ก คุ้กกี้ แซนวิช ซุป ออมเล็ต ช่วยให้เด็กๆเพลิดเพลิน และเจริญอาหารด้วย หมดเวลาไปอีกครึ่งวัน

6. Virtual Museum Tours  /Visual field trip (Video)

สามารถพาเด็กๆ ไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ชื่อดัง สวนสัตว์ ฟาร์ม อุทยานแห่งชาติ ที่มีชื่อเสียงทั่วโลก หรือแม้กระทั่งไปเยือนดาวอังคาร ! ได้โดยไม่ต้องออกจากบ้าน ด้วยมุมมองเสมือนจริง 360 องศา


สามารถคลิีกได้ที่link ด้านล่างนี้เลย

👉 https://docs.google.com/document/d/1SvIdgTx9djKO6SjyvPDsoGlkgE3iExmi3qh2KRRku_w/preview?fbclid=IwAR3S2l-NR4GvGZ4nZA9NJLPBDVlf4MyeB-74phPZuQiI7K62gLRbOAzKihg&pru=AAABcQdF0R8*FG4Wzepp76ZA91MU9r7YGQ


7. Do some art and craft


กิจกรรมศิลปะอย่างวาดรูป ระบายสี ประดิษฐ์สิ่งของ ปั้นดินน้ำมัน และการพับกระดาษ (พับจรวด รถแข่ง กบ แล้วมาแข่งกัน) ยังเป็นกิจกรรมยอดนิยมของเด็กๆ ช่วยฝึกความคิดสร้างสรรค์และสมาธิได้ดี ทั้งยังเป็นกิจกรรมที่เด็กๆสามารถทำได้ด้วยตนเอง ออแพร์ก็อาศัยจังหวะนี้ได้ปลีกตัวไปทำงานบ้านเล็กๆน้อยๆหรือพักเหนื่อย (แต่ยังkeep an eye on the kidsนะ) สามารถดูไอเดียกิจกรรมศิลปะง่ายๆที่เหมาะกับเด็กๆได้ที่ Pinterest เลย


8. Do gardening


ใครมีพื้นที่หลังบ้าน อาจชวนเด็กๆไปรดน้ำต้นไม้ ตัดแต่งกิ่ง ปลูกผัก ทำสวน เก็บดอกไม้ ให้ได้มีกิจกรรมนอกบ้านบ้าง คลายความอุดอู้อยู่แต่ในบ้าน

9. Play sport


ถ้าบ้านโฮสต์ใครไม่ได้มีพื้นที่กว้างขวาง กีฬานี้อาจเป็นกีฬาง่ายๆ ที่ใช้พื้นที่ไม่มาก หรือใช้อุปกรณ์ที่ผลิตเอง เช่น โยนบอล กระโดดเชือก โยนโบว์ลิ่ง โยนห่วง ฯลฯ หรือจะเป็นเกมกีฬาพื้นบ้านของไทย อย่างแปะแข็ง ลิงชิงบอล ก็สนุกและเป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไปด้วย

10. Play Hide and seek / treasure hunt


เกมเล่นซ่อนแอบ เป็นเกมง่ายๆที่สนุกและโปรดปรานของเด็กๆ ช่วยเผาผลาญพลังงานได้ดี นอกจากนี้ยังดัดแปลงเป็นเกมล่าสมบัติ หรือล่าไข่แบบegg hunt ในวันEaster Day เป็นต้น อาจสร้างบรรยากาศด้วยการแต่งเรื่องราว และมีแว่นขยายให้เด็กๆได้จำลองการเป็นนักสืบ

11. Storytelling /Puppet show/ Shadow play


ขาดไม่ได้เลยกับการอ่านหนังสือ และเพิ่มความน่าสนใจด้วยการเล่านิทานหุ่นมือ เด็กๆ จะตื่นตาตื่นใจไปกับละครเงา ที่ทำได้ง่ายๆ เพียงอยู่ในห้องมือ นำผ้าบางๆมาขึงเป็นฉาก และใช้ไฟฉายทำให้เกิดเงา การเลื่อนหุ่นเข้าใกล้/ถอยห่างทำให้เงาขยายใหญ่ขึ้น/เล็กลง รับรองว่าเด็กๆจะสนุกเพลิดเพลินกันแน่นอน

12. Music time (Sing & Dance)


ปลดปล่อยอารมณ์ไปกับเสียงเพลง และการเต้นเข้าจังหวะแบบไม่ต้องแคร์ใคร

13. Do household together

สอนให้เด็กๆ รู้จักเก็บของเล่นหลังเล่นเสร็จ และช่วยทำงานบ้านเล็กๆน้อยๆ อย่างเช่น ล้างจาน พับผ้า ช่วยฝึกให้เด็กๆ มีความรับผิดชอบ และแบ่งเบาภาระงานของออแพร์ด้วย

14. Card game/Boardgame


การนั่งล้อมวงเล่นเกมกระดานหรือการ์ดด้วยกันเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่สนุก และได้พักสายตาจากหน้าจอโทรทัศน์และโทรศัพท์ สามารถเล่นด้วยกันได้หลายคน และยังฆ่าเวลาได้ดี เพราะแต่ละเกมใช้เวลาพอสมควรเลย

15. watch movie

บางครั้งก็ต้องมีช่วงเวลารีแลกซ์บ้าง ดูหนังด้วยกัน ใช้เวลาครอบครัวด้วยกัน พักเหนื่อยจากกิจกรรมใช้แรงงาน

16. Play Bubble

เชื่อว่าไม่มีเด็กคนไหนไม่ชอบลูกโป่งฟองสบู่ แถมยังทำเองได้ง่ายๆ เพียงแค่ใช้น้ำยาล้างจานหรือสบู่ผสมน้ำ และใช้ลวดดัดเป็นห่วง


17. hop-scotch / Foot hand



กิจกรรมทางกายอีกอย่างหนึ่งที่ช่วยเผาผลาญพลังงานได้ดีคือ เกมตั้งเต และเกมมือเท้า ช่วยฝึกการทรงตัว และประสานสัมพันธ์ระหว่างสายตา มือ และเท้า เป็นเกมโปรดตอนเด็กๆ ของเราเลย


18. Backyard Picnic / Camping

ถูกจำกัดบริเวณ ก็ตั้งแคมป์ในสวนหลังบ้านซะเลย เปลี่ยนบรรยากาศซะหน่อย


19. Make a funny video / Write a diary


เนื่องจากการ Lockdown ครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งประสบการณ์ในชีวิตของใครหลายคน เราอาจจะบันทึกวิดีโอ หรือให้เด็กๆ เขียนไดอารี่กิจกรรมที่ทำประจำวัน หรือแม้กระทั่งการอัดคลิปวิดีโอสั้นๆ เพื่อความสนุกสนาน เช่น การใช้แอพพลิเคชัน Tik tok ก็เป็นอีกหนึ่งไอเดียสำหรับทำกับเด็กๆ




Hope everything's gonna be better soon!




วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2563

คิดถึงอาหารไทย ต้องไปเอเชียนมาร์เก็ต

สวัสดีค่ะออแพร์ไทยในต่างแดน กินแต่อาหารฝรั่งขนมปังแห้งๆ ชีสมันๆเค็มๆ นมเนยกินจนท้องอืด ท้องผูกกันไป บางครั้งก็เกิดอาการเหงาปาก คิดถึงอะไรแซ่บๆ บ้างใช่มั้ยคะ


แรกๆ ทำอะไรไม่ค่อยเป็น ก็พุ่งไปเลยค่ะ Thai restaurant สามารถเสิร์ชหาร้านใกล้บ้านได้โดยแอพลิเคชันยอดนิยม Yelp (คล้ายๆ แอพวงในบ้านเรา)

 
(http://is4.mzstatic.com/image/thumb/Purple122/v4/72/89/cb/7289cbe3-8b43-210e-9542-d74e51e1fc94/source/1200x630bb.jpg)
 (http://is4.mzstatic.com/image/thumb/Purple122/v4/72/89/cb/7289cbe3-8b43-210e-9542-d74e51e1fc94/source/1200x630bb.jpg)

👉 แอพลิเคชันที่ควรมีเมื่อไปอเมริกา

 

โดยเฉพาะเมืองใหญ่ๆ หรือเมืองท่องเที่ยว จะมีร้านอาหารไทยรสชาติต้นตำรับ (Authentic Thai food) อร่อยๆ เยอะมาก อู้ววว ตำถาดก็มี ปลาร้านัวๆ แกงส้มชะอมไข่ ต้มเลือดหมูก็มี นอกจากนี้ยังมีขนมไทยอร่อยๆ ตบท้ายด้วย  หรือจะโทรสั่งตามเพจเฟสบุ๊คคนไทยที่ทำอาหารไทยขาย ไส้อั่วเอย น้ำพริกเอย เดลิเวอรี่ถึงที่เลย สะอาดปลอดภัยไร้สารกันบูด

แต่ครั้นจะไปทานอาหารไทยใน Restaurant บ่อยๆ หรือซื้อทานข้างนอกก็กระเป๋าฟีบเหมือนกัน เพราะออแพร์ ออพัวร์ (Poor) อย่างเรารายได้แสนจะน้อยนิด เราจึงต้องหัดทำอาหารเอง เชื่อว่าออแพร์ทุกคนที่ไม่เคยมีพื้นฐานทำอาหารมาก่อนจบโครงการกลับไปมีสกิลการทำอาหารเพิ่มขึ้นอีกสิบเท่าแน่นอน

แต่ก่อนอื่นเราต้องรู้จักแหล่งวัตถุดิบกันก่อน

ที่ๆ เราจะสามารถหาวัตถุดิบ เครื่องปรุง หรือแม้แต่อุปกรณ์สำหรับทำอาหารไทย ไม่ว่าจะเป็นครก หวดนึ่งข้าวเหนียว ฯลฯ รวมถึงขนมนมเนยที่แสนคุ้นปากในไทยแต่หาไม่ได้ในGrocery ทั่วไปของอเมริกา
สถานที่แห่งนั้นคือ Asian market นั่นเอง!!

https://www.youtube.com/watch?v=Z8ITfW7M3fU

เอเชียนมาร์เก็ต มีทั้งเจ้าของคนไทย คนจีน คนญี่ปุ่น คนเกาหลี คนเขมร คนลาว ฯลฯ โดยถ้าเจ้าของเป็นชนชาติไหนก็จะมีสินค้าของประเทศนั้นเยอะหน่อย แต่ส่วนใหญ่ก็จะมีวัตถุดิบไทยๆ ด้วย เช่นเครื่องแกงต่างๆ กะทิกระป๋อง ผักสด พริกสด ซีอิ๋ว น้ำปลา น้ำจิ้มสุกี้ น้ำพริกเผา เต้าเจี้ยว มาม่า เส้นก๋วยเตี๋ยวชนิดต่างๆ หน่อไม้กระป๋อง เต้าหู้ เนื้อสัตว์ ลูกชิ้นแช่แข็ง ลูกอม ขนมกรุบกรอบ ป๊อกกี้ ฯลฯ 

น้ำพริกยี่ห้อแม่ศรี เป็นยี่ห้อที่พบเห็นได้ทั่วไปในเอเชียนมาร์เก็ตของอเมริกา กระป๋องละ $1 กว่าๆ แต่ทำแกงได้หม้อนึง ประหยัดกว่าไปซื้อกินนอกบ้านมาก
บางที่ก็จะมีผงปรุงรสโลโบขายด้วย ราคาประมาณ $1-2 เท่านั้น


ใบชาต่างๆ

หมูแผ่น หมูหยองก็มีนะ

ผลไม้และผักสด ส่วนใหญ่จะปลูกในอเมริกาเลย เป็นไร่สวนของชาวจีน ว่ากันว่าต้องล้างให้สะอาดเพราะยาฆ่าแมลงเยอะ (ไม่รุ้จริงหรือเปล่า) แต่เราก็ชอบมาซื้อที่นี่เพราะถูกกว่า Grocery ของฝรั่ง แล้วก็มีผักที่เราต้องการ เช่น ผักบุ้ง กุยช่าย ผักกาดขาว ผักคะน้า ที่หาไม่ได้ใน Grocery ของฝรั่ง
แต่ผลไม้ เราจะซื้อผลไม้ฝรั่งกินเพราะมันถูกกว่ามาก พวกเบอร์รี่ถ้าเทียบกับเมืองไทย กินให้คุ้มก่อนกลับไทย พวกผลไม้Tropical พวกนี้มาขายที่อเมริกาแพงมาก แล้วก็ไม่ค่อยหวาน ไม่มีน้ำชุ่มๆ เหมือนซื้อที่ไทย เคยเจอสาลี่แพงมากกก แต่จืดสนิทและแห้งมาก มังคุดลูกแคระแกระไม่มีเนื้อเลย กินผลไม้เมืองนอกดีกว่า

ที่เอเชียนมาร์เก็ตนี้จะมีมุมขายเนื้อสัตว์เหมือนตลาดสดบ้านเราด้วย มีทั้งหมู เป็ด ไก่ ปลา กุ้ง หอย ปลาหมึก เค้าก็จะจับสดๆ แบบนี้แล้วฆ่าให้เราเลย มีบริการล้าง ถอดเกล็ด และสับให้ด้วย เราไม่ค่อยกล้าซื้อเพราะดูสกปรก ส่วนใหญ่จะซื้อเนื้อสัตว์ที่Grocery ฝรั่งมากกว่า 

นอกจากนี้ก็จะมีมุมอาหารแช่แข็ง ลูกชิ้นต่างๆ ซาลาเปา เกี๊ยว แหนม ฯลฯ ซึ่งเราก็นานๆ กินทีเพราะพวกนี้ใส่สารเยอะ ไม่ดีต่อสุขภาพ ไปซื้อแบบที่เขาทำสดๆ ดีกว่า

เอเชียนมาร์เก็ตบางแห่งก็มีมุมร้านอาหารด้วยนะ


มาดูกันว่าตลอด 2 ปี เราทำเมนูอะไรกินบ้าง ??

เราพยายามเลือกเมนูที่กลิ่นไม่ฉุน เพราะบ้านฝรั่งเป็นระบบปิด และเครื่องปรุงของไทย น้ำปลา กะปิ กระเทียม กลิ่นแรงๆ ทั้งนั้น

อาหารส่วนใหญ่เราทำกินเอง ทำเผื่อโฮสบางที เมนูที่ทำบ่อยที่สุดคือผัดไทวุ้นเส้น เพราะโฮสไม่เคยกินวุ้นเส้น และโฮสบอกว่าเราทำอร่อยกว่าที่เค้าเคยกินที่ร้าน (เราดัดแปลงสูตรเล็กน้อย โดยใส่เกลือแทนน้ำปลา)

ข้าวคลุกกะปิ อยากกินมาก พอทำเสร็จได้กินน้ำตาจะไหล คิดถึงบ้าน (หมูหวานนี้ใช้เนื้อไก่แทน แล้วก็ไม่ได้ใส่ซีอิ๊วดำเลยสีไม่ค่อยสวยเท่าไร แต่รสชาติอร่อยมาก T^T )

หมูมะนาวพริกสด กับข้าวสวยร้อนๆ ข้าวหอมมะลิที่นี่อร่อยมาก คงเพราะคัดพิเศษสำหรับส่งออก
ลืมบอกว่าที่นี่เค้ามีหม้อหุงข้าวไฟฟ้าเหมือนเมืองไทยนะ แต่เค้าไม่นิยมใช้กัน เค้าชอบใช้หม้อธรรมดาหุงเอา ก็ออกมาเม็ดสวยอยู่นะ 

ลาบไก่ ปูอัดผัดผงกะหรี่ ใช้เครื่องปรุงโลโบ แล้วก็ซุปมันฝรั่งน่องไก่

วันดีคืนดีก็ต้มมาม่ากิน ที่นี่มีขายมาม่าต้มยำกุ้ง มาม่าเกาหลี มาม่ามาเลย์ก็อร่อยนะ

เมนูนี้ไม่ได้ทำเอง แต่โฮสซื้อชุดผัดผักรวมมิตรแบบแช่แข็งมาให้ วิธีปรุงก็แค่เอาออกมาผัดๆ แล้วใส่เครื่องปรุงที่เค้าให้มา อาหารแช่แข็งแบบนี้ที่นี่สดมากแล้วก็ไม่เค็มเหมือนอาหารแช่แข็งบ้านเราเลย แบบหน้าซองเป็นรูปยังไงทำออกมาก็เป็นอย่างนั้น

เมี่ยงปลานึ่งกินกับขนมจีน อลังการมาก เมนูนี้เพื่อนทำให้ เรามีหน้าที่ซื้อวัตถุดิบ ปลาที่ถูกที่สุดของที่นี่หนีไม่พ้นปลานิล เรียกว่า Tilapia เวลาไปซื้อก็ชี้ว่าจะเอาตัวไหน แล้วก็ให้เขาล้างทำความสะอาด ขอดเกล็ดให้ แต่ต้องรีบบอกว่าอย่าหั่นนะ เพราะฝรั่งเค้าไม่กินปลาทั้งตัวแบบนี้กัน แต่คนเอเชียกินเป็นเรื่องธรรมดา มาถึงก็ล้างอีกรอบ ยัดไส้ปลาด้วยเครื่องสมุนไพร ตะไคร้ใบมะกรูด เอาไปนึ่ง แล้วก็ทำน้ำจิ้มถั่วแซ่บๆๆ เรียกเพื่อนมากินกัน อร่อยมาก

เมนูเพื่อนทำ ผัดกะเพราไข่ดาว ที่ไม่มีใบกะเพรา 555 ขนาดโฮสต์คิดส์ยังมากินด้วยเลย เลี้ยงจนเป็นลูกคนไทยไปแล้ว วันดีคืนดีก็นึ่งข้าวเหนียวให้กินกับชีส

เมนูข้าวมันไก่ เพื่อนทำอีกเช่นกัน อร่อยได้ไม่ต้องใช้โลโบ

อันนี้ดูไม่ค่อยน่ากินเพราะเอาใส่กล่องข้าวไว้ มันคือเมนูขนมจีนแกงเขียวหวานเต้าหู้ เพราะมีช่วงนึงเบื่อไก่มาก หน่อไม้ที่ใช้เป็นหน่อไม้กระป๋อง กับข้าวโพดอ่อนกระป๋อง แล้วก็ใช้ซูกินีแทนฟัก กับพริกหวานเพิ่มสีสันและรสชาติ เครื่องแกงเขียวหวานยี่ห้อแม่ศรีเช่นเคย หลังๆ ใช้ไม่หมดกระป๋องเพราะโฮสต์บอกเผ็ดไป

เมนูโปรดอีกหนึ่งของโฮสต์ เพราะโฮสต์ไม่เคยกินราดหน้า ใช้เส้นหมี่แทนเพราะเส้นหมี่แห้งเก็บได้นาน จริงๆ ผักคะน้าที่นี่ก็มี แต่เราชอบใช้ Bokchoi มากกว่าเพราะถูกกว่า ที่บ้านชอบซื้อเบบี้แครอทก็ใส่ลงไป เห็ดอะไรไม่รู้โฮสชอบซื้อ ผสมๆกับผักกาด เนื้อไก่ ใช้แป้งข้าวโพดแทนแป้งมัน เพราะขี้เกียจไปซื้อ ซื้อมาก็ใช้ไม่หมด เปลืองเงิน

เมนูโปรดของโฮสต์ ทำบ่อยมาก ต้มข่าไก่ หรือ Coconut soup ทำง่ายมากใช้ผงโลโบ หรือจะทำเองก็ได้

เมนูง่ายๆ ข้าวผัด กับแกงจืดผักกาดขาวใส่สาหร่าย

เมนูนี้ก็ทำค่อนข้างบ่อย เพราะขี้เกียจ เลยไปซื้อเกี๊ยวแช่แข็งมาก ลวกเส้นบะหมี่กับผัก ราดซีอิ๊วดำ ปรุงรส อร่อยมาก

ก๋วยเตี๋ยวไก่พะโล้ เส้นเล็ก

อันนี้เพื่อนทำ ก๋วยเตี๋ยวหมูตุ๋น เส้นหมี่ มีลูกชิ้นด้วย




ใครจะเชื่อนี่คือเมนู หมูกระทะ!!! เพื่อนทำให้ หมักหมูหมักเนื้อ ทำน้ำจิ้มรสเด็ด ย่างกันกลิ่นตลบอบอวลห้องไปเลย กินแล้วน้ำตาจะไหลอีกเช่นกัน

ที่เอเชียนมาร์เก็ตมีชาตรามือด้วยนะ เหงาๆ ก็ต้มชาเย็นกิน มีนมข้นหวานขายด้วย

สลัดผลไม้จ้า
บางครั้งเพื่อนก็ตำส้มตำให้กิน วัตถุดิบก็ดัดแปลงกันไปตามที่มี ตำบีทรูทใส่ปลาร้าก็อร่อยนะ กรุบๆกรอบๆ เพราะมะละกอที่นี่แพง

เอเชียนมาร์เก็ตเล็กๆ แถวบ้านไม่มีเต้าหู้ไข่ขาย ทำเองเลยจ้า ตอกไข่ใส่นมถั่วเหลือง ใส่เหลือนิดหน่อย เอาไปนึ่งไฟอ่อนๆ ออกมาหน้าตาเหมือนไข่ม้วน แต่รสชาติกับเนื้อสัมผัสใช่เลย

แล้วก็เอามาทำเมนูนี้ ผัดเต้าหู้ไข่

จริงๆ เมนูที่ทำบ่อยสุดคือแกงมัสมั่น เพราะชอบกินมันฝรั่ง บางครั้งก็กินกับอาจาดและแป้งของชาวเปอร์เซียที่คล้ายๆ โรตี ฟินมาก

แล้วก็ผัดไทย เพราะโฮสต์ชอบขอให้ทำให้กิน บางครั้งก็ไปซื้อกุยช่ายมาใส่จริงๆ กุยช่ายที่นี่กลิ่นไม่แรงเท่าที่ไทย แทบไม่มีกลิ่นเลย บางครั้งก็ใช้ต้นหอมแทนเพราะหาซื้อได้ทั่วไป ฝากโฮสต์ซื้อGroceryธรรมดาเอา ขี้เกียจไปเอเชียนมาร์เก็ต แล้วก็ซื้อเต้าหู้ ที่นี่ไม่มีเต้าหู้เหลืองที่ใส่ผัดไทยนะ มีแต่เต้าหู้ขาวกับเต้าหู้หลอด ก็เลือกเต้าหู้ญี่ปุ่นแบบแข็งที่สุดมา เพื่อเวลาผัดจะได้ไม่เละ น้ำซอสผัดไทยแบบสำเร็จรูปก็มีขายนะ แต่หวานไป ทำเองเลย ใช้น้ำมะขามเปียก น้ำปลา เกลือ น้ำตาล ผัดๆ รวมกับเส้น ใส่ไข่ ใส่ถั่วงอก ใส่กุยช่าย ใส่เต้าหู้ เสิร์ฟพร้อมถั่วลิสงที่ทุบเองกับมือ บีบน้ำมะนาวใส่ อร่อยน้ำตาไหล

ว่างๆ ก็ทำขนมไทยด้วยนะ เคยซื้อถั่วเขียวกะเทาะเปลือกมานั่ง ปั่นลูกชุบจ้า ว่างไปอีก เพราะว่าโฮสต์ไปเที่ยว ทิ้งเราอยู่บ้านคนเดียว

พอให้หายคิดถึงอาหารไทย จริงๆ ทำเยอะกว่านี้ แต่รูปหายไปหมดแล้ว

ไปเอเชียนมาร์เก็ตทีละ $50-60 ทำอาหารให้คนกินได้ทั้งบ้าน ประหยัดมากๆ Healthy ด้วย วิธีทำก็ดูในกูเกิล ในยูทูปเอา ทำๆ ไปก็อร่อยเอง ตอนอยู่ไทยเราไม่เคยทำอาหารเลย มากสุดแค่ไข่เจียวกับผัดกะเพรา มาอยู่นี่ทำแกงกินเอง แม่ไม่เชื่อ เลยต้องถ่ายรูปไปยืนยัน

อยู่ที่ไหนเราก็ Enjoy eating ได้

ปิดท้ายวันนี้ด้วยคำถามที่โฮสต์สงสัย
"Red Curry, Yellow Curry, Green Curry, แกงไหนเผ็ดน้อยสุด?"
ทำเอาเรางงไปเลย Red curry  ยังพอเดาได้ ว่าแกงเผ็ด, Green curry น่าจะเป็นแกงเขียวหวาน, Yelloww curry นี่สิ ต้องไปหาดูในเอเชียนมาร์เก็ตแล้วถึงบางอ้อว่า มันคือแกงกะหรี่นั่นเอง
ไม่รู้อะไรเผ็ดน้อยสุดเลยตอบไปว่าต้มข่าไก่ (Coconut soup) โฮสต์บอกนั่นไม่ใช่แกง นั่นคือซุป 55


บทความที่เกี่ยวข้อง
👉 แหล่งช้อปปิ้งในอเมริกา