วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

Diet restriction - เมื่อโฮสต์มีข้อจัดในการรับประทานอาหาร


"เรื่องอาหาร ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ" ในการเลือกแมตช์กับโฮสต์แฟมิลี่ 

https://dailyfoodtoeat.files.wordpress.com/2018/05/dietary-restrictions-blog.jpg


ข้อจำกัดในการรับประทานอาหารนี้
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลของหลักปฏิบัติทางศาสนา ไลฟ์สไตล์ หรือปัญหาสุขภาพก็ตาม 
ออแพร์จะต้องถามให้ละเอียดก่อนที่จะตกลงแมตช์กับโฮสต์ 

อย่างเช่น โฮสต์ที่เป็น Vegan ไม่ทานเนื้อเลย แต่บางบ้านจะอนุญาตให้ออแพร์ซื้อเนื้อเข้ามาทำอาหารทานเฉพาะสำหรับตัวออแพร์เองได้ แต่บางบ้านจะเคร่งครัดมากๆ จนออแพร์อยู่ไม่ไหวต้องขอรีแมชก็มี

ประเภทของข้อจำกัดในการรับประทานอาหาร ได้แก่

1. แพ้อาหาร (Food allergy) เช่น 

คนที่ร่างกายแพ้กลูเตน จะรับประทานอาหารที่เป็น "Gluten free" 


https://i0.wp.com/images-prod.healthline.com/hlcmsresource/images/AN_images/gluten-free-diet-1296x728.jpg?w=1155&h=1528

Gluten free คือ ผลิตภัณฑ์อาหารที่ปราศจากโปรตีนกลูเตน ซึ่งเป็นสารที่พบอยู่ในธัญพืชจำพวกข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวไรย์ ข้าวทริทิเคลี รวมไปถึงผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ทำจากแป้งสาลีหรือธัญพืชเหล่านี้ด้วย เช่น ซอสถั่วเหลือง เบียร์ ผลิตภัณฑ์จากมอลต์ ขนมปัง พาสต้า เค้ก หรือน้ำสลัด เป็นต้น

หลายคนยังเชื่อว่าอาหาร Gluten Free มีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายอย่าง เช่น ลดน้ำหนัก บรรเทาอาการจากโรคซึมเศร้า ปวดศีรษะ อ่อนเพลียเรื้อรัง หรือช่วยให้รู้สึกกระฉับกระเฉง เป็นต้น 

สำหรับคนทั่วไป สามารถรับประทานอาหารประเภท Gluten Free ได้ แต่ไม่ควรรับประทานเป็นประจำหรือทดแทนอาหารมื้อปกติ เพราะอาจนำไปสู่ภาวะขาดสารอาหารและเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจากการขาดสารอาหารสำคัญ ดังนั้น ผู้ที่ต้องการรับประทานอาหารประเภท Gluten Free เป็นประจำจึงควรปรึกษาแพทย์หรือนักโภชนาการก่อนเสมอ

นอกจากนี้ การแพ้อาหารชนิดอื่นๆ ที่พบบ่อย เช่น 

https://mpics.mgronline.com/pics/Images/560000010963401.JPEG


แพ้ไข่ (Egge free) จะต้องระวังในเบเกอรี่มากๆ เพราะมีไข่เป็นส่วนประกอบแทบทุกอย่าง และบะหมี่ เป็นต้น
แพ้อาหารทะเล (Shellfish free) เช่น ปู กุ้ง กั้ง หอย ปลาหมึก เป็นต้น 
แพ้ปลา (Fish free) แตกต่างจากการแพ้อาหารทะเล ต้องสอบถามให้แน่ชัดว่าแพ้ปลาชนิดใด
แพ้ผลิตภัณฑ์จากถั่วต่างๆ  เช่น ถั่วปากอ้า (broad bean /fava bean) ในผู้ป่วยที่เป็น Sicken cell anemia, ถั่วลิสง (peanut), ถั่วเหลือง (แพ้กลูเตนในถั่วเหลือง) เป็นต้น * ข้อสังเกต Bean , Pea, และ Nut แปลว่าถั่วเหมือนกัน แต่ในภาษาอังกฤษ ไม่เหมือนกัน แตกต่างกันที่เมล็ดและฝัก คนที่แพ้Bean อาจสามารถกิน Nut ได้
แพ้ผลิตภัณฑ์จากนม (Dairy free) เช่น นมวัว ชีส เนย โยเกิร์ต มาการีน ไอศกรีม ซึ่งโฮสต์อาจเลี่ยงไปทานผลิตภัณฑ์นมจากพืชแทน
อื่นๆ เช่น แพ้ข้าวโพด, แพ้ผักผลไม้, แพ้งา, แพ้กะทิ, แพ้สัตว์ปีก เป็นต้น


❗❗ สำหรับออแพร์ที่มีโฮสต์พ่อแม่ หรือเด็กๆ ที่แพ้อาหาร 
ควรสอบถามโฮสต์ให้แน่ใจก่อนว่าอะไรที่สามารถรับประทานได้และไม่ได้โดยเด็ดขาด เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากการแพ้อาหาร ซึ่งรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะเด็กทารกที่ยังไม่สามรถสื่อสารได้ หรือเด็กเล็กๆ ที่ยังเลือกอาหารทานเองไม่ได้ จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ 

https://www.policymed.com/wp-content/uploads/2017/08/The-EpiPen-Whistleblower-Saga-Comes-to-a-Close.png

พวกนี้จะมี "Epi-pen" หรือเข็มฉีด Epinephrine หรืออีกชื่อคือAdrenaline อัตโนมัติ ใช้ในการช่วยชีวิตหรือบรรเทาปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลัน (Anaphylaxis)ในกรณีฉุกเฉิน ก่อนรีบไปพบแพทย์โดยเร็ง สามารถศึกษาวิธีใช้ Epi-pen ได้ที่ http://www.siphhospital.com/th/news/article/share/801/Anaphylaxis


2. Vegetarian / Vegan  (อาหารมังสวิรัติ)  

จะพบมากในชาวยุโรป เพื่อรักษาสุขภาพ เพราะเชื่อว่าเนื้อแดงทำให้ร่างกายเกิดโรค เช่น มะเร็ง โรคอ้วน โรคภูมิแพ้ เป็นต้น บางบ้านเคร่งครัดมาก แม้แต่ไข่ก็ไม่แตะ จะรับประทานผัก ผลไม้ และธัญพืชเป็นหลัก

https://blog.busuu.com/wp-content/uploads/2019/02/how-to-say-vegan-vegetarian-different-languages.jpg


ความแตกต่างของ vegerarian และ vegan

🍏Vegetarian อาหารมังสวิรัติ เป็นอาหารที่ไม่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์ แต่ยังมีนม ไข่ ชีสได้

🍏Vegan หรืออาหารมังสวิรัติบริสุทธิ์ เป็นอาหารที่ไม่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ทุกชนิด ทานได้เฉพาะผัก ผลไม้ ธัญพืชเท่านั้น ซึ่งนอกจากจะระมัดระวังด้านอาหารแล้ว คนที่เป็นวีแกนยังไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์โดยอ้อม เช่น เสื้อผ้า เครื่องสำอาง ด้วยความเชื่อเรื่องการไม่เบียดเบียนสัตว์อีกด้วย อย่างไรก็ตามอาหารวีแกนไม่ได้ยกเว้นผักที่มีกลิ่นฉุนเหมือนผักต้องห้ามของอาหารเจแต่อย่างไร

ออแพร์ไทยอาจจะไม่ชิน เพราะคนไทยน้อยคนมากที่จะเป็นมังสวิรัติ บางคนคิดว่าเป็นข้อดี ถือเป็นการลดน้ำหนักไปในตัว แต่พออยู่ไปสักพักรู้สึกว่าไม่ไหว เพราะกินผักไม่อิ่ม ไม่อยู่ท้อง บางบ้านยืดหยุ่นหน่อย มีโปรตีนเกษตรให้ทาน (โปรตีนเกษตรที่อเมริการสชาติเหมือนเนื้อสัตว์เลย แถมยังมีสารพัดรูปแบบ อร่อยมาก) หรือบางบ้านอนุญาตให้ออแพร์ซื้อเนื้อสัตว์มาทำทานเองส่วนตัวได้


3. Organic food 

https://wellness.healthtian.com/wp-content/uploads/2013/05/Organic-Foods.jpg

อันนี้ไม่ใช่ข้อจำกัดอะไร เป็นแค่ไลฟ์สไตล์ของโฮสต์บางคนที่จะเลือกซื้อเฉพาะอาหารออแกนิกเท่านั้น เพราะดีต่อสุขภาพ เนื่องจากอาหารออแกนิกคืออาหารที่มีกระบวนการผลิตแบบธรรมชาติ ปลอดสารพิษ เช่น เนื้อสัตว์ที่เลี้ยงในระบบเปิด นมวัวที่ได้มาจากแม่วัวที่ได้ฟังเพลงผ่อนคลายความเครียดทุกเช้า ผักผลไม้ที่ไม่มียาฆ่าแมลง เป็นต้น แต่ราคาจะสูงกว่าอาหารทั่วไปมาก หากบ้านไหนที่โฮสต์ซื้อแต่อาหารออร์แกนิกแล้วถือว่าโชคดีมากๆ เลย ไม่ใช่ว่าโฮสต์ทุกบ้านจะกินอาหารออแกร์นิกนะจ๊ะ

4. Keep Kosher 

คำว่า "kosher" (โคเชอร์) หมายถึง "เหมาะสม" หรือ "ยอมรับได้"  
อาหารโคเชอร์ คือมาตรฐานอาหารยิว (Jewish) หรือผู้นับถือศาสนายูดาย ซึ่งมีหลักคัชรูท (Kashrut) เป็นข้อกำหนดเรื่องอาหารที่กำหนดไว้ในคัมภีร์โตราห์ (Torah) ว่าสิ่งใดรับประทานได้/ไม่ได้ การเตรียมอาหารและรับประทานต้องทำอย่างไร คล้ายหลักการอาหารฮาลาล แต่มีข้อกำหนดยิบย่อยมากๆ ใครที่มีโฮสต์เป็นชาวยิวที่Keep kosherแบบเคร่งครัดก็จะลำบากหน่อย


หลักพื้นฐานของอาหารโคเชอร์ มีดังนี้


https://www.thespruceeats.com/thmb/Lwj-WmAOIa03wU76PkyPjkpdK1I=/1500x1000/filters:no_upscale():max_bytes(150000):strip_icc()/introduction-to-kosher-food-2122519_FINAL-5baa4282c9e77c00259399e2.png

1.  ✅เนื้อสัตว์ที่บริโภคได้ เช่น วัว แกะ แพะ กวางไบซัน ปลา ไก่ เป็ด ห่าน และไก่งวง ทั้งนี้สัตว์ดังกล่าวจะต้องฆ่าตามหลักของยิว
     ❌สัตว์ที่บริโภคไม่ได้ เช่น หมู กุ้ง ล๊อบสเตอร์ หอยนางรม หอยลาย ปู ไม่เป็นโคเชอร์
     ❌ห้ามบริโภคส่วนของสัตว์ เครื่องใน ไข่ นม หรือเลือดของสัตว์จำพวกนก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

2.  ✅ ผักและผลไม้ เป็นโคเชอร์ บริโภคได้ แต่ต้องตรวจสอบให้ดี 
     ❌ไม่ให้มีหนอนและแมลงมาตอม เพราะหนอนและแมลงไม่ใช่โคเชอร์

3.  เนื้อสัตว์ เนื้อวัว เนื้อไก่ ไม่สามารถบริโภคพร้อมผลิตภัณฑ์นมได้ เพราะจะมีผลต่อระบบการย่อย 
     ❌ปลาและไข่สามารถบริโภคด้วยกันได้ 
     ❌ห้ามปรุงและเสริฟเนื้อสัตว์และปลาด้วยกันด้วย
     ✅ อนุญาตให้รับประทานผลิตภัณฑ์นมกับไข่ด้วยกันได้

4.  ✅ ผลิตภัณฑ์องุ่นที่เป็นโคเชอร์ต้องผลิตโดยคนยิวเท่านั้น ดังนั้นจะห้ามดื่มไวน์และผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตที่ไม่ใช่คนยิว

5. ของใช้ ภาชนะต่างๆ รวมทั้ง หม้อ กระทะ จาน ช้อน ส้อม มีด และของที่ใช้ปรุงอาหารอื่นๆ ต้องเป็นโคเชอร์ด้วย 
     ❌ ถ้าใช้ปรุงอาหารที่เป็นเนื้อแล้ว ห้ามใช้กับผลิตภัณฑ์นม ถ้าภาชนะใช้กับผลิตภัณฑ์นมก็ห้ามนำไปใช้กับเนื้อ 
     ❌ถ้าภาชนะต่างๆ ใช้กับอาหารที่ไม่โคเชอร์แล้ว ห้ามใช้กับอาหารโคเชอร์อีก 
ซึ่งเป็นข้อกำหนดเฉพาะอาหารร้อน นอกจากนั้น ฟองน้ำ ผ้าเช็ดจาน เตา อ่างล้างจาน เครื่องล้างจาน ต้องแยกกันด้วย เป็นต้น



อาหารโคเชอร์จะมีตราสัญลักษณ์รับรอง ดังภาพ


https://www.godairyfree.org/wp-content/uploads/2006/05/Understanding-Kosher-Labels-Helpful-for-Dairy-Free-Living.jpg

จากประสบการณ์ที่เคยสัมผัสกับครูสอนภาษาอังกฤษชาวยิว และจากออแพร์หลายคนที่มีโฮสต์เป็นชาวยิวในอเมริกาส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเคร่งครัดเท่าไร กินได้ทุกอย่าง ออแพร์ก็จะอิ่มหมีพีมันกันเลยทีเดียว เพราะเรื่องอาหารการกินชาวยิวเต็มที่มากๆ แถมยังมีงานเทศกาลเฉลิมฉลองบ่อยครั้ง แต่ถ้าเป็นบ้านที่เคร่งครัดถือว่าต้องปรับตัวอย่างมากเลยทีเดียว

https://images.heb.com/is/image/HEBGrocery/prd-small/morton-coarse-kosher-salt-001444915.jpg

เรารู้จักแต่ Kosher salt เห็นมีใช้ประกอบอาหารกันแทบทุกบ้านแม้ว่าจะไม่ได้เป็นชาวยิวก็ตาม ต่างจากเกลือทั่วไปคือมีเกล็ดที่ใหญ่กว่า เค็มน้อยกว่า และละลายตัวภายในระยะเวลาสั้น ๆ และรสสัมผัสก็ยังกระจายตัวเข้าไปในอาหารได้รวดเร็วด้วย


5. Halal

อาหารฮาลาล หรือเรียกง่ายๆ คืออาหารของชาวมุสลิม หรือกลุ่มคนที่นับถือศาสนาอิสลาม ดูจะเป็นสิ่งที่คนไทยคุ้นเคยสุดในบรรดาข้อจัดทางอาหารทั้งหมด เพราะเราเรียนรู้กันมาตั้งแต่เด็กๆ แล้วว่าคนอิสลามไม่กินหมู จะกินเนื้อวัวแทน  


https://rainbowbeach.info/wp-content/uploads/2019/12/Halal-Food.jpg


อาหารมุสลิมต้องไม่ขัดต่อบัญญัติอิสลาม คือ ไม่มีส่วนผสมที่ต้องห้าม เช่น เนื้อหมู น้ำมันหมู หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากหมู รวมถึงเลือดสัตว์ไม่ว่าชนิดใด อาหารที่มาจากพืชที่มีพิษและเป็นอันตรายทุกชนิด และอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือมีส่วนประกอบที่เป็นอันตรายและ เป็นพิษ เป็นต้น

คำว่า “อาหารฮาลาล” หมายถึง อาหารที่ได้ผ่านกรรมวิธีในการทำ ผสม ปรุง ประกอบ หรือแปรสภาพ ตามบัญญัติอิสลามโดยคนที่จะปรุงอาหารประเภทนี้ต้องเป็นคนมุสลิมเท่านั้น และยังต้องมีวิธีการปรุงที่สะอาด ส่วนผสมก็ต้องสะอาด ไม่เน่า หรือไม่ส่อว่าอาจมีเชื้อโรค เพราะหลักการอิสลามอนุมัติให้มุสลิมบริโภคสิ่งที่ “อนุมัติ และสภาพดีมีคุณค่า” เช่น เนื้อสัตว์ต้องได้รับการเชือดโดยมุสลิม มีการกล่าวพระนามของพระผู้เป็นเจ้าขณะเชือด มีวิธีการเชือดถูกต้องตามหลักการอิสลาม เป็นต้น โดยสังเกตได้ที่เครื่องหมายฮาลาล

https://image.shutterstock.com/image-vector/halal-sign-design-certificate-tag-260nw-576779845.jpg


ตอนเป็นออแพร์อยู่ที่อเมริกา 2 ปี 

โชคดีที่เราและโฮสต์แฟมิลี่ไม่มีข้อจำกัดในการทานอาหารเลย ทานได้ทุกอย่าง ออร์แกนิกบ้างไม่ออแกร์นิกบ้างปนกันไป แต่สิ่งที่ถือเป็นอาหารแปลกๆ ที่เราได้กินครั้งแรกเลย คือ หอยสังข์ (Conch) อาหารขึ้นชื่อของหมู่เกาะบาฮาม่า

https://blog.madurodive.com/wp-content/uploads/2015/10/Optimized-IMG_2354.jpg

เพราะอยู่ฟลอริด้าอยู่ใกล้บาฮาม่า จึงมีหอยสังข์เยอะมาก เมนูยอดนิยมได้ แก่ Fried conch หอยสังข์ชุบแป้งทอด, conch salad, conch chowder ซุปมะเขือเทศหอยสังข์ เป็นต้น อร่อยดีนะ เนื้อออกหนึบๆ แต่พอกินเสร็จแล้วมาเดินริมหาดเห็นน้องอยู่ในกระดองก็สงสาร งื้ออออ


แถมท้าย 

ฝรั่งส่วนใหญ่จะไม่รับประทานปลาทั้งตัว ไม่ทานเป็ดและห่าน ไม่ทานเครื่องในสัตว์ ตีนไก่ คอไก่ ตูดไก่ เลือดสัตว์ รวมถึงอาหารกลิ่นแรงบางอย่าง เช่น กะปิ ชะอม ปลาร้า 

ถ้าจะทานก็จะทานปลาที่หั่นเป็นชิ้นเรียบร้อยแล้วมากกว่า เห็นฝรั่งหลายๆคนเลยที่แกะปลาไม่เป็น และตกใจเวลาเสิร์ฟปลาทั้งตัวให้ทาน รวมทั้งเวลาไปซื้อปลาที่โกรเซอรี่ คนขายส่วนใหญ่จะสับปลาเป็นชิ้นๆ ให้ ห้ามแทบไม่ทัน เพราะตั้งใจจะเอาไปทอด/นึ่งทั้งตัว
ส่วนเครื่องในสัตว์เขามองว่าไม่ใช่อาหาร ไม่น่ารับประทาน จะแตกต่างจากคนเอเชียและตะวันออกกลางที่คุ้นเคยดีกับการทานสัตว์ทั้งตัวไม่เว้นแม้แต่อวัยวะภายในของสัตว์ < แต่ก็มีโฮสต์บางบ้านที่ไม่ถือ อยากลองทานทุกอย่างที่ออแพร์ทำให้โดยไม่รังเกียจ อย่างน้องออแพร์ที่รู้จักก็สรรหาวัตถุดิบจากเอเชียนมาร์เก็ตไปทำอาหารแปลกๆใหม่ๆให้โฮสต์ทาน เช่น แกงส้มไข่ปลา, ต้มยำตีนไก่ โฮสต์ก็บอกว่าอร่อยดี โฮสต์เคยถามด้วยว่าปกติเรากินแมลงมั้ย เพราะโฮสต์มองว่ามันน่ากลัว แต่คนไทยกินเป็นปกติ ขนาดตั๊กแกนปาทังก้า หรือปลาช็อคเกอร์ที่เคยเป็นปัญหาทำลายระบบนิเวศของไทย คนไทยยังจับกินเรียบไม่พอแถมยังสั่งนำเข้าจากต่างประเทศอีก อยากให้โฮสต์มาลองที่เมืองไทยจัง 55




แหล่งอ้างอิงข้อมูล







วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

hostmomฉัน เป็นชาวโปแลนด์

สวัสดีค่ะ วันนี้จะมาแชร์ประสบการณ์ "การเป็นออแพร์ให้โฮสต์แม่ชาวโปแลนด์" 1 ปีเต็มกันค่ะ (โฮสต์พ่อเป็นชาวเปอร์เซียค่ะ อ่านบทความประสบการณ์การเป็นออแพร์กับโฮสต์เปอร์เซียได้ที่นี่)

https://www.crossed-flag-pins.com/shop/media/image/af/19/00/Flag-Pins-Poland-Thailand.jpg

มาทำความรู้จักชาวโปแลนด์กันค่ะ

ชาวโปแลนด์ที่เราได้รู้จักระหว่างที่เป็นออแพร์ในอเมริกามีอยู่ 3 คนด้วยกัน ได้แก่ โฮสต์มัม(บ้านแรก), เพื่อนออแพร์ (ปีแรก), และครูอาสาสอน ESL ที่ห้องสมุด (ปีสอง) ทั้ง 3 คนเป็นผู้หญิงหมดเลยนะคะ ดังนั้นจะเล่าในมุมมองของเราที่มีต่อชาว Polish ผู้หญิงเท่านั้นค่า

ก่อนอื่นขอแนะนำคร่าวๆ เกี่ยวกับภูมิหลังของประเทศโปแลนด์สักนิด ด้วยความรู้จากGoogleและหนังสือที่เคยอ่านมา เพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจมากขึ้น (ผิดพลาดประการใดต้องขออภัย)

Poland คือประเทศหนึ่งอยู่ตอนกลางของทวีปยุโรป มีพื้นที่ติดกับประเทศเยอรมัน เช็ค ยูเครน เบราลุส และอื่นๆ มีพื้นที่ใหญ่กว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือของบ้านเรา 2 เท่า

https://image.dek-d.com/contentimg/2012/pay/pay2/europe_map3(1).gif

โปแลนด์ถือเป็นประเทศเกิดใหม่ที่ได้แยกตัวออกมา เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 โปแลนด์อยู่ฝ่ายผู้ชนะทำให้ได้พื้นที่ของประเทศเพิ่ม ทำให้กลายเป็นประเทศที่ยิ่งใหญ่ แต่เป็นได้ไม่นาน ต่อมาในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เยอรมันแพ้ ทำให้โปแลนด์ถูกเฉือนแบ่งพื้นที่ให้ประเทศอื่นๆ จนเหลือเท่านี้ และด้วยประเทศโปแลนด์อยู่ตรงกลาง เหมือนเป็นทางผ่านให้เหล่ากองทัพและผู้หลบหนีลี้ภัยเวลาเยอรมันจะไปตีกับรัสเซีย ผลเลยทำให้โปแลนด์กลายเป็นประเทศยากจนจนถึงปัจจุบัน ผู้คนก็เลยอพยพกันไปอยู่ประเทศอื่นๆ เช่น แคนาดา สหรัฐอเมริกา เป็นต้น ครอบครัวโฮสต์แม่เราก็ถูกย้ายมา Philadelphia, USA ตั้งแต่เด็กๆ ส่วนเพื่อนออแพร์เราก็ชอบพูดว่า "ฉันจะไม่กลับไปอยู่ประเทศตัวเองอีก" (พูดแบบนี้อาจทำให้บางคนกลัวการไปโปแลนด์ แต่จริงๆประเทศเค้ามีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามมากๆ เลยค่ะ)


ลักษณะของผู้หญิงโปแลนด์ที่เราเคยเห็น ส่วนใหญ่จะมีผิวขาวมาก ออกไปทางขาวซีด สีผมมีหลากหลายตั้งแต่บลอนด์ทองจนถึงสีน้ำตาลเข้ม ตาโต จมูกโด่ง รูปร่างผอมเพรียวสูงโปร่ง ตามแบบชาวยุโรป
และที่สังเกตเห็นคือ ลักษณะคางที่เป็นเอกลักษณ์ของผู้หญิงโปแลนด์คือจะแหลมและยื่นออกมาเล็กน้อย ถ้าไม่ยิ้มคือหน้าดุเลย

https://i.pinimg.com/236x/99/3f/3c/993f3c0542c42254f7e79ac84c50d5ee--polish-people-regional.jpg

คนโปแลนด์มีภาษาเป็นของตัวเองคือภาษา Polish ทั้งภาษาพูดและเขียน ซึ่งเขาค่อนข้างภูมิใจในภาษาของตนเองมาก เคยมีครั้งนึงคุยกับโฮสต์แม่เรื่องภาษาไทยมีพยัญชนะหลายตัว และขอให้โฮสต์เขียนภาษาโปแลนด์ให้ดูหน่อย ซึ่งในความรู้สึกเรา เราว่ามันคล้ายๆ ภาษาอังกฤษแหละ (ประเทศในแถบยุโรปส่วนใหญ่ตัวอักษรคล้ายๆ ภาษาอังกฤษหมดเลยในความคิดเรา) แค่มีจุด/ขีดเพิ่ม หรือออกเสียงต่างไป แต่โฮสต์หันมามองหน้าและพูดว่า "มันไม่เหมือนภาษาอังกฤษ เขามีภาษาโปแลนด์ของเขา ตัวอักษรเค้ามากกว่าภาษาอังกฤษ"
(โอเค ขอโทษค่ะ ไม่เหมือนก็ไม่เหมือน)

https://i.pinimg.com/originals/d1/f1/17/d1f1170c69ee20acd280498236dd0015.gif

ภาษาโปแลนด์ยากนะ โฮสต์แม่เคยสอนคำเดียว คำว่า cześć แปลว่าสวัสดีในภาษาโปแลนด์ แล้วเลิกสอนเราไปเลย เพราะเราออกเสียงไม่ได้ 5555 

อยากให้ฟังเวลาคนโปแลนด์คุยกัน ภาษาโปแลนด์เป็นภาษาที่พูดเร็วและรัวมากกกกกกกกกกกกกก พอโฮสต์แม่ย้ายมาอยู่อเมริกา ก็เลยพูดภาษาอังกฤษเร็วมากกจนบางครั้งโฮสต์พ่อต้องถามว่า "What did you say?" ตั้งหลายรอบ ก็เลยต้องบอกโฮสต์ว่าให้พูดช้าๆหน่อย ภาษาอังกฤษฉันไม่ค่อยดี ฉันฟังไม่เข้าใจ ตอนแรกๆ ถึงกับให้โฮสต์เขียนโน้ตหรือส่งเมสเสจมาแทนเลย เพราะฟังไม่รู้เรื่องจริงๆ (ปีแรก ภาษาอังกฤษเราแย่มาก)


https://www.youtube.com/watch?v=9F_Iyb0c1X4


ลักษณะนิสัยคนโปแลนด์

เหมือนชาวยุโรปค่ะ คือจะไม่ได้Friendly หรือจู่ๆยิ้มให้/ทักทายคนไม่รู้จักแบบชาวอเมริกัน ตอนไปอยู่กับโฮสต์ช่วงแรกๆ คือกังวลมาก คิดว่าตัวเองทำอะไรให้โฮสต์ไม่พอใจ ทำไมโฮสต์ไม่ยิ้มเลย หน้าดุมากตลอดเวลา แต่พออยู่ไปสักพัก โฮสต์ไว้ใจเรามากขึ้นเค้าก็จะค่อยๆ เปิดเอง เริ่มคุยเล่น ยิ้มให้

จริงๆ เราว่าชาวโปแลนด์นิสัยน่ารักมากเลยนะคะ อ่อนหวาน สุภาพใส่ใจรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เป็นคนโรแมนติกมาก อย่างเช่น เวลาโฮสต์ไปGrocery จะอะไรที่เราชอบกินมาให้โดยสังเกตเอา ไม่ได้ถาม และมันเป็นสิ่งที่เราชอบกินจริงๆ ทำให้เราเซอร์ไพรส์มาก ตอนคริสมาสต์โฮสต์ก็ซื้อของให้หลายอย่างโดยแต่ละอย่างโฮสต์พิถีพิถันเลือกจริงๆ อย่างเช่น กำไลข้อมือ โฮสต์เลือกสีเงินให้ ซึ่งในสายตาฝรั่งคนผิวคล้ำเหมาะกับเครื่องประดับทองมากกว่า แต่โฮสต์แม่บอกว่าเราไม่เคยใส่อะไรสีทองเลย เราจะใส่แต่สีเงินตลอด ก็เลยเลือกสีเงินให้ โดยกำไลมี 2 วง วงหนึ่งเป็นจี้รูปเปลือกหอยกับธงชาติอเมริกา สื่อถึงรัฐฟลอริด้าที่เราอยู่ และอีกวงเป็นจี้รูปพระโพธิสัตว์ สื่อถึงประเทศไทย (ช่างคิด แต่วินาทีนั้นคือเราแบบ นรกจะกินหัวมั้ย 555) แต่ก็appreciateโฮสต์มากๆเลย

อีกอย่างหนึ่งที่ประทับใจ ชาวโปแลนด์มีความรับผิดชอบสูงมาก ทำอะไรเป็นระเบียบแบบแผน เป็นขั้นตอน วางแผนชัดเจนตลอด จริงจังกับเรื่องต่างๆ 

เราก็ไม่เคยเลี้ยงน้อง/หลานมาก่อนนะ พอได้มาเป็นออแพร์รู้สึกเลยว่าการเลี้ยงลูกเป็นอะไรที่วุ่นวาย เราแทบไม่มีเวลาส่วนตัวเลย แล้วถ้ายิ่งต้องเลี้ยงลูกด้วยแล้วไปทำงานนอกบ้านด้วย แต่โฮสต์แม่แสดงให้เราเห็นเลยว่ามันไม่ใช่เรื่องยากถ้าจะทำ โฮสต์แม่ให้เวลากับลูกเต็มที่มากๆ คิดถึงอนาคตมองการณ์ไกลและเตรียมพร้อมไว้ตลอด ถ้าใครเลี้ยงทารกจะรู้ว่าเด็กโตเร็วมาก และทุกเดือนเด็กก็จะเปลี่ยนไป เราต้องมีของเล่น มีอุปกรณ์อะไรที่เหมาะกับเด็กวัยแต่ละเดือนใหม่ๆ ตลอด ซึ่งโฮสต์แม่หาเตรียมให้เราพร้อมโดยไม่ต้องรอ ยังไม่รวมถึงงานบ้าน งานครัว งานซ่อมหลอดไฟ ไปซื้อของเข้าบ้าน งานปาร์ตี้ต่างๆ ที่โฮสต์แม่สามารถทำได้ด้วยตัวคนเดียวและเลี้ยงลูกไปด้วย แถมยังไม่ลืมที่จะดูแลตัวเองให้แข็งแรงและดูดีอยู่เสมอ (แค่หลังคลอด 4 เดือน โฮสต์มัมกลับมาหน้าท้่องแบนราบ มี 11 line แล้วอ่า พูดแล้วก้ก้มลงมองพุงย้อยๆ ของตัวเอง) เรียกได้ว่า จริงจังกับทุกอย่าง ตอนงานเทศกาลสำคัญต่างๆ ก็จะซื้อของมาประดับตกแต่งบ้าน โรแมนติกไปอีก

ส่วนครูสอนภาษาอังกฤษชาวโปแลนด์ที่เรารู้จักก็เป็นคนที่มีความรับผิดชอบสูง และทำงานเป็นระเบียบแบบแผนเช่นกัน เป็นครูที่เราชอบมากที่สุดในบรรดาครูอาสาที่ห้องสมุด เพราะครูจะเตรียมแผนการสอนมาทุกครั้ง สอนได้เข้าใจมากๆ และคุมเวลาได้ดี แถมกิจกรรมแต่ละสัปดาห์ก็น่าสนใจไม่ซ้ำกันเลย (ผิดกับครูอาสาบางท่านที่เรารุ้สึกว่าเค้าไม่ได้ตั้งใจสอนเท่าไร เหมือนมาคุยเล่น ซึ่งตอนแรกๆ เราก็โอเคได้ฝึกพูดภาษาอังกฤษ แต่พอหลายๆ สัปดาห์ก็รู้สึกว่เราจะคุยกันแต่เรื่องเดิม ไม่ได้พัฒนาอะไรก็เลยเลิกเรียนไปเอง)

ซึ่งนิสัยของชาวโปแลนด์เรารู้สึกประทับใจมาก (Feminism ก็มา ฉันไม่ต้องมีผู้ชายก็ได้ ฉันทำเองได้ทุกอย่าง 555 ก็เลยโสดจนทุกวันนี้)

แต่ลักษณะนิสัยที่ไม่ค่อยไว้ใจใครถ้าไม่สนิท และเป็นคนละเอียดมากๆแบบนี้ก็เป็นปัญหาเหมือนกัน เพราะโฮสต์รักลูกมาก และไม่ไว้ใจออแพร์ง่ายๆ จนทำให้ออแพร์คนใหม่ที่มาต่อจากเราอยู่ได้ไม่ครบปี เพราะรู้สึกกดดันที่โฮสต์เฝ้าจับตามองตลอดเวลา


พูดถึงวัฒนธรรมชาวโปแลนด์ 

อยู่ที่อเมริกาเราไม่ค่อยได้เรียนรู้วัฒนธรรมโปแลนด์เท่าไร เพราะด้วยทำเลที่อยู่ตอนนั้น และเป็นปีแรกของการมาอเมริกาด้วย ก็เลยได้แต่เรียนรู้วัฒนธรรมอเมริกัน แต่ที่จำได้คือ อาหารโปแลนด์แสนอร่อยที่โฮสต์แม่ นานๆ จะมีเวลาทำให้กินบ้าง และบางทีโฮสต์ยายก็ทำ/ซื้อส่งมาให้ ได้แก่

Pierogi (เพียโรกี) คือ เกี๊ยวโปแลนด์ อร่อยมาก มีหลายไส้ เช่น ไส้ผัก ไส้เนื้อ ไส้ชีส เป็นต้น เมนูนี้ให้สามผ่านเลย
https://food.fnr.sndimg.com/content/dam/images/food/fullset/2014/2/6/1/CC_emeril-polish-pierogies-recipe_s4x3.jpg.rend.hgtvcom.826.620.suffix/1483736764692.jpeg

Barszcz หรือซุปบีทรูท ก็จะเอาเกี๊ยว Pierogi เนี่ยแหละใส่ลงไปด้วย เป็นอาหารเรียกน้ำย่อย เราไม่ค่อยชอบจานนี้เท่าไร เพราะเราไม่ชอบบีทรูท แต่กินได้


https://liemgthailand.com/wp-content/uploads/2019/02/2562-02-21-10_10_21-Barszcz-Google-Search.png

Gołąbki แปลว่า "little pigeons" คือกำหล่ำปลียัดไส้เนื้อและข้าว ในซอสมะเขือเทศนั่นเอง จานนี้อร่อยยยยย

https://www.opowiastka.com/wp-content/uploads/2018/04/go%C5%82%C4%85bki.jpg

Żurek อันนี้ก็อร่อย โฮสต์ทำให้กินครั้งเดียวตอนวันอีสเตอร์ เพราะเป็น traditional food for Easter season เป็นซุปเปรี้ยวที่กินกับไส้กรอกและไข่ต้ม อันนี้ก็อร่อยยยยยย

https://cdn.tasteatlas.com/Images/Dishes/dc65330f62944b5aa45b514f9db24f4f.jpg?w=600&h=450

ประเพณีของชาวโปแลนด์อย่างหนึ่งที่เราจำได้ คือ 

การแบ่งขนมปังเวเฟอร์บางๆ ที่เรียกว่า "opłatek" ให้กันและกันในคืนวันคริสมาสต์อีฟ

https://aleteiaen.files.wordpress.com/2018/12/WEB3-OPLATEK-CHRISTMAS-EVE-TRADITION-FotoKatolik-CC-BY-SA-2.0.jpg?quality=100&strip=all&w=620&h=310&crop=1

โดยเวเฟอร์นี้ทำมาจากแป้งและน้ำ ทำให้เป็นแผ่นบางๆ และพิมพ์รูปเกี่ยวกับคริสตศาสนา เช่น รูปพระแม่มารีอุ้มพระเยซูคริส เป็นต้น โดยคนที่อาวุโสสุดในบ้าน ส่วนใหญ่จะเป็นพ่อจะหักแบ่งเวเฟอร์นี้ให้กับคนในครอบครัวและคนอาวุโสรองลงมาก็จะทำแบบเดียวกันจนครบทุกคน เพื่อเป็นการขอโทษและขอบคุณสำหรับปีที่ผ่านมา และอวยพรให้มีแต่สิ่งดีๆ เข้ามา แล้วจึงกินชิ้นเวเฟอร์นั้นเพื่อเป็นการรับคำอวยพร หลังจากนั้นก็จะร่วมรับประทานอาหารมื้อพิเศษเล็กๆ กันภายในครอบครัว ถือเป็นประเพณีที่เต็มไปด้วยความหมาย 

ปิดท้ายด้วย นามสกุลชาวโปแลนด์ที่เห็นปุ๊บรู้ปั๊บ 

เพราะมักจะลงท้ายด้วยคำว่า -ska, -ski รวมถึง -cki, -dzki, และ -cka/-dzka เช่น Borkowski, Czerwinski, Kalinowski, Nowakowski , Walczak เป็นต้น

https://ih1.redbubble.net/image.85871838.9853/pp,550x550.jpg