Staying Happy & Healthy
งานออแพร์ไม่ใช่งานง่ายๆ ด้วยชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน สูงสุด 10 ชั่วโมงต่อวัน รวม 45 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ บางคนเลี้ยงเด็กหลายคน บางคนตารางงานไม่แน่นอนหรือต้องทำงานตอนกลางคืน รวมถึงสภาพอากาศ ความเป็นอยู่ อาหารการกินที่อเมริกาที่แตกต่างจากไทย ทำให้บางคนไม่สบาย แต่จะให้ไปหาหมอที่โรงพยาบาลก็แพงสุดๆ ถึงแม้จะมีประกันสุขภาพแต่ก็แพงอยู่ดี และบางประกันต้องสำรองจ่ายไปก่อนแล้วค่อยไปเบิกคืนทีหลัง
https://www.youtube.com/channel/UCFJ8ue7tRlVCK6X4gcmSdJg
สำหรับบทความนี้ ได้รวบรวมปัญหาสุขภาพเล็กๆ น้อยๆ ไม่รุนแรง ที่พบบ่อยในออแพร์ไทยมาให้ พร้อมวิธีดูแลสุขภาพเบื้องต้น (Relief/Remedy) โดยไม่ต้องไปพบแพทย์ และศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วย จะได้สามารถบอกอาการโฮสต์ หมอ หรือเภสัชที่ร้านขายยาได้
ปัญหาสุขภาพทางกายที่พบบ่อยในออแพร์ไทย ได้แก่
- ผิวแห้ง(Dry Skin) ผมร่วง(Hair loss) เลือดออกในจมูก(Nosebleeds) เพราะอากาศแห้ง
- ไข้หวัดธรรมดา (Common Cold)
- ปวดท้อง (Stomachache) เช่น ท้องอืด ปวดมวนท้อง (Gas pain, Bloating), ปวดท้องแบบอาหารไม่ย่อย (indigestion), ท้องเสีย (Diarrhea), ท้องผูก (Constipation), ปวดประจำเดือน (Period cramp)
- ปัสสาวะแสบขัด (Dysuria)
- ปวดเมื่อย เช่น ปวดหลัง (Back pain) ปวดขา (Leg pain)
หากมีปัญหาสุขภาพเกิดขึ้น ควรทำอย่างไร?
- ดูแลตามอาการเบื้องต้น บอกให้โฮสต์รับรู้ไว้ และลองขอยาสามัญประจำบ้านของโฮสต์มาทานก่อน
- หากที่บ้านไม่มียา สามารถไปซื้อยาได้ที่ร้านขายยา และGrocery เช่น CVS, Walgreen, Walmart, Target เป็นต้น
- เช็คข้อมูลประกันสุขภาพของตัวเองว่าสามารถไปพบแพทย์ได้ไหนบ้าง ต้องสำรองเงินจ่ายก่อนหรือไม่ และเตรียมเอกสารไปให้ครบถ้วน
- การไปพบแพทย์ ส่วนใหญ่ตามรพ.จะมีล่ามแปลภาษาให้ทางโทรศัพท์ แต่ถ้าให้ดีควรรู้คำศัพท์เบื้องต้นเพื่อให้พูดคุยกับแพทย์ได้ ดังนี้ I have a/an...........อาการที่เป็น (ลักษณะอาการ ตำแหน่ง ความรุนแรง), ระยะเวลาที่เริ่มเป็น, เวลาที่รับประทานยาครั้งสุดท้าย, เคยแพ้ยาอะไรไหม, ถ้าเป็นปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพสตรีต้องบอกวันที่ประจำเดือนเริ่มมาครั้งสุดท้าย เป็นต้น
ปัญหาสุขภาพทางกายที่พบบ่อยในออแพร์ไทย
1. ผิวแห้ง(Dry Skin) ผมร่วง(Hair loss) เลือดออกในจมูก(Nosebleeds) เพราะอากาศแห้งเมืองไทยมีสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ตัวเหนียว เหงื่อออกทั้งวัน พอมาอยู่อเมริกา ความชื้นในอากาศไม่สูงเท่าเมืองไทย แถมทุกบ้านใช้เครื่องปรับอากาศหมด หน้าหนาวอากาศหนาวมาก หรือต้องล้างมือทั้งวันจนมือแห้ง หลายๆ คนหนีไม่พ้นปัญหาผิวแห้ง
(Photo by Moose Photos from Pexels)
- ไม่ต้องอาบน้ำบ่อย คนที่นี่อาบน้ำแค่วันละครั้ง ครั้งละ 5-10 นาทีพอ อย่าอาบน้ำนาน
- ใช้สบู่อ่อนๆ เช่น Cetaphil, Oilatum-AD, Aquanil หรือสบู่ที่ผสมมอยส์เจอไรเซอร์ เช่น Dove, Olay, Basis
- สระผมโดยใช้แชมพูที่ช่วยลดผมร่วงและช่วยให้ผมแข็งแรง
- ถ้าเป็นไปได้พยายามอย่าอาบน้ำ/สระผมด้วยน้ำอุ่น อย่าเกา หรือขยี้ผมแรง (ให้ใช้ปลายนิ้วนวดเบาๆ)
- ทาโลชั่น ครีม น้ำมันบำรุงผิว มอยส์เจอไรเซอร์ วาสลีน/ปิโตรเลียมเจลทาผิว
- ควรติดตั้งเครื่องพ่นละอองไอน้ำ (humudifier) ในบ้าน
- ใช้ไม้พันสำลีทาวาสลีน/ปิโตรเลียมเจลบางๆในรูจมูกก่อนนอน หรือพ่นsaline nasal product
- อย่าลืมดื่มน้ำให้เพียงพอ
- รับประทานอาหารที่ช่วยเพิ่มไขมันดีให้ผิวหนัง ได้แก่ ปลา salmon, mackerel, herring อะโวคาโด ถั่ววอลนัท เมล็ดทานตะวัน Sweet Potatoes Bell Peppersสีเหลืองหรือแดง บร็อคโคลี มะเขือเทศ ถั่วเหลือง Dark Chocolate ชาเขียว และไวน์แดง เป็นต้น
- รับประทานอาหารที่ช่วยลดผมร่วงและช่วยให้ผมแข็งแรง ได้แก่ ถั่วต่างๆ หอยนางรม ผักขม Sweet potetoes เนื้อวัว ไข่ และปลาแซลมอล เป็นต้น
- รับประทานวิตามินเสริม เช่น คอลลาเจน, Biotin, Iron, Zinc, วิตามินซี, Fish oil, น้ำมัน Evening primrose, หรือพวกวิตามินรวม Hair Skin & Nail Vitamin
- สวมถุงมือเวลาล้างจาน ล้างขวดนม ใช้ครีมทามือ และสวมถุงมือในหน้าหนาว
- สำหรับคนที่ผิวแห้งมากจนเป็นผื่น Eczema ให้ทาผื่นด้วยครีมสำหรับ Eczema หรือ Aquaphor
- พยายามไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์เช็ดผิว
โรคไข้หวัดติดต่อได้ง่าย เวลาเด็กที่เลี้ยงเป็น ออแพร์ก็ติดหวัดจากเด็ก พ่อแม่ก็ติดหวัดด้วย เป็นหวัดกันทั้งบ้าน
(https://www.pexels.com/photo/short-red-hair-woman-blowing-her-nose-41284/)
การดูแลเมื่อเป็นไข้หวัดธรรมดา เป็นการดูแลรักษาตามอาการ ส่วนใหญ่หายได้เองภายใน 1 สัปดาห์โดยไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ เพราะเกิดจากเชื้อไวรัสธรรมดา
- หากมีไข้ (fever) ให้รับประทานยาลดไข้ เช่น Paracetamol, Ibuprofen, Tylenol
- ร่วมกับการเช็ดตัวลดไข้ หรือใช้แผ่นลดไข้แปะหน้าผาก และดื่มน้ำเยอะๆ
- หากคัดจมูก (sniffle nose) มีน้ำมูกไหล (running nose) ให้ทานยา Afrin, Alka seltzer plus, Sinal sprayพ่นจมูก หรือใช้น้ำเกลือNSS ล้างจมูกตอนเช้าหลังตื่นนอน ก่อนนอนให้ทา Vick ที่จมูกและหน้าอกก่อนนอน และเปิดเครื่องพ่นละออง humudifier
- ถ้ามีอาการไอ (cough) เจ็บคอ (sore throat) ให้กลั้วคอด้วยน้ำเกลือ, ดื่มน้ำอุ่น, น้ำมะนาวผสมน้ำผึ้ง, ชาผสมน้ำผึ้ง หรือนมจืดใส่น้ำผึ้งอุ่นๆ อมยาอมแก้เจ็บคอ เช่น Cepacol อมลูกอมเย็นๆ หรือใช้ sore throat spray พ่นในลำคอ
- ยาแก้หวัด เช่น Delsym, NyQuil (ยานี้ออกฤทธิ์ดีมาก แต่อาจทำให้ง่วงนอนเพราะต้องการให้พักผ่อนนอนหลับเยอะๆ ช่วยให้หายหวัดได้เร็ว)
- พักผ่อนมากๆ
- หากมีอาการคลื่นไส้ ให้รับประทานอาหารอ่อน อุ่นๆ เช่น ซุปไก่ ข้าวต้ม
- รับประทานวิตามินซี (อย่างน้อย 500 มิลลิกรัมทุกวัน) หรือผักผลไม้ที่อุดมด้วยวิตามินซี เช่น ส้ม และผลไม้ตระกูลเบอร์รี่
- หาก 3 วันแล้วไข้ยังไม่ลด หรือมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย เช่น น้ำมูก หรือเสมหะเป็นสีเหลือง เขียว คอแดง ต่อมน้ำเหลืองโต ควรไปพบแพทย์
https://www.youtube.com/channel/UCPgbq18UvNpwmx2Y8dqWCLA
3. ปวดท้อง (Stomachache)
เนื่องจากอาหารการกินที่นี่ต่างจากเมืองไทยมาก เพราะวันๆ กินแต่เนย นม ชีส ขนมปัง เมล็ดถั่วต่างๆ ทำให้มีอาการปวดท้อง ท้องอืดบ่อยมาก ส่วนอาการท้องเสียไม่ค่อยเป็นเพราะอาหารที่นี่สะอาด
การดูแลเมื่อมีอาการท้องอืด ปวดมวนท้อง (gas pain, bloating) อาหารไม่ย่อย (indigestion)
- เรอ ผายลม หรือถ่ายอุจจาระออกมา
- พยายามเคลื่อนไหวร่างกาย
- ดื่มชา เช่น anise, chamomile, ginger, peppermint
- พยายามหลีกเลี่ยงการรับประทานพวก น้ำตาลเทียมเช่น aspartame, sorbitol, maltitol ผัก broccoli, cabbage, cauliflower น้ำลูกพรุน น้ำแอ้ปเปิ้ล ผลไม้แห้ง ผลิตภัณฑ์นม เนย เครื่องดื่มที่มีไฟเบอร์ น้ำตาล และโซดา อาหารทอด ไขมันสูง กระเทียม หัวหอม ถั่วต่างๆ และอาหารเผ็ด เป็นต้น
- ทานยาขับลม (Antiflatulent) ได้แก่ Simethicone เช่นยี่ห้อ Gas-X, Mylanta Gas, Phazyme หรือ Antacid, Alka-Seltzer (คล้ายยาอีโน เป็นเม็ดผงฟู่ผสมน้ำเปล่าดื่ม)
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีเกลือแร่ผสม
- รับประทานอาหารที่ทำให้ท้องผูก " BRAT diet." ได้แก่ Banana, Rice, Apple, Toast รวมถึง Sweet potato และ Peanut butter
- รับประทานยาAnti-diarrhea หรือ Stomach relief เช่น Loperamide (Imodium), Bismuth subsalicylate (Kaopectate, Pepto-Bismol)
- หาก 2 วันแล้วอาการท้องเสียยังไม่ดีขึ้น หรือมีไข้ร่วมด้วย ถ่ายเป็นเลือดปน ปวดท้องมาก มีอาการขาดน้ำเช่น ริมฝีปากแห้ง ควรรีบไปพบแพทย์
- การดูแลตรงข้ามกับอาการท้องเสียเลย คือให้รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผักผลไม้ และธัญพืช โดยเฉพาะ Plum, Prune, Pear
- รับประทานอาหารที่มี Probiotic เช่น โยเกิร์ต ผักดอง กิมจิ หรือรับประทาน probiotic supplement
- หลีกเลี่ยง" BRAT diet." ซึ่งทำให้ท้องผูก ได้แก่ Banana, Rice, Apple, Toast รวมถึง Sweet potato และ Peanut butter
- ดื่มน้ำมากๆ
- พยายามเคลื่อนไหวร่างกายและออกกำลังกาย
- รับประทานยาระบาย (Laxative) มีหลายประเภท ได้แก่
- Bulk-forming fiber supplements ยาที่มีส่วนประกอบของไฟเบอร์ที่ช่วยให้อุจจาระรวมกันเป็นก้อนและนุ่ม เช่น Citrucel, FiberCon, และ Metamucil สามารถรับประทานได้ทุกวัน ควรดื่มน้ำมากๆ ร่วมด้วย มีผลข้างเคียงทำให้มีลมในกระเพาะอาหาร หรือผายลมบ่อย
- Osmotic laxatives such ยาที่ช่วยให้น้ำลำเลียงไปยังระบบย่อยอาหารเพิ่มขึ้น ช่วยให้อุจจาระนิ่ม เช่น Lactulose, Miralax, Milk of Magnesia, และ Sorbitol
- Stimulant laxatives เป็นยาถ่าย เช่น Dulcolax และ Senekot ออกฤทธิ์รวดเร็ว
- Stool softeners เป็นยาที่ช่วยให้อุจจาระนิ่มสำหรับคนที่ท้องผูกตั้งแต่เด็ก เช่น Surfak - หาก 3 วันแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดท้องมาก มีเลือดในอุจจาระ (blood in stool) น้ำหนักลด (weight loss) ควรไปพบแพทย์
อาการปวดประจำเดือน (Period cramp)
- วางถุงน้ำร้อน หรือ (hot pack) ห่อผ้าวางบนหน้าท้อง/ท้องน้อย
- พักผ่อน
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมัน น้ำตาล คาเฟอีน หรือแอลกอฮอล์
- รับประทานยาแก้ปวด เช่น ibuprofen (Advil), naproxen (Aleve), or acetaminophen (Tylenol)
- หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- สังเกตอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดท้องมากๆ มีเลือดออกทางช่องคลอดหรือประจำเดือนผิดปกติ (สี/กลิ่น/ปริมาณผิดปกติ) มีไข้ เป็นต้น ควรรีบไปพบแพทย์
เป็นปัญหาที่ได้ยินจากเพื่อนออแพร์หลายคน เพราะว่าห้องน้ำออแพร์อยู่ข้างนอกห้องนอน วันหยุดก็หมกตัวอยู่แต่ในห้องไม่ค่อยออกมาเข้าห้องน้ำ หรือว่าเลี้ยงเด็กยุ่งมากจนทำให้ต้องกลั้นปัสสาวะบ่อยๆ ต่อมาก็มีอาการปัสสาวะแสบขัด อยากปัสสาวะแต่ก็ไม่ค่อยออก และเจ็บปวดทรมานมาก บางคนมีเลือดปนออกมาด้วย
(https://draxe.com/wp-content/uploads/2018/09/Dysuria_graphic.jpg)
วิธีการป้องกัน และดูแลอาการเบื้องต้น
- พยายามดื่มน้ำเยอะๆ
- อย่ากลั้นปัสสาวะ
- ดื่มน้ำแคนเบอรี่ และน้ำผลไม้ตระกูลเบอร์รี่
- รับประทานอาหารที่มี Probiotic สูง เช่น โยเกิร์ต ผักดอง
- สังเกตอาการ หากอาการไม่ดีขึ้น ปวดแสบขัดมากเวลาปัสสสาวะ ปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะมีเลือดปน ปัสสาวะสีผิดปกติ ขุ่น ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้บ่อยเนื่องจากการใช้ท่าทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น อุ้มเด็ก ถือของหนัก ก้มหยิบของ หรือการอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานานเกินไป หรือการออกกำลังกายแบบหักโหม สามารถป้องกันและบรรเทาอาการได้ง่ายๆ ดังนี้
pixabay.com
- ใช้ท่าทางให้ถูก
- เปลี่ยนท่าบ่อยๆ ไม่นั่งอยู่ในทางเดิมนานๆ
- พักการใช้งาน
- ออกกำลังกาย ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เช่น โยคะ เต้นแอโรบิก ว่ายน้ำ
👉 การออกกำลังกายเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยร่างกาย - ไม่สะพายกระเป๋า หรือถือของหนัก ใช้รถเข็นช่วยแทน
- ใช้ยาทาบรรเทาปวด (pain relief cream) เช่น Lidocain cream, Aspercream, Icyhot cream
- รับประทานยาแก้ปวด เช่น Tylenol (acetaminophen), ibuprofen
- แปะแผ่นกอเอี๊ยะ หรือแผ่นบรรเทาปวด (Pain relieving pad) เช่น Salonpas
- ประคบอุ่นหรืออาบน้ำอุ่น นวดบรรเทาปวด
- หากปวดขา ให้พักยกขาสูง โดยนั่งเอาขาพาดเก้าอี้ หรือหมอน หรือนอนเอาขาพาดผนัง
บทความที่เกี่ยวข้อง