👉 ออแพร์คืออะไร
👉 ขั้นตอนการเป็นออแพร์ประวัติความเป็นมาของโครงการออแพร์ในอเมริกา
หนังสือพิมพ์ The New York Times ฉบับวันพุธที่ 11 มิถุนายน ค.ศ.1986
ลงตีพิมพ์เนื้อหาเกี่ยวกับการมาถึงอเมริกาของออแพร์กลุ่มแรก
(https://www.aupairinamerica.com/images/NY-Times_6_86.gif)
ปีค.ศ. 1986 โครงการออแพร์ในอเมริกาเริ่มต้นโดยเอเจนซี่ 2 บริษัท (หนึ่งในนั้นคือ Au Pair in America) ลงทะเบียนกับ the United States Information Agency (USIA) เพื่อจัดหาออแพร์จากทั่วโลกมายังสหรัฐอเมริกา ในเดือนมิถุนายนของปีนั้น ออแพร์กลุ่มแรกซึ่งประกอบด้วยหญิงสาว 35 คน และชายหนุ่ม 1 คนจาก Belgium, Britain, Denmark, France, Ireland, Norway, Sweden และ West Germany ได้เดินทางมาถึงอเมริกา
ออแพร์กลุ่มแรกได้ปฐมนิเทศที่ Roosevelt Hotel ใน Manhattan เป็นเวลา 4 วัน ก่อนจะเดินทางไปยังบ้านโฮสต์แฟมิลี่ใน New York, New Jersey, Connecticut, Maryland, Pennsylvania, Massachusetts, Virginia, Chicago และ San Francisco.
Roosevelt Hotel เปรียบเสมือน Au Pair's training school แห่งแรกในอเมริกา
(https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/2/20/Roosevelt_Hotel.jpg/1024px-Roosevelt_Hotel.jpg)
ปีค.ศ.1986-1988 โครงการออแพร์ยังอยู่ในช่วงทดลองเป็นเวลา 2 ปี โดยยึดต้นแบบตามยุโรป มีจำนวนออแพร์ในระยะนี้จำนวน 200 คน
ปีค.ศ.1988 สภาคองเกรสได้อนุมัติให้มีโครงการนี้ต่อไป โครงการออแพร์ในอเมริกาจึงถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการ (แต่ยังต้องได้รับการอนุมัติจากสภาคองเกรสทุก 1- 2 ปี) และจำนวนออแพร์ที่เดินทางมาอเมริกามีเพิ่มมากขึ้นถึง 1,600 คน
ปีค.ศ. 1989 เอเจนซี่ใหม่อีก 6 บริษัทได้เข้าร่วมโครงการออแพร์ ได้แก่ AuPair Care, Culturalcare Au Pair, Go Au Pair เป็นต้น
ปีค.ศ.1994 The U.S. Department of Labor (DoL) ได้กำหนดค่าแรงขั้นต่ำของออแพร์ขึ้น โดยคำนวณจากค่าแรงขั้นต่ำของแรงงานในประเทศหักลบค่าอาหารและค่าที่พักออก
ปีค.ศ. 1995 The Department of State (DoS) ได้ประกาศกฏระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการคัดเลือกและตรวจสอบคุณสมบัติของออแพร์ขึ้นอย่างเป็นทางการ
ปีค.ศ.1996 ค่าจ้างออแพร์คือ $128.25 ต่อสัปดาห์
ปีค.ศ.1997 - มีข่าวเด็กในความดูแลของออแพร์เสียชีวิต จึงมีการเพิ่มระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณสมบัติของออแพร์มากขึ้น และให้มีการปฐมนิเทศออแพร์
- สมาชิกวุฒิสภามีมติให้โครงการออแพร์ในอเมริกาเป็นโครงการถาวร
- ค่าจ้างออแพร์เพิ่มเป็น $139.05 ต่อสัปดาห์
ปีค.ศ.1999 เปลี่ยนหน่วยงานที่ดูแลโครงการออแพร์ไปขึ้นกับสำนักงานการศึกษาและวัฒนธรรม (Department of State, Educational & Cultural Affairs Bureau (ECA))
ปีค.ศ.2001 เกิดโครงการ The EduCare program ขึ้น สำหรับโฮสต์แฟมิลี่ที่มีเด็กวัยเรียนและต้องการชั่วโมงการดูแลน้อยกว่าออแพร์ปกติ
ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างAu PairและEduCare
(https://cdmigrante.org/wp-content/uploads/2018/08/Shortchanged.pdf)
ปีค.ศ.2002 เกิดระบบติดตามและบันทึกข้อมูลของนักเรียนในอเมริกา (วีซ่า F, M, และ J) เรียกว่า Student and Exchange Visitor Information System (SEVIS)
ปีค.ศ.2004 กำหนดให้ออแพร์สามารถต่อปีสองได้ 6, 9, หรือ 12 เดือน
ปีค.ศ.2004 กำหนดให้ออแพร์สามารถต่อปีสองได้ 6, 9, หรือ 12 เดือน
ปีค.ศ.2007 ค่าจ้างออแพร์เพิ่มเป็น $157.95 ต่อสัปดาห์
ปีค.ศ.2008 ค่าจ้างออแพร์เพิ่มเป็น $176.85 ต่อสัปดาห์
ปีค.ศ.2009 ค่าจ้างออแพร์เพิ่มเป็น $195.75 ต่อสัปดาห์
👉 ทำไมออแพร์ในอเมริกาได้เงินแค่ $195.75 ต่อสัปดาห์
ปีค.ศ.2014 มีการฟ้องร้องคดีโดยออแพร์ 11 คนจากประเทศ Colombia, Australia, Germany, South Africa และ Mexico ต่อศาลเกี่ยวกับการจ่ายค่าแรงที่ไม่เป็นธรรม การฟ้องร้องนี้ใช้เวลาหลายปีจนในที่สุด ศาลมีคำสั่งให้เอเจนซี่ที่เกี่ยวข้อง 15 บริษัทจ่ายเงินชดใช้จำนวน $65,500,000 ให้ออแพร์กว่า 10,000 คนที่ทำงานอยู่ระหว่าง1 มกราคม 2009 ถึง 28 ตุลาคม 2018 (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่)
ปีค.ศ.2015 - มีจำนวนเอเจนซี่เพิ่มขึ้นเป็น15บริษัท
- ออแพร์ที่เดินทางเข้ามาในประเทศสหรัฐอเมริกามีจำนวน 17,588 คน โดยอันดับหนึ่งมาจากประเทศเยอรมัน รองลงมาคือบราซิล และโคลัมเบีย ตามลำดับ
*Data was provided by the US Department of State
- การขอวีซ่าออแพร์จากประเทศอินเดียและฟิลิปปินส์ถูกจำกัด
- The Matahari Women Workers’ Center ในเมือง Boston รัฐMassachusetts เรียกร้องให้กฏหมายคุ้มครองแรงงานในรัฐแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Domestic Workers Bill of Rights) คุ้มครองออแพร์ทุกคนในรัฐผ่านการเห็นชอบจากศาล (อ่านข่าวเพิ่มเติมที่นี่)
ปีค.ศ.2017 - จำนวนออแพร์ที่เดินทางเข้ามาในประเทศสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นมากถึง 20,000 กว่าคน
- เดือนสิงหาคม ปีค.ศ.2017 มีข่าวว่านายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีในขณะนั้นที่มีนโยบาย “Buy American, Hire American” ต้องการยกเลิกโครงการแลกเปลี่ยนภายใต้วีซ่า J-1 รวมทั้งโครงการออแพร์ด้วย แต่ละเอเจนซี่พยายามทุกวิถีทางให้โครงการออแพร์ในอเมริกายังมีต่อไป (อ่านข่าวเพิ่มเติมที่นี่)
ปีค.ศ.2018 - ผลจากนโยบายของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ มีการเปลี่ยนกฏหมายการเสียภาษีของออแพร์ โดยยกเลิกค่าลดหย่อนส่วนบุคคล $4050 ทำให้ออแพร์ต้องจ่ายภาษีรายได้บุคคลเพิ่มขึ้นจากปี2017อย่างมาก จาก$613 ในปี 2017 เป็น $1031ในปี 2018 (คำนวณจากออแพร์ที่มีรายได้ทั้งปี $195.75x52 weeks)
👉 2018 Paying Tax for Au Pair (Step by step)
- การขอวีซ่าจากประเทศไทย เม็กซิโก และโคลัมเบียมีอัตราถูกปฏิเสธสูงมาก
ประวัติออแพร์ในอเมริกาในประเทศไทย
(http://www.thaiaupairclub.com)
สำหรับโครงการออแพร์ในอเมริกาเริ่มต้นอย่างไรไม่มีหลักฐานแน่ชัด คาดว่ามีมานานกว่า 27 ปี แต่เพิ่งเป็นที่รู้จักมากขึ้นในไทยเมื่อประมาณ 10 กว่าปีก่อน หลังจากที่พี่ธัญญา อดีตออแพร์ในอเมริกา (ปี2003-2005)ได้เขียนกระทู้ I am Au Pair ขึ้นมาบนเว็บไซต์การศึกษาต่อต่างประเทศแห่งหนึ่ง (ปัจจุบันเว็บไซต์นี้ถูกปิดไปแล้ว) กระทู้นี้ได้รับความสนใจอย่างมาก จนพี่ธัญญ่าได้ตัดสินใจทำเว็บไซต์ Thai Au Pair Club และเขียนหนังสือเกี่ยวกับออแพร์ในอเมริกาขึ้นมา 2 เล่ม ได้แก่ เที่ยวฟรีมีตังค์ใช้ สไตล์ออแพร์ และ โกอินเตอร์แบบง่ายๆ สไตล์ออแพร์
เว็บไซต์ไทยออแพร์คลับ เป็นชุมชนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของชาวออแพร์ และเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่โครงการออแพร์ให้เป็นที่รู้จักในประเทศไทย
(http://www.thaiaupairclub.com)
(https://www.bloggang.com/data/b/blackcat024/picture/1242529004.jpg)
(https://storage.naiin.com/system/application/bookstore/resource/product/2011/2006/9984803_250.jpg)
และหลังจากนั้นจำนวนออแพร์ไทยที่เข้าร่วมโครงการก็มากขึ้นๆ จนกระทุ่งยุคโซเชียลมีเดียที่ทำให้การประชาสัมพันธ์โครงการง่ายและเข้าถึงผู้คนมากขึ้น มีเว็บบอร์ด กระทู้ บล็อก Facebook Line และYoutube สำหรับแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิดเห็น และถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตออแพร์ในอเมริกามากมาย ทำให้คนไทยสนใจมาเป็นออแพร์ในอเมริกาจำนวนมากจนติดอันดับ 1 ใน 10 ชาติที่มาเป็นออแพร์ในอเมริกา ขณะเดียวกัน จำนวนเอเจนซี่ในไทยก็เพิ่มมากขึ้นด้วย
สถิติจำนวนคนไทยที่เข้าร่วมโครงการออแพร์ในอเมริกาในแต่ละปี
สถิติจำนวนออแพร์ใหม่ที่เข้าร่วมโครงการ ปี 2017
(https://j1visa.state.gov/wp-content/uploads/2018/04/Au-Pair-Flyer-2017.pdf?fbclid=IwAR2fLiPDBVbJZYdrrdJquMXBevMIFBl-mbX1HD3pYmobJ_LjKXJbkWh5jO0)
สถิติจำนวนออแพร์ใหม่ที่เข้าร่วมโครงการ ปี 2018
https://j1visa.state.gov/wp-content/uploads/2019/03/Au-Pair-Flyer-2018-web.pdf
👉 อยากเป็นออแพร์ ไปเอเจนซี่ไหนดี?
👉 รีวิวชีวิตออแพร์ในอเมริกากับปาย TheFooจนกระทั่งปี 2018 เริ่มมีข่าวการปฏิเสธวีซ่าของออแพร์ไทยจำนวนมาก ทำให้จำนวนออแพร์ไทยที่สามารถเข้าร่วมโครงการได้น้อยลง บางคนตัดสินใจไปร่วมโครงการออแพร์ทางฝั่งประเทศยุโรปแทน ผู้ที่เป็นออแพร์ในอเมริกาอยู่ในขณะนั้นมีความเสี่ยงในการถูกปฏิเสธการต่อวีซ่าปีสอง หลายๆ เอเจนซี่แนะนำให้โฮสต์แฟมิลี่ที่ต้องการออแพร์ไทยเลือกเฉพาะคนที่อยู่ในประเทศแล้วเท่านั้น เอเจนซี่เล็กๆในไทยยกเลิกการส่งออแพร์ไทยมาอเมริกา ปัจจุบันมีเอเจนซี่ในไทย 8 บริษัท
👉 อยากเป็นออแพร์ในอเมริกา ไปเอเจนซี่ไหนดี? (อัพเดทMarch 2019)
ที่มา
https://www.nytimes.com/1986/06/11/garden/au-pair-in-america-first-group-arrives.html
https://goaupairglendale.wordpress.com/2011/04/13/the-au-pair-program-program-history/