หน้าเว็บ

วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2562

การขอความช่วยเหลือสำหรับออแพร์ไทยในอเมริกา

          สำหรับหลายๆ คน การเป็นออแพร์ในอเมริกาอาจจะเป็นการเดินทางไกลครั้งแรก และห่างจากบ้านเมืองที่เคยอยู่นานที่สุดในชีวิตที่ผ่านมาเลยก็ว่าได้ ความรู้สึกที่มาอเมริกาครั้งแรกนั้น เหมือนเราเป็นคนตัวเล็กๆ ในโลกใบใหญ่ อะไรๆ ก็ดูแปลกใหม่ไปหมด ทั้งภาษา วัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ กฏหมายบ้านเมือง ยิ่งถ้าได้ไปอยู่ในแถบชนบทที่ห่างไกลจากเพื่อนๆ คนไทยด้วยแล้ว เสมือนเราอยู่ตัวคนเดียวเลย ดังนั้น จะดีกว่าหากเรารู้ว่าเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นเราสามารถขอความช่วยเหลือจากใครได้บ้างในอเมริกา เชื่อว่าพี่ๆ น้องๆ คนไทยทุกกลุ่มยินดีอย่างยิ่งที่จะช่วยเหลือ แนะนำ และเป็นกำลังใจให้ออแพร์ไทยทุกคน
(https://cdn.pixabay.com/photo/2015/06/01/06/32/hand-792920_1280.jpgX\)

หากเกิดปัญหาขึ้นมีช่องทางติดต่อให้ความช่วยเหลือดังนี้
1. โทรหาเจ้าหน้าที่ตำรวจ เบอร์ 911 


(http://kitesurfmaui.org/wordpress/wp-content/uploads/emergency-call-911-sign-1024x402.jpg)
     
          หากมีเหตุด่วน เหตุร้าย ตกอยู่ในอันตราย หรือบาดเจ็บ ถึงแม้ว่าตอนอยู่เมืองไทยจะถือว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ตาม แต่ที่นี่โทรได้หมดเลย ปลอดภัยไว้ก่อน ดีกว่าเอาชีวิตตัวเองไปเสี่ยง เช่น
  • รู้สึกว่ามีคนเดินตามระหว่างทางกลับบ้าน(ให้เดินเลี่ยงไปทางอื่นที่ไม่ใช่ทางกลับบ้าน หรือลงจากรถ รอขึ้นรถไฟขบวนถัดไปเลย หรือเดินไปในที่คนพลุกพล่าน แล้วรีบโทรหาตำรวจทันที
  • กรณีอยู่บ้านกับเด็กตามลำพัง ไม่มีรถขับ แล้วเกิดเหตุฉุกเฉินใดๆ ได้รับบาดเจ็บ เกิดอุบัติเหตุต่างๆ ให้รีบปฐมพยาบาลเบื้องต้น แล้วโทรหาตำรวจทันที โดยบอกชื่อ ที่อยู่ และขอความช่วยเหลือก่อน แล้วค่อยโทรแจ้งโฮสต์แฟมิลี่ (โทรหาตำรวจก่อนค่อยโทรหาโฮสต์)
  • โดนขโมยทรัพย์สิน เอกสารสำคัญสูญหาย ให้โทรหาธนาคารเพื่อระงับบัตรเครดิต/เดบิต แจ้งความที่สถานีตำรวจในพื้นที่ที่เกิดเหตุ แล้วจึงเคลมประกัน/ติดต่อเอเจนซี่ หรือสถานกงสุลไทย
  • หมายเหตุ
    - กรณีพาสปอร์ตสูญหาย ตอนทำเรื่องกับสถานกงสุลไทยเพื่อออกพาสปอร์ตเล่มใหม่ให้ จะไม่มีวีซ่า J-1 อยู่ในนั้น และไม่สามารถทำเรื่องขอวีซ่าใหม่ในอเมริกาได้ (ต้องกลับไทยไปขอเท่านั้น) ดังนั้น ระหว่างนี้ จะไม่สามารถเดินทางออกนอกประเทศอเมริกาได้ หรือต้องกลับไปขอวีซ่าใหม่ที่ไทยเท่านั้น (ซึ่งไม่รับรองว่าจะได้ไหม เพราะสถานการณ์การโดนปฏิเสธวีซ่าตอนนี้สูงมาก)
    - กรณีใบ DS-2019 สูญหาย สามารถขอใบใหม่ได้จากเอเจนซี่
2. Host Family 
          ออแพร์มาอาศัยอยู่กับโฮสต์แฟมิลี่แล้วก็เหมือนเป็นคนในครอบครัว โฮสต์ก็เหมือนผู้ปกครองของเรา เพราะเขาต้องรับผิดชอบชีวิต ความเป็นอยู่ ความปลอดภัย และทุกอย่างที่ปรากฏในสัญญา อีกทั้งโฮสต์ยังเป็นเจ้าของบ้าน เป็นคนในพื้นที่ รู้และเข้าใจสิ่งต่างๆ เกี่ยวกับอเมริกาเป็นอย่างดี หากเรามีปัญหาก็ควรบอกให้โฮสต์รับรู้ไว้ และอย่ากลัวที่จะขอความช่วยเหลือจากเขา
* เราควรเล่าให้โฮสต์ฟังตามความเป็นจริง อย่าโกหก แต่ไม่จำเป็นต้องเล่าทุกอย่าง ป้องกันตัวเองไว้บ้าง อยู่ๆไปเกิดมีปัญหารีแมชกันขึ้นมา บางทีโฮสต์ก็เอาเรื่องที่เราเล่ากลับมาเล่นงานเราก็มี
* อย่าลืมจดเบอร์โทรศัพท์ของโฮสต์ติดตัวไว้ หากโทรศัพท์มือถือแบตหมดต้องการติดต่อโฮสต์กระทันหันจะได้สามารถติดต่อได้

3. LCC/ที่ปรึกษาออแพร์ในท้องถิ่น/เอเจนซี่ 
         - ส่วนใหญ่ปัญหาที่จะปรึกษา LCC เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับกฏต่างๆ ของออแพร์ เป็นเรื่องที่ดีที่เราจะบอกปัญหาให้ LCC ฟังตั้งแต่เรื่องเพิ่งเกิดใหม่ๆ คอยรายงานให้เขารับทราบเป็นระยะๆ ยิ่งมีหลักฐานประกอบยิ่งดี เผื่อกรณีรีแมช หรือโฮสต์พูดอย่างทำอย่าง
         * LCC บางคนก็เป็นเพื่อนกับโฮสต์ ต้องดูด้วยว่าเขาเป็นกลางแค่ไหน ไม่อย่างนั้นต้องรายงานหัวหน้าระดับสูงกว่า เช่น Program director พร้อมหลักฐานประกอบ
          * เอเจนซี่จะมีเบอร์โทรศัพท์สำหรับเหตุฉุกเฉิน โทรได้ 24 ชั่วโมง ควรบันทึกหรือจดเบอร์ติดตัวไว้

4. Bureau of Educational and Cultural Affairs (ECA)

          โครงการออแพร์ในอเมริกาดูแลโดยสำนักงานการศึกษาและวัฒนธรรม (Bureau of Educational and Cultural Affairs; ECA) กรณีมีข้อสงสัยเกี่ยวกับกฏระเบียบข้อบังคับของโครงการ นอกจากสามารถอ่านในสัญญาการจ้างงานของตนเองแล้ว สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บไซต์ของ ECA  และหากออแพร์คนไหนต้องการความช่วยเหลือ สามารถโทร.ไปที่สายด่วนความช่วยเหลือสำหรับผู้ถือวีซ่า J-1  ที่เบอร์ 1-866-283-9090 (Hotline) กรณีเหตุไม่ด่วนมากสามารถติดต่อได้ที่อิเมล์ jvisas@state.gov.

5. แผนกค่าแรงและชั่วโมงการทำงาน (Wage and Hour Division: WHD) กระทรวงแรงงาน สหรัฐอเมริกา  (United State Department of Labor )
https://www.dol.gov/whd/flsa/WHD1498HowToFileAComplaint_Thai.pdf

          ออแพร์ทุกคนจะได้รับการคุ้มครองเรื่องชั่วโมงการทำงานและค่าแรงตาม Wages and the Fair Labor Standards Act (FLSA) หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อตามหมายเลข 1-866-487-9243 และเว็บไซต์ www.wagehour.dol.gov มีสำนักงานมากกว่า 200 แห่งทั่วประเทศ สามารถเข้าไปติดต่อสำนักงานที่ใกล้บ้านโดยตรงกรณีต้องการขอความช่วยเหลือ และส่งคำร้องเรียนไปที่สำนักงานได้ตามที่ https://www.dol.gov/whd/howtofilecomplaint.htm (ดาวน์โหลดคู่มือการส่งคำร้องภาษาไทย)บริการทั้งหมดไม่มีค่าใช้จ่ายและเป็นความลับ

         นอกจานี้แต่ละรัฐยังมีกฏหมายแรงงานของรัฐ และหน่วยงานดูแลสิทธิสำหรับ Domestic Worker ของแต่ละรัฐ ออแพร์ควรรู้สิทธิและกฏหมายที่เรียกว่า Domestic Worker Bill of Right ของรัฐที่ตัวเองอยู่ เช่น ค่าแรงขั้นต่ำของรัฐ และอัตราค่าแรงล่วงเวลา (extra/OT)


6. ศูนย์ร้องเรียนการถูกละเมิดสิทธิหรือได้รับการปฏิบัติมิชอบในฐานะผู้ใช้แรงงานและนักเรียน 


          รายละเอียดสิทธิและเบอร์โทรศัพท์ติดต่อนี้ปรากฏอยู่ในจุลสาร หรือสมุดสีขาวเล่มเล็กๆ ที่ได้รับตอนไปสัมภาษณ์วีซ่าอเมริกา ได้อธิบายกฏหมายแรงงาน(Wilberforce Pamphlet on the Rights and Protections for Temporary Workers) อย่างย่อสำหรับออแพร์ไว้ เช่น สิทธิในการได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรม, สิทธิที่จะไม่ถูกเลือกปฏิบัติ, สิทธิที่จะไม่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ, สิทธิที่มีสถานที่ทำงานที่ดีต่อสุขภาพและปลอดภัย, สิทธิที่จะขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ, สิทธิที่ออกจากสถานที่จ้างงานที่ละเมิดสิทธิของเรา ออแพร์ควรศึกษาให้ดี 


หากถูกละเมิดสิทธิสามารถร้องเรียนได้ที่เบอร์โทรศัพท์ดังต่อไปนี้
(1) National Human Traficking Resource Center (องค์กรอิสระ)โทร. 1-888-373-7888 (สายด่วนโทรฟรี 24 ชั่วโมง)
(2) Trafficking in Persons and Work Exploitation Task Force Complaint Lineสายด่วนรับเรื่องร้องทุกข์เกี่ยวกับการค้ามนุษย์และการแสวงหาผลประโยชน์จากแรงงาน
จันทร์-ศุกร์ 9-17 น. (Eastern Time) โดยกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ โทร. 1-888-428-7581 https://www.facebook.com/konthaiinus/
7. สถานทูต/กงสุลไทยในอเมริกา

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ thai consulate

กรณีพาสปอร์ต บัตรประชาชนหาย หมดอายุ หรือต้องการติดต่อขอความช่วยเหลือต่างๆ ในอเมริกามีสถานทูต/กงสุลไทยทั้งสิ้น 4 แห่ง ได้แก่
(1) สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน 
- Chancery (Wisconsin Ave.)1024 Wisconsin Ave. N.W., Washington, DC 20007
Tel: 202-944-3600
M – F 9:00 am – 12:30 pm & 2:00 pm – 5:00 pm (Except Holidays)
- Consular Office (Kalorama Rd.)2300 Kalorama Rd. N.W., Washington, DC 20008
Tel: 202-684-8493
Monday-Friday : Walk in Service : 9:00 am – 12:00 pm EST.
Phone Service : 1.30 pm. – 5.00 pm. EST. (Except Holidays)
(2) สถานกงสุลใหญ่ ณ. นครลอสแองเจลิส611 N.Larchmont Blvd., 2nd Floor, Los Angeles, CA 90004
วันจันทร์ - วันศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) 9.00 น. - 16.00 น.
(3) สถานกงสุลใหญ่ ณ. นครชิคาโก700 North Rush Street, Chicago, IL 60611-2504
โทรศัพท์: (312) 664-3129
อีเมล์: info@thaiconsulatechicago.org
เวลาเปิดทำการ :  (วันจันทร์ - วันศุกร์) 09.00 - 12.00 น. และ 13.00 - 17.00 น.
(4) สถานกงสุลใหญ่ ณ. นครนิวยอร์ก351 E 52nd St. New York, NY 10022
Tel. (212) 754-1770 (consular section)
Email: info@thaicgny.com
นอกจากนี้ทางสถานทูต/สถานกงสุลไทยในอเมริกายังมีบริการ "กงสุลสัญจร" ไปยังรัฐต่างๆ ทั่วอเมริกาทุกปี เพื่อให้บริการต่ออายุบัตรประชาชนและพาสปอร์ต
"ตารางให้บริการกงสุชสัญจร ปี 2562/2019"1. สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี 2. สถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแองเจลิส 3. สถานกงสุลใหญ่ ณ นครชิคาโก 4. สถานกงสุลใหญ่ ณ นครนิวยอร์ก 

* การทำพาสปอร์ตเล่มใหม่ สามารถทำเมื่อไรก็ได้ ให้นับไปว่าขากลับเข้าประเทศต้องมีอายุพาสปอร์ตเหลืออย่างน้อย 6 เดือน
** อย่าลืมว่า วีซ่า J-1 ติดอยู่ในเล่มเก่า ถ้าต้องออกนอกประเทศก็อย่าลืมพกเล่มเก่าไปด้วย + ใบ DS ยกเว้นจะต่อวีซ่าใหม่ด้วย

8. Facebook group และเว็บบอร์ด ที่ให้ข้อมูลข่าวสาร และตอบคำถามข้อสงสัยเกี่ยวกับอเมริกา
Image may contain: night, fireworks and outdoor
- Thai Au Pairs in USA กลุ่มตอบคำถาม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความเห็น ให้ความช่วยเหลือสำหรับออแพร์ไทยในอเมริกา
- คนไทยในอเมริกา และ บ้านคนไทยในอเมริการัฐต่างๆ สื่อกลางกระจายข่าวสาร เรื่องราว ประสบการณ์ และการดำเนินชีวิตที่เป็นประโยชน์ของคนไทยในอเมริกา ทั้งข่าวสารในไทย และอเมริกา
ชมรมคนไทยในรัฐต่างๆ คล้ายๆ กลุ่มคนไทยในอเมริกา แต่จะมีความเฉพาะเจาะจง ให้ข้อมูลของรัฐนั้นๆ ได้ละเอียดกว่า
- http://thaicensus.com/ ให้ความรู้ ข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคนไทยในอเมริกา ทั้งข่าวสารในไทย และอเมริกา
https://gogoamerica.com/ ให้ความรู้ เล่าประสบการณ์ชีวิตในอเมริกา

วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2562

State tax

ภาษีรายได้ในสหรัฐอเมริกาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. Federal Income Tax คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ที่ทำงานอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาทุกคนเข้าส่วนกลาง
          👉ดูวิธีการเสีย Federal Tax สำหรับออแพร์

2. State Income Tax คือ ภาษีที่แต่ละรัฐเรียกเก็บ โดยแต่ละรัฐมีรายละเอียดไม่เหมือนกัน บางรัฐก็ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่าย

สำหรับออแพร์ เราอ่านเจอมาว่า
"...While federal income tax is required, you may also be required to pay state income tax depending upon what state you lived in when you received your weekly stipend." 
และมีออแพร์หลายคนที่จบโครงการไปแล้วแต่งงานมาเป็นซิติเซ่นที่นี่โดนจดหมายเรียกเก็บ State Tax ย้อนหลัง + ค่าปรับอีกหลายร้อยเหรียญ


State Tax 2018
(https://www.thebalance.com/thmb/ktQ-GsUUV94Z5B_4hGDEX47js9U=/950x0/filters:format(webp)/state-income-tax-rates-3193320-v3-5b3158383418c60036d7bda3.png)

ส่วนใหญ่ภาษีที่จะต้องจ่ายจะเพิ่มขึ้นเป็นขั้นบันไดตามรายได้รวมที่ได้รับของปี แต่มีบางรัฐที่มีวิธีคิดภาษีแบบอัตราตายตัว (Flat tax rates หรือ fair tax) ได้แก่ Colorado (4.63%), Illinois (4.95%),  Indiana ( 3.23%), Massachusetts (5.1%), Michigan (4.25%), North Carolina (5.499%), Pennsylvania (3.07%) และ Utah (5%)

นอกจากคุณอาศัยอยู่ใน 7 รัฐเหล่านี้ ได้แก่ Alaska, Florida, Nevada, South Dakota, Texas, Washington และ  Wyoming จะได้รับการยกเว้นไม่เสีย State Income Tax แต่รัฐจะเก็บจากอย่างอื่นแทน เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่มตอนซื้อสินค้า (sales tax) หรือที่บ้านเราเรียกว่า VAT, ภาษีน้ำมัน, บุหรี่, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, ภาษีที่ดิน, คาสิโน เป็นต้น หรือเรียกเก็บจากระดับบริษัทหรือองค์กรแทน

(https://www.thebalance.com/thmb/sJ03jyc586rd1XJe0CfuolmA3OE=/950x0/filters:format(webp)/states-without-an-income-tax-3193345_FINAL-5c0fe47cc9e77c0001ec54a0.png)

*รัฐ Tennessee กำลังลดภาษีลงเรื่อยๆ  และจะกลายเป็นรัฐที่ยกเว้นการเสียState Income Taxเป็นรัฐที่ 8 ในปี 2021

อีก 41 รัฐนอกเหนือจากนี้ รวมถึง the District of Columbia ต้องจ่าย State Tax ถ้าเข้าเกณฑ์ที่รัฐกำหนด

ออแพร์ต้องเสีย State Tax หรือไม่?

"ส่วนใหญ่ที่ไม่เคยได้ยินว่าออแพร์ต้องจ่าย State tax อาจเป็นเพราะว่าออแพร์รายได้น้อย หรือรีแมชย้ายรัฐบ่อย อยู่ไม่เต็มปี ทำให้รายได้ไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่รัฐกำหนดว่าต้องจ่าย"

การจ่าย State tax จะมีแบบฟอร์มและวิธีคำนวณที่แตกต่างกันออกไปตามระยะเวลาที่อาศัยอยู่ที่รัฐนั้น ได้แก่
  • Full-year residents สำหรับคนที่อาศัยอยู่ที่รัฐนั้นเต็มปี
  • Part-year residents สำหรับคนที่อาศัยอยู่ที่รัฐนั้นไม่เต็มปี
  • Nonresident สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่รัฐนั้นไม่ถึงจำนวนวันขั้นต่ำที่รัฐนั้นกำหนด
👉 ตารางสรุปรายได้ขั้นต่ำที่ต้องเสียภาษี และเปอร์เซ็นต์ภาษีที่ต้องจ่ายแบบคร่าวๆ ปี 2018

👉 รายละเอียดในการจ่ายภาษี State Income Tax แต่ละรัฐ

👉 แบบฟอร์มที่ใช้และคู่มือสำหรับยื่นเสียภาษี State Tax ของแต่ละรัฐ ปี 2018 

อยู่หลายรัฐ ต้องยื่นภาษีอย่างไร ?  
สำหรับออแพร์นอกจากจะต้องจ่าย Federal income tax ทุกคนแล้ว คนที่รีแมช เปลี่ยนบ้าน ย้ายรัฐ ต้องดูว่าระยะเวลาที่อยู่ในแต่ละรัฐและรายได้ที่ได้รับถึงเกณฑ์ของแต่ละรัฐไหม และเสียภาษีของแต่ละรัฐ (State income tax)ให้ถูกต้อง
ตัวอย่างที่ 1 ออแพร์หนึ่งอาศัยอยู่ที่ North Carolina แต่มีช่วงที่ไปเวเคชั่นที่ California 1 เดือน ออแพร์หนึ่งควรยื่นเสียภาษีของรัฐ North Carolina
ตัวอย่างที่ 2 ออแพร์สองอาศัยอยู่ที่ Massachusetts ตั้งแต่มกราคม - กรกฎาคมของปีนั้น แล้วย้ายไปอยู่Florida ออแพร์สองควรยื่นภาษีแบบ Resident ของMassachusetts (แต่เนื่องจากรายได้ตั้งแต่ม.ค. - ก.ค. ไม่ถึงขั้นต่ำที่ต้องเสียภาษีของรัฐ จึงไม่ต้องจ่าย) ส่วนFloridaไม่มี State tax อยู่แล้ว ออแพร์สองจึงไม่ต้องจ่าย State tax ของปีนี้เลย

ยื่นภาษีเมื่อไร ?
ส่วนใหญ่เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ยื่น Federal income tax คือ เดือนมกราคม - กลางเมษายนของทุกปี
👉 Deadline ยื่นเสียภาษี State income tax ของแต่ละรัฐ

หากไม่จ่ายภาษีจะเกิดอะไรขึ้น ?
อย่างที่บอกไปข้างต้นคือ จะมีผลต่อการกลับมาอเมริกา การ apply for a U.S. visa ในอนาคต รวมถึงการเปลี่ยนสถานะ แล้วก็จะต้องจ่ายค่าปรับอีกด้วย

หากมีข้อสงสัย ต้องการความช่วยเหลือ
  • ถาม LCC, โฮสต์
  • ติดต่อ/เข้าดูข้อมูลในเว็บไซต์ของ Department of Revenue หรือ Office of Tax and Revenue ของรัฐที่อาศัยอยู่
  • คุยกับ tax advisor or service เช่น HRBlock, CompleteTax, RTTAX, Taxback, taxact (พวกบริษัทรับทำภาษี ซึ่งมีค่าธรรมเนียมตั้งแต่ $50-150 และต้องเลือกดีๆ นะ ระวังscam หลอกเอาข้อมูล)
  • โปรแกรมคำนวณ Tax ฟรี
  • ที่ห้องสมุดจะมีจัด FREE tax counseling/ tax assistance โดยมีอาสาสมัครผู้ที่ทำงานหรือเรียนด้านกฏหมายมาให้คำปรึกษาเรื่องการเสียภาษีให้ฟรี ประมาณช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ -กลางเมษายนของทุกปี ควรเตรียมเอกสารที่สำคัญไปให้พร้อม เช่น แบบฟอร์มการเสียภาษี, photo ID (driver's license, passport), Social security cards เป็นต้น



แหล่งอ้างอิง
https://www.thebalance.com/states-without-an-income-tax-3193345
https://www.thebalance.com/which-states-have-a-flat-income-tax-rate-3193306
https://prachatai.com/journal/2014/08/54895
https://www.dek-d.com/studyabroad/33510/

    วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2562

    2018 Paying Tax for Au Pair (Step by step)



    ภาษีของที่อเมริกามี 2 ประเภทคือ Federal Income Tax และ State Income Tax 
    1. Federal Tax คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ที่ทำงานอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาทุกคน
    2. State Tax คือ ภาษีที่แต่ละรัฐเรียกเก็บ โดยแต่ละรัฐมีรายละเอียดไม่เหมือนกัน บางรัฐก็ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่าย
              👉 ดูเรื่อง State Income Tax

    การจ่าย Federal Tax
    วิธีนี้สำหรับออแพร์ที่เป็น Nonresident Aliens เท่านั้น ถ้าใครเคยมาอยู่อเมริกาในฐานะนักเรียน ครูอาจารย์ นักวิจัย หรือtrainee ด้วยวีซ่า F, J, M, หรือ Q nonimmigrant status มาก่อน จะถือว่าตอนนี้ออแพร์คนนั้นเป็น Resident alien จะมีรายละเอียดการคิดภาษีที่แตกต่างออกไป (โปรดศึกษาในเว็บ IRS)

    👉ยื่นภาษีเมื่อไร ประมาณเดือนมกราคม - เมษายนของทุกปี ออแพร์ทุกคนต้องยื่นภาษีนะ ปีนี้ Deadline คือ April 15th, 2019
    👉แบบฟอร์มที่ต้องใช้ แบบฟอร์ม 1040NR-EZ
    ดาวน์โหลด แบบฟอร์ม 1040NR-EZ ปี2018 https://www.irs.gov/pub/irs-pdf/f1040nre.pdf
    👉ขั้นตอนการจ่ายภาษี 
    👉 วิธีกรอกแบบฟอร์ม (มี 2 หน้า) จะปริ้นท์ออกมาเขียน หรือจะพิมพ์ใส่ pdf แล้วค่อยปริ้นท์ออกมา เซ็นต์ชื่อก่อนส่งก็ได้ (คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่)

    คำอธิบายแต่ละข้อ
    ข้อ 4, 5, 6, 8, 9 คือ ภาษีที่ขอคืนได้ เครดิตภาษี ทุนการศึกษา รายได้ที่ได้รับการยกเว้น และสิ่งลดหย่อนภาษี เช่น การบริจาคเงินเพื่อการกุศล เป็นต้น (ซึ่งไม่เกี่ยวกับออแพร์ จึงเติม 0)
    ข้อ 11 คือภาษีที่ขอคืนได้สำหรับคนที่จ่าย state tax เท่านั้น ถ้าไม่มีก็ใส่ 0 (ดูรายละเอียดเรื่อง state tax ของแต่ละรัฐเพิ่มเติม)
    ข้อ 16 ออแพร์ไม่มี social security tax และ medicare tax (จึงเติม 0)
    ข้อ 18-21 คือ หักภาษี ณ ที่จ่าย (ซึ่งออแพร์ไม่มี รับเงินเต็มจำนวน จึงเติม 0 ต่างจากพวก work&travel นะ)
    ข้อ 22-24 สืบเนื่องมาจากการหักภาษี ณ ที่จ่าย คือถ้าหักเกินภาษีที่ต้องจ่ายจริง ก็สามารถขอคืนเงินได้ (ไม่เกี่ยวกับออแพร์ จึงเติม 0)
    ข้อ 26 เกี่ยวกับค่าปรับหรือการค้างชำระ (ซึ่งเราไม่มี เพราะเราจ่ายตรงเวลา จึงเติม 0)


    ข้อ G สามารถเข้าไปเช็คในเว็บ I-94 ได้ จะมีบันทึกการเข้าออกอเมริกาไว้ทั้งหมด
    ข้อ H ใช้โปรแกรมคำนวณ เช่น https://www.timeanddate.com/date/duration.html ก็ได้นะว่าอยู่อเมริกามาแล้วกี่วัน จะได้ไม่ต้องนับ แต่อย่าลืมหักลบวันที่เดินทางออกนอกประเทศด้วยนะ เช่น ไปต่างประเทศกับโฮสต์ หรือเทคเวเคชั่นกลับไทย ถ้าไม่มีให้ใส่ 0

    * ในเว็บ IRS บอกว่า ออแพร์ไม่จำเป็นต้องแนบแบบฟอร์ม W-2
    * ทำเสร็จ Copy แบบฟอร์มเก็บไว้ด้วยนะ จะถ่ายรูปหรือเซฟเป็นไฟล์เก็บไว้ ตามแต่สะดวก
    💗ข้อ 25 คือจำนวนเงินที่ต้องจ่ายจริง

    👉คำนวณอย่างไร 
    การคำนวณภาษี
    1. นับจำนวน "สัปดาห์" ที่เราทำงานแล้วได้เงินในปีปฏิทินที่แล้ว (นับถึงธันวาคมปี 2018) คูณด้วย จำนวนเงินนั้นที่ได้รับแต่ละสัปดาห์ บางคนอาจคูณด้วย $195.75 (ตามกฏ), $200 (โฮสต์ปัดเศษขึ้นให้) หรือ $250 (Extraordinary Au Pair) ใครอยู่เต็มปีก็คูณด้วย 52 สัปดาห์
    * ไม่รวมโอที เอ้กตร้า เงินจากการทำงานล่วงเวลา เพราะกฏออแพร์ห้ามทำเกิน 45 ชม./สัปดาห์ ที่เกินๆ  ก็ไม่ต้องมาคิด
    * ไม่รวม เงินโบนัส เงินรางวัล เงินของขวัญต่าง ๆ
    * ไม่นับสัปดาห์ที่อยู่ Training school เพราะสัปดาห์นั้นไม่ได้เงิน ถ้าใครได้เงินก็นับ* คนที่มีช่วงเวลารีแมชแล้วระหว่างนั้นไม่ได้เงิน ก็ไม่ต้องนับสัปดาห์นั้น
    * แต่รวมเวเคชั่นนะ เพราะเวเคชั่นได้เงิน
    * สามารถปัดเป็นตัวเลขกลมๆ ได้ โดยถ้าเศษน้อยกว่า0.5ปัดลง ถ้า0.5ขึ้นไปปัดเป็น 1
    2. เมื่อคำนวณได้แล้ว ให้นำผลลัพธ์ไปเทียบกับตาราง ดาวน์โหลดตารางที่ https://www.irs.gov/pub/irs-pdf/i1040nre.pdf หน้า 22 >>>> จะได้จำนวนเงินที่ต้องจ่าย
    * เนื่องจากปีนี้กฏหมายใหม่ออกมาว่า ยกเลิกค่าลดหย่อนภาษีของออแพร์ (Personal deduction) มีผลให้ออแพร์ทุกคนต้องจ่ายภาษีไม่ว่าจะมาอยู่ที่นี่นานแค่ไหน โดยจ่ายขั้นต่ำ 10% ของรายได้ในปี 2018 มากน้อยไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับว่ามาถึงอเมริกาเดือนไหน 
    ตัวอย่าง สมมุติมาถึง Training school วันที่ 13 ส.ค. 2018 แต่สัปดาห์นี้ไม่ได้เงิน เริ่มทำงานได้เงินอาทิตย์ถัดไป ก็นับไปเรื่อยๆ จนถึง ธันวาคม 2018 ได้ 19 สัปดาห์


    19 x 195.75 = 3719.25
    เอา 3719.25 ไปหาในตาราง = ต้องจ่าย $373

    * มีคนถามหลายคนว่า สมมุติคำนวณได้ $3300 จะต้องจ่ายบรรทัดไหน
    ตอบ บรรทัดล่าง ($333) นะ
    เพราะบรรทัดบนสำหรับ รายได้อย่างน้อย $3250 แต่ไม่ถึง $3300
    บรรทัดล่างสำหรับรายได้อย่างน้อย $3300 แต่ไม่ถึง $3350 


    👉จ่ายอย่างไร จริงๆ สามารถจ่ายหลายวิธี แต่จะแนะนำวิธีที่คนส่วนใหญ่ทำกัน ได้แก่
    1. จ่ายออนไลน์ ทางเว็บไซต์ หรือดาวน์โหลดแอพ IRS2Go จริงๆ IRS แนะนำให้จ่ายออนไลน์ เพราะสะดวกรวดเร็ว แต่มีเพื่อนออแพร์บางคนบอกว่าจ่ายออนไลน์แล้วมีปัญหาตัดเงินช้าทำให้เลยกำหนดวันยื่นภาษี สุดท้ายต้องเสียค่าปรับ เลยคิดว่าวิธีนี้เหมาะกับออแพร์ที่จบโครงการกลับประเทศไปแล้วแต่ต้องการจ่ายย้อนหลัง

    (ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=diXukJdE0To&t=79s)

    2. จ่ายทางไปรษณีย์ โดยใช้ Check หรือ Money Order (ห้ามส่งเงินสด)
    วิธีกรอก Check หรือ Money Order ควรใส่ข้อมูลดังต่อไปนี้ให้ครบ
    • Check : วิธีกรอกก็คล้ายๆ Money Order เราไม่เคยเขียนเพราะเราไม่มีCheck แต่คิดว่าประมาณนี้
    * การจ่ายด้วย Check ควรบันทึก Statement ของเดือนที่เงินที่เราจ่ายภาษีถูกหักออกไปเก็บไว้ด้วยนะ
    • Money Order หรือธนาณัติ : ซื้อได้ที่ Walmart < Publix < USPS (ที่ทำการไปรษณีย์) < ธนาคาร โดยจะมีค่าธรรมเนียม $1-2 เรียงตามลำดับราคาถูกที่สุดให้แล้ว ธนาคารก็แพงหน่อย $5-10
    วิธีซื้อ Money Order 
    ไปที่ Walmart/Publix/ ตรง Customer service หรือเคาท์เตอร์ของไปรษณีย์/ธนาคาร แล้วบอกพนักงานว่าขอซื้อ Money Order เขาจะถามว่าซื้อเท่าไร (ตามจำนวนที่เราต้องจ่ายภาษี) เสร็จแล้วเค้าอาจจะอธิบายให้ฟังว่าต้องกรอกอย่างไร
    * Money Order ใบนึงสูงสุดแค่ $500 หรือ $1000 ถ้าจ่ายภาษีเยอะก็ต้องซื้อหลายใบหน่อย รวมกันให้ได้เท่าจำนวนเงินที่ต้องจ่ายภาษี

    การกรอก Money Order 
    กรอกตามตัวอย่างนี้ เสร็จฉีก Receipt เก็บไว้เป็นหลักฐาน พร้อมใบเสร็จจ่ายเงิน เอาเฉพาะส่วน Money order ใส่ซองพร้อมฟอร์มภาษีที่กรอกเสร็จแล้ว



    👉การส่งเอกสารและmoney order/check
    อย่าลืมเซ็นต์ชื่อ และลงวันที่ในแบบฟอร์มก่อนส่ง (The form is not valid without your signature)
    1. สำหรับคนที่จ่ายออนไลน์  ส่งเฉพาะแบบฟอร์ม 1040NR-EZ ไปที่ Department of the Treasury Internal Revenue Service Austin, TX 73301-0215 U.S.A.

    2. คนที่จ่ายด้วย Check / Money Order ส่งแบบฟอร์ม 1040NR-EZ และ Check หรือ Money Order ไปที่ Internal Revenue Service P.O. Box 1303 Charlotte, NC 28201-1303 U.S.A.

    การส่งจะใส่ซองธรรมดา ติดสแตมป์ forever 1 ดวง หรือจะส่งแบบPriority ก็จะราคาแพงกว่าหน่อย แต่มี Tracking Number ให้ติดตามได้ และมีประกันของหายให้ $50

    👉ขอใบรับรองจ่ายภาษี (Get Transcript)
    ส่งเอกสารเสร็จเรียบร้อย เขาจะไม่มีใบเสร็จหรืออะไรรับรองส่งมาให้ ถ้าเราไม่ขอ
    วิธีขอ หลังส่งเอกสารไปประมาณ 1-2 เดือนแล้ว ให้เข้าไปที่ https://www.irs.gov/individuals/get-transcript สามารถเลือกได้ว่าจะขอให้เขาส่งมาทางอิเมล์ หรือทางไปรษณีย์ หรือโทรไปที่เบอร์ 800-908-9946 ทำตามขั้นตอนเสียงแล้วก็จะได้ทรานสคริปต์ส่งมาที่บ้าน
    👉 วิดีโอสาธิตวิธีขอใบรับรองการจ่ายภาษี



    👉ถ้าไม่จ่าย เกิดอะไรขึ้น
    จะมีผลต่อการกลับมาอเมริกา การ apply for a U.S. visa ในอนาคต รวมถึงการเปลี่ยนสถานะ แล้วก็จะต้องจ่ายค่าปรับอีกด้วย (ค่าปรับคิดเป็น% คูณจำนวนเดือนที่ค้างชำระ)

    👉ถ้าอยากผ่อนจ่าย ทำอย่างไร
    เข้าเว็บ https://www.irs.gov/payments/online-payment-agreement-application เพื่อทำ Payment plan
    ซึ่งให้เลือกแบบระยะสั้น (ไม่เกิน 120 วัน) หรือระยะยาว (เกิน 120 วัน) โดยจ่ายผ่านบัตรเครดิต/เดบิต หรือตัดบัญชีธนาคาร ซึ่งอาจมีค่าธรรมเนียม


    👉มีข้อสงสัย ต้องการความช่วยเหลือ
    • ถาม LCC, โฮสต์
    • คุยกับ tax advisor or service เช่น HRBlock, CompleteTax, RTTAX, Taxback, taxact (พวกบริษัทรับทำภาษี ซึ่งมีค่าธรรมเนียมตั้งแต่ $50-150 แล้วต้องเลือกดีๆ นะ ระวังscam หลอกเอาข้อมูล)
    • โปรแกรมคำนวณ Tax ฟรี
    • ที่ห้องสมุดจะมีจัด FREE tax counseling/ tax assistance โดยมีอาสาสมัครผู้ที่ทำงานหรือเรียนด้านกฏหมายมาให้คำปรึกษาเรื่องการเสียภาษีให้ฟรี ประมาณช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ - กลางเมษายนของทุกปี ควรเตรียมเอกสารที่สำคัญไปให้พร้อม เช่น แบบฟอร์มการเสียภาษี, photo ID (driver's license, passport), Social security cards เป็นต้น
    (ตัวอย่างจากห้องสมุดเคมบริดจ์)

    วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2562

    คำศัพท์ Thanksgiving

    Happy Thanksgiving 🍁🦃❤️
    สุขสันต์วันขอบคุณพระเจ้า

    อีกหนึ่งเทศกาลที่สำคัญของคนอเมริกัน ตรงกับวันพฤหัสที่สี่ของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี
    ในวันนี้สมาชิกในครอบครัวจะมานั่งรับประทานอาหารด้วยกัน ที่ขาดไม่ได้เลยคือ 🦃ไก่งวงกับซอสแครนเบอร์รี่ 🥔มันฝรั่งบดราดน้ำเกรวี่ 🍞ขนมปังข้าวโพด และ🥧พายฟักทอง
    คำศัพท์และวลีที่น่าสนใจเกี่ยวกับThanksgiving
    1. (To be) thankful (for something) เป็นวลีที่จะได้ยินบ่อยมากในวันขอบคุณพระเจ้า แปลว่า รู้สึกขอบคุณหรือมีความสุขต่อสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้น
    เช่น I’m thankful that I’m healthy and that all of us could be together for this Thanksgiving feast.
    2. (To be) a turkey แปลว่า แปลกประหลาด หรือน่าขบขัน
    เช่น As a joke, while John was riding the bus he was making airplane sounds and pretending that he was a pilot. He’s a real turkey sometimes.
    3. Hot potato แปลว่าเผือกร้อน หมายถึง ปัญหาหรือเรื่องยุ่งยากที่ไม่มีใครอยากรับไว้แก้ไข
    เช่น We still need to plan our presentation, but no one has the time or desire to work on it. The presentation is becoming a hot potato, so someone needs to take charge.
    4. Corny แปลว่า เปิ่น ล้าหลัง
    เช่น ow that Tom is a father, he seems to constantly make “dad jokes”—corny jokes that no one laughs at.
    5. Cold turkey การหักดิบ อย่างฉับพลันทันที
    เช่น Frank gave up smoking cold turkey.
    6. Food coma แปลว่า อาการง่วงซึมหลังรับประทานอาหารปริมาณมาก
    เช่น We just fell into a food coma after gobbling up all the meals.



    คำศัพท์ Shopping - Black Friday

    "Black Friday" วันแห่งการช้อปปิ้งแห่งปีของคนอเมริกัน

    หลังจากวัน Thanksgiving ถัดมาก็เป็นวันช้อปกระหน่ำ Black Friday ที่ผู้คนแห่กันออกมาซื้อสินค้าเพราะว่าลดราคาเยอะมาก บางอย่างลดมากกว่า 50% เพิ่งไปได้เสื้อโค้ชกันหนาวมาสดๆ ร้อน จากราคา $300 กว่า ลดเหลือแค่ $160 ว้าวววววว
    คำศัพท์และวลีที่เกี่ยวข้องกับ Black Friday ได้แก่
    1. BOGO มาจาก Buy one, get on แปลว่า ซื้อหนึ่งแถมหนึ่งนั่นเอง แต่ถ้าเจอ 50% off แปลว่า ซื้อของราคาเต็มหนึ่งชิ้น สามารถซื้อชิ้นที่สองได้ในราคา 50%
    2. Cyber Monday คือวันจันทร์หลัง Thanksgiving ในวันนี้ห้างร้านต่างๆ จะลดราคาสินค้าสำหรับผู้ซื้อทางออนไลน์
    3. Cyber sale หมายถึงสินค้าชิ้นนี้จะลดราคาเฉพาะผู้ซื้อทางออนไลน์เท่านั้น ถ้าซื้อที่ร้านจะต้องจ่ายแพงกว่านี้
    4. Doorbuster deal/doorbuster savings/early bird specials หมายถึง ช่วงเวลาเฉพาะที่สินค้าลดราคา โดยเฉพาะช่วงเวลาที่ร้านเพิ่งเปิด เช่น 8.00-9.00 น.
    5. Exclusions แปลว่า การยกเว้น สิ่งที่ยกเว้น ในที่นี้หมายถึง สินค้าที่ไม่รวมอยู่ในโปรโมชั่นลดราคา
    เช่น 40-60% off everything in the store!! Some exclusions apply.
    6. Lay-away หรือ Lay-by คล้ายการซื้อสินค้าแบบผ่อนจ่าย แต่วิธีนี้ผู้ซื้อจะไม่ต้องเสียดอกเบี้ย และจะได้รับสินค้าต่อเมื่อจ่ายครบตามราคาที่ตั้งไว้
    เช่น We bought the table and chairs on layaway, so we won't have them until December
    7. Night owl deals/specials สินค้าที่ลดราคาตอนดึกๆ
    8. Price match คือ การใช้นโยบายราคาต่ำเท่าคู่แข่งทางการตลาด ตัวอย่างเช่น Walmart ขายสินค้าชิ้นหนึ่งราคา $50 แต่คุณได้รับอิเมล์ว่าสินค้าชนิดเดียวกันเป๊ะที่ Target ราคาแค่ $45 คุณสามารถนำหลักฐานอิเมล์นี้ไปที่ Walmart เพื่อซื้อสินค้านั้นได้ในราคา $45 เท่าที่ Target
    They are matching Target’s price.
    9. Rain check แปลว่าเลื่อนออกไป ไว้โอกาสหน้า สามารถใช้กับการนัดหมาย เช่น Can we take a rain check on that cup of coffee? แต่ในที่นี้หมายถึง คุณสามารถจองและกลับมาซื้อสินค้าที่ลดราคาแต่ขายหมดไปแล้วได้ในราคาเดียวกับที่ลดวันนี้ โดยเจ้าของร้านจะถามว่า Would you like to have a rain check? ถ้าคุณตอบ Yes เขาจะให้ Note มาเพื่อยืนยันว่าคุณจะกลับมาซื้อได้ตามวันที่กำหนดในกระดาษโน๊ตนั้น

    10. Red dot/ Red-tag clearance สินค้าลดราคาเฉพาะชิ้นที่มีสัญลักษณ์จุดสีแดงหรือป้ายสีแดงบนฉลาก บางครั้งอาจมีสติ๊กเกอร์สีอื่นๆ ด้วย
    11. get the jump on / get a jump on แปลว่า ทำสิ่งนั้นเป็นคนแรกก่อนที่คนอื่นจะทำ
    เช่น With Black Friday recognized as a day to get the jump on the shopping season, retail marketers have set their sights on other days of the week.
    12. To Bargain แปลว่า ต่อราคา
    เช่น They often bargain away in the shops for hours.
    13. Bargain-hunters หมายถึง คนที่พยายามซื้อของหรือสินค้าจากแหล่งที่มีราคาถูกที่สุด
    เช่น Thousands of bargain hunters queued up for hours.
    People are trying to bargain hunt.
    14. Consumer footfall หมายถึง ผู้คนจำนวนมากที่เข้ามาซื้อของในร้าน
    15. A good deal แปลว่าข้อเสนอที่ดี แต่ถ้า A good/great deal of แปลว่า จำนวนมาก
    เช่น
    You: “Your sister bought a new car? How much did she pay?”
    Jackie: “She got a good deal. She only paid $5,000.”
    16. Overpriced แปลว่า แพงเกินไป
    เช่น I like this winter coat, but it’s overpriced. I saw the same coat somewhere else and it was 50% off.
    17. A rip off แปลว่า สิ่งที่ขายเกินราคา
    เช่น $300 for that shirt? - That's a complete rip-off.
    18. To rip someone off โกงราคา ขูดเลือดขูดเนื้อ
    เช่น The taxi ride should have cost $10, but the driver ripped me off. He charged me $20!
    19. Stingy ตระหนี่ ขี้เหนียว งก
    เช่น I don’t want to be stingy on this vacation. I want to go out to nice restaurants and stay in a comfortable hotel.